การเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาถือเป็นบทเรียนชีวิตที่สำคัญสำหรับพวกเขา เด็ก ๆ ที่รู้วิธีจัดการ ความขัดแย้ง จะมีความสุข มีมิตรภาพที่ดี และจะมีการเรียนรู้ที่โรงเรียนดีขึ้น แต่ทั้งนี้การแก้ไขความขัดแย้งมักจะต้องขึ้นอยู่กับอายุ ระดับพัฒนาการ และประสบการณ์ชีวิต แต่ถ้าลูกไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ก็ถึงคราวที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออย่างเหมาะสม
[embed-health-tool-vaccination-tool]
เมื่อไหร่ที่พ่อแม่ควรมีส่วนร่วมใน ความขัดแย้ง ของลูก
เมื่อลูกเกิดความขัดแย้งกัน ผู้ปกครองบางคนมักจะรีบยื่อมือเข้าไปช่วยเหลือโดยที่ไม่รอให้พวกเด็ก ๆ แก้ปัญหากันเองก่อน ซึ่งการทำเช่นนี้มักจะทำให้เด็ก ๆ ไม่รู้วิธีการปรับตัวเข้ากับสังคม และมักจะรอให้ผู้ใหญ่เข้ามาช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นพ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งแบบเผด็จการและล่วงละเมิดสิทธิ์ของเด็ก ๆ ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุดในการช่วยเหลือพวกเด็ก ๆ เกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ก็คือ การทำให้เกิดความสมดุล และแทรกแซงเข้าไปช่วยเหลือเมื่อจำเป็นเท่านั้น คุณต้องแน่ใจว่ากำลังช่วยเด็กและมีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในบางครั้งคุณก็ควรจะต้องปล่อยให้พวกเขาได้ใช้ทักษะในการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
โดยปกติแล้วเด็กเล็กจะสามารถเรียนรู้วิธีการจัดการกับอารมณ์และความขัดแย้ง เพื่อเรียนรู้วิธีการจัดการกับสถานการณ์ที่มีปัญหา ด้วยกลยุทธ์บางอย่างของเด็ก พวกเขาสามารถจะกลายเป็นนักแก้ปัญหา และรักษามิตรภาพของพวกเขาเอาไว้ได้ แม้จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นก็ตาม
การให้คำแนะนำเมื่อลูกเกิด ความขัดแย้ง
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถช่วยเหลือลูก ๆ เมื่อพวกเขาเกิดความขัดแย้งกันขึ้น คือการให้คำแนะนำกับพวกเขาในการรับมือกับความขัดแย้ง ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
ช่วยให้เด็กทำตัวให้สงบ
- ปล่อยให้พวกเขาเรียนรู้ว่าความขัดแย้งนั้น มันจะต้องใช้ความกล้าที่จะเดินออกไปจากการต่อสู้กันมากกว่าการอยู่ ณ ตรงนั้น แล้วเริ่มต้นการต่อสู้กัน
- สอนพวกเขาว่าการต่อสู้นั้นไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา
- เตือนพวกเขาว่าเมื่อพวกเขาโกรธ แต่ไม่ได้มีการต่อสู้ นั่นคือพวกเขาได้รับการชนะอย่างแท้จริง
แต่บางครั้งเด็กบางคนอาจจะมีพฤติกรรมการเข้ากับคนอื่นยาก โดยพวกเขาอาจจะมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้
- ต่อสู้เมื่อพวกเขาโกรธ
- โดนล้อมาก ๆ
- ส่งเสริมให้ผู้อื่นต่อสู้
ซึ่งสิ่งนี้อาจทำให้ลูกของคุณรู้สึกแย่หรือมีปัญหา คุณควรสอนลูกให้เรียนรู้ถึงวิธีจัดการกับความโกรธและหลีกเลี่ยงปัญหาจะเป็นการดีที่สุด
เด็กทุกคนสามารถมีอารมณ์โกรธ
โดยปกติแล้วความโกรธของเด็ก ๆ มักจะเกิดขึ้นไม่นาน แต่มันเป็นความรู้สึกที่แข็งแกร่งมากเมื่อมันเกิดขึ้น โดยปกติแล้ว เด็กๆ มักจะมีอารณ์โกรธก็ต่อเมื่อ
- รู้สึกเจ็บหรือไม่สามารถทำสิ่งที่ต้องการได้
- คนอื่นไม่เข้าใจเขาหรือโกหกพวกเขา
- พวกเขารู้สึกว่าถูกทิ้งไว้คนเดียวหรือคนอื่น ๆ ไม่ทำตามที่พวกเขาต้องการ
เมื่อเด็ก ๆ เกิดความรู้สึกโกรธมันก็จะทำให้ร่างกายของพวกเขาเริ่มตอบสนอง ดังนี้
- หัวใจของพวกเขาจะเต้นเร็วขึ้น ใบหน้าของพวกเขาจะรู้สึกร้อนและมีเหงื่อออก
- อาจมีอาการหายใจลำบากและไม่สามารถคิดได้อย่างถี่ถ้วน
- พวกเขาจะมีพลังงานมากและต้องการที่จะแสดงออกมา
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำเมื่อพวกเด็ก ๆ มีอารณ์โกรธขึ้นก็คือ
- สิ่งที่ดีก็คือ ให้เขาระบายความรู้สึกของเขาออกมาเป็นคำพูดหรือเขียนไว้
- สิ่งที่ไม่ดีก็คือ พยายามโจมตีคนอื่นๆ ด้วยวิธีการต่างๆ หรือการพูดให้พวกเขายิ่งรู้สึกเจ็บปวด
สอนลูกให้ทำตัวสงบ
เมื่อเด็ก ๆ รู้สึกโกรธ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้พวกเขาทำตัวให้สงบ และปฏิบัติ ดังนี้
รับทราบ รับรู้
- รับทราบความรู้สึกโกรธที่เกิดขึ้น
- สังเกตการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของพวกเขา
ใจเย็น ๆ
- หายใจเข้าลึก ๆ นับ 1-10 หรือเดินออกไปจากตรงที่เกิดความขัดแย้ง
- บรรเทาความโกรธโดยทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ต่อยหมอน วิ่ง หรือเล่นดนตรี
คิดและพูดคุย
- ให้เด็กคิดเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ไข หากไม่มีใครรู้ว่าเด็กกำลังพยายามพูดหรือทำอะไร เด็ก ๆ ก็จำเป็นจะต้องอธิบายในสิ่งที่ตัวเองต้องการ
- พูดคุยกับใครบางคนเกี่ยวกับความโกรธที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องต่อสู้ หากไม่มีใครคุยด้วยได้ ให้หยุดการกระทำด้วยความโกรธและคิดว่า “นี่คือสาเหตุที่ทำให้ฉันโกรธและสิ่งที่ฉันต้องการทำคืออะไร” เพื่อเป็นการทำความเข้าใจอารมณ์โกรธของตัวเด็กเอง
แต่ถ้าหากใครบางคนที่มีความขัดแย้งกับลูกของคุณ และพยายามที่จะเริ่มการต่อสู้กับลูกของคุณ คุณสามารถสอนให้เด็ก ๆ ทำตัวเป็นคนที่สงบได้ ดังนี้
ใจเย็น ๆ
- รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากบุคคลที่ต้องการจะต่อสู้
- หายใจช้า ๆ ลึก ๆ
- ระมัดระวังตัวและยินหยัดว่าไม่ต้องการจะต่อสู้ด้วย
หลีกเลี่ยง
- หลีกเลี่ยงการเรียกชื่อหรือดูหมิ่น เพราะมันจะยิ่งทำให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเลวร้ายลง
- หลีกเลี่ยงจากเด็ก ที่อาจจะต้องการต่อสู้ หรือพยายามพูดคุยเป็นการส่วนตัวกับเด็กที่ต้องการต่อสู้
ตั้งใจฟัง
- ใจเย็นและฟังในสิ่งที่เด็กคนอื่นพูด
- ลองถามว่า จริง ๆ แล้วเด็กที่มีความขัดแย้งกับเขาต้องการอะไร
ก้าวต่อไป
คุณควรสอนให้เด็ก ๆ ค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องต่อสู้
- ใช้อารมณ์ขันเข้ามาช่วย
- ให้เหตุผลว่า ถ้าหากเราต่อสู้กันเราอาจจะถูกทำโทษทั้งคู่
- เดินจากไป หากไม่มีอะไรที่สามารถทำให้การต่อสู้จบลงได้ ก็ควรจะเดินออกไปจากบริเวณที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นจะเป็นการดีที่สุด
การที่คุณพ่อคุณแม่ทำให้เด็ก ได้ทำในสิ่งที่คุณแนะนำ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือตัวคุณพ่อคุณแม่เอง เพราะพวกคุณคือแบบอย่างที่สำคัญที่สุดสำหรับลูกของคุณ แต่ถ้าหากลูกของคุณยังมีปัญหาในการติดต่อกับเด็กคนอื่น ๆ คุณควรพาลูกไปพบกับกุมารแพทย์ เพื่อช่วยกันหาทางออกและวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ