backup og meta

ฝากครรภ์ เรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่และลูกในท้องที่ไม่ควรมองข้าม

ฝากครรภ์ เรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่และลูกในท้องที่ไม่ควรมองข้าม

ฝากครรภ์ นับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์หลังจากทดสอบด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์แล้วพบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ท้องแรก ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน อาจสับสนและไม่รู้ว่าต้องเริ่มดูแลตัวเองและทารกในครรภ์อย่างไร จึงควรเข้ารับคำแนะนำจากคุณหมอ ในการดูแลตนเองและทารกในครรภ์ให้มีสุขภาพดี แข็งแรง และปลอดภัย

[embed-health-tool-due-date]

การฝากครรภ์ในแต่ละไตรมาส

การฝากครรภ์ในแต่ละไตรมาสนั้นอาจได้รับการปฏิบัติและดูแลจากคุณหมอแตกต่างกันไป

ช่วงไตรมาสแรก – ตั้งแต่เริ่มครรภ์ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 12

ในการฝากครรภ์ครั้งแรก คุณหมอมักให้ตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อประเมินสภาพร่างกายข และมีการซักถามประวัติและข้อมูลทั่วไป เช่น

  • วัดความดันโลหิต ส่วนสูงและน้ำหนัก
  • ตรวจเลือด
  • ตรวจเต้านมและปากมดลูก
  • วิธีคุมกำเนิดที่ใช้
  • วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพื่อคำนวณระยะครรภ์และวันกำหนดคลอด
  • ปัญหาสุขภาพ หรือโรคประจำตัว
  • ประวัติการได้รับวัคซีน
  • ประวัติการทำแท้งหรือแท้งบุตร
  • ยาที่ใช้อยู่
  • การแพ้ยา
  • ประวัติสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว

หญิงตั้งครรภ์จะได้รับเอกสารระบุวันแรกของการตั้งครรภ์ และอายุครรภ์  คุณหมอมักขอตรวจเลือดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าหญิงตั้งครรภ์ไม่เป็นโรคติดต่อ เช่น โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม และอาจต้องตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) หรือตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย หากยังไม่เคยตรวจมาก่อน

ตามปกติแล้ว คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องไปพบคุณหมอทุกสามหรือสี่สัปดาห์ คุณหมอจะตรวจวัดความดันโลหิต น้ำหนัก และปัสสาวะ เพื่อหาโปรตีนและกลูโคส รวมถึงอาจซักถามเกี่ยวกับข้อกังวลต่างๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์

ในสัปดาห์ที่ 12 และสัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์ คุณหมอจะตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ และทำการอัลตราซาวด์ หากคุณแม่มีอายุเกินกว่า 35 ปี มีเนื้องอกในมดลูก หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ  อาจแนะนำเข้าพบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางต่อไป

ช่วงไตรมาสที่สอง – จากสัปดาห์ที่ 12 ถึงสัปดาห์ที่ 24

หากคุณแม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดใด ๆ เช่น การผ่าตัดถุงน้ำดี ช่วงไตรมาสที่สองนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 15 และ 20 คุณหมอจะแนะนำให้ตรวจสาร Alpha-fetoprotein (AFP) หรือที่เรียกว่า การตรวจ Triple Screen เพื่อตรวจคัดกรองภาวะผิดปกติของทารกในครรภ์ รวมถึงต้องตรวจสอบพัฒนาการของทารกในครรภ์ด้วย

ช่วงไตรมาสที่สาม – จากสัปดาห์ที่ 24 ถึงช่วงคลอด

ในช่วงสัปดาห์ที่ 24 ถึงสัปดาห์ที่ 30 ของการตั้งครรภ์ อาจจำเป็นต้องไปพบคุณหมอทุก ๆ สองหรือสามสัปดาห์ โดยปกติแล้ว การฝากครรภ์ในช่วงนี้จะมีกำหนดการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ในสัปดาห์ที่ 26 ว่าที่คุณแม่ต้องเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคส เพื่อตรวจหาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ในสัปดาห์ที่ 28 จะตรวจหาสัญญาณบ่งชี้ของการคลอดก่อนกำหนด โดยยึดตามผลการเพาะเลี้ยงเชื้อสเตรปโตค็อคคัสกลุ่มบีจากช่องคลอด และหากพบว่ามีความเสี่ยง อาจต้องเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด
  • ในสัปดาห์ที่ 32  จะตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อระบุตำแหน่งของทารกในครรภ์
  • ในสัปดาห์ที่ 36  อาจนัดบ่อยขึ้น เพื่อป้องกันและตรวจหาความเสี่ยงบางประการ เช่น ตำแหน่งของทารกในครรภ์ที่ผิดปกติ หรือทารกท่าก้น (Breech) ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
  • สัปดาห์ที่ 37 และสัปดาห์ที่ 38 คุณหมอจะแจ้งให้ว่าที่คุณแม่เข้ารับการตรวจปากมดลูก
  • หากปากมดลูกเปิดแล้ว อาจคลอดในสัปดาห์ที่ 39
  • โดยปกติแล้วทารกจะคลอดในสัปดาห์ที่ 40 ของการตั้งครรภ์ แต่หากยังไม่มีสัญญาณของการคลอด เช่น อาการเจ็บท้องคลอด เกิดขึ้น คุณหมอจะต้องเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด
  • หากอายุครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 42 แพทย์อาจต้องเร่งคลอด (Induction) เพราะหากปล่อยไว้นานกว่านี้ อาจทำให้ทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์เป็นอันตรายได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Your Frist Prenatal Visit. https://americanpregnancy.org/planning/first-prenatal-visit/. Accessed November 11, 2022.

What to expect at your prenatal visits? https://www.babycenter.com/0_what-to-expect-at-your-prenatal-visits_9252.bc?page=1. Accessed November 11, 2022.

When You Visit Your Doctor – Pregnancy: 1st Trimester. https://www.health.harvard.edu/womens-health/when-you-visit-your-doctor-pregnancy-1st-trimester. Accessed November 11, 2022.

Your First Prenatal Doctor’s Visit. https://www.webmd.com/women/first-doctor-visit. Accessed November 11, 2022.

What is prenatal care and why is it important?.

https://www.nichd.nih.gov/health/topics/pregnancy/conditioninfo/prenatal-care. Accessed November 11, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/11/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการแพ้ท้อง ที่เกิดจากสาเหตุอื่นไม่ใช่เพราะการตั้งครรภ์

คนท้องนอนไม่หลับ อาการในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 11/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา