แท้ง คือ การสิ้นสุดการตั้งครรภ์ หรือการสูญเสียทารกในครรภ์ โดยผู้หญิงที่เกิดภาวะแท้งบุตร มากกว่า 80% เกิดการแท้งภายใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่เกิดภาวะแท้งบุตร ประมาณ 50% อาจแท้งในช่วงเวลาก่อนที่ประจำเดือนจะไม่มา หรือการแท้งในตอนที่รู้ว่าตั้งครรภ์แล้ว และประมาณ 15-25% รับรู้ว่าการตั้งครรภ์สิ้นสุดลงในตอนแท้ง
สัญญาณและอาการของการแท้ง
สำหรับสัญญาญและอาการของการแท้ง อาจมีดังนี้
- เลือดไหล โดยอาจจะเริ่มจากไหลจากบางเบาจนเลือดไหลหนัก
- ปวดท้องอย่างรุนแรง
- เจ็บท้อง
- มีไข้
- รู้สึกป่วย
- ปวดหลัง
หากมีอาการดังที่กล่าวมา ควรไปพบคุณหมอทันที
สาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้ง
ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ สาเหตุการแท้งที่พบบ่อย คือ ความผิดปกติของโครโมโซม หมายถึง มีบางอย่างผิดปกติในโครโมโซมของทารก ที่เป็นเหตุให้ไข่หรือเซลล์อสุจิเสียหาย รวมถึงการมีปัญหาตอนที่ทารกเป็นไซโกต (Zygote) หรือเซลล์ไข่ที่ปฏิสนธิกับอสุจิแล้ว ซึ่งเป็นปัญหาในกระบวนการการแบ่งเซลล์ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้แท้ง ได้แก่
- ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน
- การติดเชื้อ
- ปัญหาสุขภาพของมารดา เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์
- การใช้ชีวิตของมารดา เช่น การสูบบุหรี่ การใช้ยาเสพติด ภาวะขาดแคลนสารอาหาร การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป การสัมผัสรังสีหรือสารพิษ
- การฝังตัวของไข่ในมดลูกเกิดขึ้นอย่างไม่เหมาะสม
- อายุของมารดา
- การบาดเจ็บของมารดา
- ความผิดปกติของมดลูก
โอกาสในการแท้งของผู้หญิง
อายุเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในการแท้ง โดยผู้หญิงมีโอกาสแท้งโดยเฉลี่ยดังนี้
- ผู้หญิงที่อายุกว่า 35 ปี มีโอกาสแท้งประมาณ 15%
- ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 45 ปี มีโอกาสแท้งประมาณ 50%
- ผู้หญิงที่แท้งมาก่อนมีโอกาส 25%
- ผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 35-45 ปี มีโอกาสแท้งประมาณ 20-35%
- ผู้หญิงที่เคยมีประวัติแท้ง มีโอกาสมีบุตร 25%
การป้องกันการแท้ง
ส่วนใหญ่แล้ว การแท้งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารก ซึ่งไม่สามารถป้องกันได้ อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้แท้งไม่ได้มีเพียงแค่ความผิดปกติทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว การดูแลร่างกายให้แข็งแรงทั้งก่อนตั้งครรภ์และระหว่างตั้งครรภ์อาจช่วยป้องกันการแท้งได้ และวิธีดูแลตัวเองที่อาจช่วยป้องกันการแท้ง มีดังนี้
- รับประทานกรดโฟลิกอย่างน้อย 400 มิลลิกรัมทุกวัน และควรรับประทานกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1-2 เดือนหากเป็นไปได้
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- จัดการกับความเครียด
- รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- เลิกบุหรี่ หรืออยู่ให้ห่างจากควันบุหรี่
- ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา มากกว่า 1-2 แก้ว/วัน
- ไม่ใช้ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย
- หลีกเลี่ยงรังสีและสารพิษ เช่น สารหนู สารตะกั่ว สารฟอร์มาลดีไฮด์ เบนซีน เอทิลีนออกไซด์
- หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายที่เสี่ยงทำให้ได้รับบาดเจ็บ และควรใส่เข็มขัดนิรภัยเสมอเวลาอยู่บนยานพาหนะ
- ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้ง ก่อนรับประทานยาทุกชนิด
- หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่อันตราย เช่น สถานที่ที่มีโรคติดต่อ
[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]