backup og meta

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 02/01/2023

    ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์

    ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ เป็นตารางที่อาจช่วยเทียบน้ำหนักของทารกที่มีการพัฒนาในแต่ละสัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ซึ่งน้ำของทารกในครรภ์เป็นเพียงค่าประมาณที่เหมาะสมตามเกณฑ์เท่านั้น คุณพ่อคุณแม่อาจใช้ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์เปรียบเทียบค่าน้ำหนักของทารกในครรภ์ได้เพียงเบื้องต้น เนื่องจากทารกแต่ละคนอาจมีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ กรรมพันธุ์ ลักษณะรูปร่างร่างกายของคุณพ่อคุณแม่ โรคประจำตัวหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ของคุณแม่ รวมถึงอาหารที่ได้รับ

    การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร

    การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดการตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส ดังนี้

    • ไตรมาสที่ 1 ประมาณ 1-13 สัปดาห์ หรือ 1-3 เดือนของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงแรกที่ไข่กับอสุจิปฏิสนธิกัน และเริ่มมีการพัฒนาถุงน้ำคร่ำและรกเพื่อรองรับตัวอ่อน จากนั้นตัวอ่อนจะค่อย ๆ พัฒนาอวัยวะส่วนใบหน้า ตา ปาก ขากรรไกรล่าง คอ หลอดเลือด หัวใจ เซลล์เม็ดเลือด ไขสันหลัง ระบบประสาทและสมอง แขน มือ เท้า นิ้วมือและนิ้วเท้า ซึ่งในช่วงไตรมาสนี้จะสามารถตรวจพบการเต้นของหัวใจทารกได้แล้ว โดยทั่วไปแล้วในช่วงนี้ทารกในครรภ์จะมีขนาดและน้ำหนักตัวพอๆกันในหญิงตั้งครรภ์ทุกคน เนื่องจากเป็นช่วงของการพัฒนาอวัยวะเป็นสำคัญ
    • ไตรมาสที่ 2 ประมาณ 14-28 สัปดาห์ หรือ 4-7 เดือนของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่อวัยวะส่วนต่าง ๆ ยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ และมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า ลายมือ ลายเท้า เปลือกตา คิ้ว ขนตา เล็บ ผม ฟัน อวัยวะสืบพันธุ์ ไหล่ หลัง รวมถึงยังเป็นช่วงที่ระบบประสาทพัฒนาประสานกับอวัยวะมากขึ้น ทำให้ทารกเริ่มดิ้นและตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งภายนอกและภายใน
    • ไตรมาสที่ 3 ประมาณ 28-40 สัปดาห์ หรือ 7-10 เดือนของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ร่างกายทารกมีการพัฒนาอย่างเต็มที่ทั้งอวัยวะและระบบประสาท ซึ่งทารกมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ประสานกันและสามารถกะพริบตา หลับตา หันศีรษะ จับ ตอบสนองต่อเสียง แสง และการสัมผัสได้มากขึ้น โดยในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 นี้เอง เป็นช่วงที่มีการเพิ่มขนาดตัวและน้ำหนักของทารกในครรภ์แต่ละคน ขึ้นกับปัจจัยต่างๆตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ทำให้น้ำหนักทารกในครรภ์แต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป

    ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์

    ทารกมีการพัฒนาอวัยวะส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย จึงส่งผลให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในแต่ละสัปดาห์ โดยอาจตรวจสอบได้จากตารางน้ำหนักทารกในครรภ์โดยเฉลี่ย ดังนี้

  • อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 1 กรัม
  • อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 2 กรัม
  • อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 4 กรัม
  • อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 7 กรัม
  • อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 14 กรัม
  • อายุครรภ์ 13 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 23 กรัม
  • อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 43 กรัม
  • อายุครรภ์ 15 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 70 กรัม
  • อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 100 กรัม
  • อายุครรภ์ 17 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 140 กรัม
  • อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 190 กรัม
  • อายุครรภ์ 19 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 240 กรัม
  • อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 300 กรัม
  • อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 360 กรัม
  • อายุครรภ์ 22 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 430 กรัม
  • อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 501 กรัม
  • อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 600 กรัม
  • อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 660 กรัม
  • อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 760 กรัม
  • อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 875 กรัม
  • อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 1,005 กรัม
  • อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 1,153 กรัม
  • อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 1,319 กรัม
  • อายุครรภ์ 31 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 1,502 กรัม
  • อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 1,702 กรัม
  • อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 1,918 กรัม
  • อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 2,146 กรัม
  • อายุครรภ์ 35 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 2,383 กรัม
  • อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 2,622 กรัม
  • อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 2,859 กรัม
  • อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 3,083 กรัม
  • อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 3,288 กรัม
  • อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 3,462 กรัม
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 02/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา