backup og meta

โรคชีแฮน ภาวะตกเลือดมากขณะคลอดหรือหลังคลอด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 27/02/2023

    โรคชีแฮน ภาวะตกเลือดมากขณะคลอดหรือหลังคลอด

    โรคชีแฮน เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เสียเลือดมากขณะคลอดบุตรหรือหลังคลอดบุตร ขาดออกซิเจน หรืออาจมีความดันโลหิตต่ำกว่าปกติระหว่างการคลอดบุตรหรือหลังคลอดบุตร ส่งผลให้มีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียกว่าปกติ นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้น้ำนมน้อยจนไม่สามารถให้นมลูกได้ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม

    โรคชีแฮน 

    โรคชีแฮน (Sheehan’s Syndrome) เป็นภาวะความผิดปกติของต่อมใต้สมองที่อาจเกิดจากการตกเลือดหรือเสียเลือดมากจนเกินไป ขาดออกซิเจน หรืออาจมีความดันโลหิตต่ำกว่าปกติระหว่างการคลอดบุตรหรือหลังคลอดบุตร การตกเลือดปริมาณมาก ๆ อาจทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณต่อมใต้สมองได้เพียงพอ ส่งผลให้คุณแม่มีอาการอ่อนเพลีย น้ำนมน้อมไม่สามารถให้นมลูกได้ โดยสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจทำให้เสียเลือดในปริมาณมาก อาจมีดังนี้

    อาการของโรคชีแฮน

    โรคชีแฮนส่วนใหญ่จะพบในเพศหญิง โดยอาจส่งผลทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เหล่านี้

    • น้ำนมน้อยไม่สามารถให้นมลูกได้
    • ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนขาด
    • น้ำหนักขึ้น
    • หนาวง่าย
    • ประสิทธิภาพทางกระบวนความคิดช้าลง
    • อ่อนเพลีย อ่อนแรง
    • ผิวบริเวณรอบดวงตาและริมฝีปากเหี่ยวย่น
    • เต้านมหดตัว
    • ผิวแห้ง
    • อาการปวดข้อ
    • ความต้องการทางเพศลดลง
    • น้ำตาลในเลือดต่ำ
    • ความดันโลหิตต่ำ
    • หัวใจเต้นผิดปกติ

    วิธีการรักษาโรคชีแฮน

    ในเบื้องต้นคุณหมออาจจะสอบประวัติและอาการที่เกิดขึ้น เนื่องจาก ความเสียหายของต่อมใต้สมองอาจส่งผลทำให้ระบบภายในร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเองได้ โดยการรักษาอาจจะเน้นด้วยการใช้ฮอร์โมนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    • ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) อาจใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนต่อมหมวกไต
    • ยากลุ่มเลโวไทรอกซีน (Levothyroxine) อาจช่วยเพิ่มระดับของฮอร์โมนไทรอยด์
    • ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในคุณแม่ที่ตัดมดลูกออกแล้วจะใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเอย่างเดียว ฮอร์โมนดังกล่าวอาจช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ
    • ฮอร์โมนลูติไนซิงฮอร์โมน (Luteinizing Hormone หรือ LH) อาจทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ ให้ไข่สุกและสามารถตั้งครรภ์ได้
    • ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน(Follicle Stimulating Hormone หรือ FSH) อาจทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ ให้ไข่สุกและสามารถตั้งครรภ์ได้
    • โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) อาจช่วยรักษาความหนาแน่นของกระดูก เสริมสร้างกล้ามเนื้อและลดระดับคอเลสเตอรอล

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 27/02/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา