DM คือ อะไร การรักษา และการป้องกัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 2 สัปดาห์ก่อน

    DM คือ อะไร การรักษา และการป้องกัน

    DM คือ โรคเบาหวานที่เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง เนื่องจากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย หิวน้ำมาก หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด แผลหายช้า ตาพร่ามั่ว และติดเชื้อง่ายขึ้น ซึ่งโรคเบาหวานอาจลุกลามและรุนแรงจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้น การดูแลตัวเองจึงอาจเป็นวิธีช่วยป้องกันและบรรเทาอาการของโรคเบาหวานได้

    DM คืออะไร

    Diabetes Mellitus หรือ DM คือ โรคเรื้อรังที่รู้จักกันดีในชื่อของ โรคเบาหวาน โดยโรคนี้ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลเลือดสูงกว่าปกติหรือมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาเพื่อส่งน้ำตาลกลูโคสไปยังเซลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้น้ำตาลกลูโคสสะสมอยู่ในกระแสเลือดมากขึ้น

    นอกจากนี้ โรคเบาหวานยังอาจเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินออกมาตามปกติ แต่ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้ตับอ่อนต้องผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เซลล์ในร่างกายได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ จนตับอ่อนเกิดความเสียหายและกลายเป็นโรคเบาหวานในที่สุด

    DM มีกี่ชนิด

    โรคเบาหวานอาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

    • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่อาจสืบทอดทางพันธุกรรม มักพบในเด็กที่มีอายุ 4-7 เดือน และวัยรุ่นอายุ 10-14 ปีมากกว่าในผู้ใหญ่ โรคเบาหวานชนิดนี้มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
    • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป โดยโรคเบาหวานชนิดนี้เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเพียงพอ หรือร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นชนิดของเบาหวานที่พบได้มากที่สุด และส่วนใหญ่มีปัจจัยมาจากการไม่ดูแลตัวเอง รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงบ่อย ๆ
    • ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาจเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุครรภ์ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่น้ำตาลสูง การดูแลตัวเองในระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงอาจเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนฮิวแมนพลาเซ็นตัลแลคโทเจน (Human Placental Pactogen หรือ HPL) ที่ถูกผลิตขึ้นจากรกซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักหายไปเองหลังคลอด แต่อาจมีความเสี่ยงที่คุณแม่และทารกจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตได้เช่นกัน

    การป้องกัน DM

    โรคบาหวานชนิดที่ 1 ไม่สามารถป้องกันได้ แต่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจป้องกันได้ ดังนี้

    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช และอาหารที่มีเส้นใยสูง รวมถึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันดีและแคลอรี่ต่ำ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยออกกำลังกายความเข้มข้นปานกลางประมาณ 30 นาที/วัน เป็นระยะเวลา 5 วัน/สัปดาห์ หรือตั้งเป้าหมายให้ได้อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ เช่น เต้นแอโรบิก เดินเร็ว ว่ายน้ำ วิ่งเหยาะ ๆ เพื่อช่วยเผาผลาญพลังงานและลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมให้สุขภาพแข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย
    • ลดน้ำหนักส่วนเกิน ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยควรควบคุมค่าดัชนีมวลกายไม่ให้เกิน 18.5 หรือควบคุมไขมันหน้าท้องไม่ให้สะสมมากเกินไป ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 2 สัปดาห์ก่อน

    โฆษณา
    โฆษณา
    โฆษณา
    โฆษณา