backup og meta

ปัญหาครอบครัว กับวิธีรับมือและแก้ไข

ปัญหาครอบครัว กับวิธีรับมือและแก้ไข

ปัญหาครอบครัว อาจเกิดจากความขัดแย้งทางความคิด การเลี้ยงดูแลบุตร ปัญหาทางการเงิน หรือแม้แต่เรื่องสุขภาพร่างกาย ทั้งนี้ ปัญหาครอบครัวอาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจ เช่น วิตกกังวล เครียด ไม่มั่นใจในตัวเองต่อสมาชิกในบ้าน ทั้งนี้ ปัญหาครอบครัวอาจแตกต่างกันออกไป การทำความเข้าใจปัญหา และหาทางแก้ไขร่วมกันอาจช่วยให้ทุกคนรับมือกับปัญหาครอบครัวได้

[embed-health-tool-bmi]

ปัญหาครอบครัว คืออะไร 

ปัญหาครอบครัว คือ ปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้งทางด้านต่าง ๆ เช่น ความคิด การงาน การเงิน เศรษฐกิจ สุขภาพร่างกาย รวมถึงการทำร้ายร่างกายภายในครอบครัว ทั้งนี้ ปัญหาครอบครัวอาจเกิดจากความขัดแย้งระหว่างพ่อกับแม่ พี่กับน้อง พ่อกับลูกหรือแม่กับลูก ซึ่งหากความขัดแย้งบานปลายและไม่แก้ไขอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว การหย่าร้าง และยังอาจส่งผลต่อจิตใจและอารมณ์ผู้ที่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม ปัญหาครอบครัวอาจป้องกันหรือแก้ไขได้ หากสมาชิกในบ้านพูดคุยและหันหน้าเข้าหากันด้วยความเข้าใจ เปิดใจ และรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

สาเหตุการเกิดปัญหาครอบครัว 

ปัจจัยการเกิดปัญหาครอบครัวอาจมีหลายสาเหตุ ดังนี้ 

  • การเลี้ยงดูแลลูก เมื่อมีลูกอาจทำให้ไม่มีเวลาส่วนตัวสำหรับชีวิตคู่ ไม่ได้ใช้ชีวิตด้วยกัน 
  • การเงิน อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้มีปัญหาครอบครัว เนื่องจากพ่อและแม่ต้องออกไปหางานทำ จนส่งผลให้เด็กอยู่กันตามลำพัง ทำให้ขาดการดูแลและอบรมสั่งสอน อาจทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว เกเร จนบางครั้งอาจมีการขึ้นเสียงกับพ่อหรือแม่ 
  • การสื่อสาร หากไม่ค่อยได้พูดคุยถึงปัญหาที่พบเจอของแต่ละบุคคล รวมถึงความไม่เข้าใจกัน ทัศนคติไม่ตรงกัน และสะสมไว้นานวันอาจทำให้เกิดการทะเลาะและขัดแย้งกันรุนแรงได้ 
  • การเปรียบเทียบ ความแตกต่างและการแข่งขันระหว่างญาติพี่น้อง หากรุนแรงอาจทะเลาะ และนำไปสู่ความขัดแย้งกับพี่น้อง
  • การมีปัญหาทางด้านสุขภาพ หากคนในครอบครัวไม่สบาย อาจส่งผลให้สมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ เกิดความวิตกกังวล 
  • การใช้ความรุนแรง การทำร้ายร่างกาย เช่น ตบ ตี เตะ ต่อย ซึ่งอาจร่วมถึงใช้ความรุนแรงทางด้านวาจา โดยใช้ถ้อยคำหยาบคาย ข่มขู่ คุกคาม ส่งผลให้เกิดการหย่าร้างได้ และปัญหาในครอบครัวได้

นอกจากนี้ ปัญหาครอบครัวอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ เช่น เครียด หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน ไม่มั่นใจในตนเอง หลีกเลี่ยงการพบเจอผู้คน ซึมเศร้า สิ้นหวัง ซึ่งอาจส่งผลให้ทำงานได้อย่างไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ  

วิธีรับมือแก้ไขปัญหาครอบครัว 

หากประสบกับความเครียด วิตกกังวล ความสัมพันธ์ในครอบครัว สมาชิกในบ้านควรร่วมมือกัน โดยอาจแก้ไขได้ด้วยวิธีดังนี้ 

  • พูดคุยปรึกษาเมื่อมีปัญหา หรือมีเรื่องกังวลต่าง ๆ การพูดคุยอาจช่วยทำให้ปรับความเข้าใจ และระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นให้อีกฝ่ายได้รับรู้ รวมถึงปรึกษาหารือกับผู้อื่น เช่น เพื่อน 
  • ช่วยกันแบ่งเบาหน้าที่ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้า ทำอาหาร หรือทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการพูดคุย ทำความเข้าใจ และสนิทสนมกันมากขึ้น
  • ฝึกสมาธิ หากมีความเครียดสะสมจากการทำงาน อาจลดความเครียดและความวิตกกังวลโดยการนั่งสมาธิ ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ รวมถึงอาจหาเวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว 
  • ครอบครัวบำบัด เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำจิตบำบัดที่อาจสามารถช่วยให้สมาชิกในครอบครัวปรับปรุงการสื่อสารและแก้ไขข้อขัดแย้ง ทำให้เข้าใจกันมากขึ้น โดยการรักษานี้จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละครอบครัว ครอบครัวบำบัดมักใช้เวลาประมาณ 50 นาทีถึง 1 ชั่วโมงในการพูดคุยกับนักบำบัด ซึ่งการบำบัดนี้อาจช่วยบรรเทาอาการเครียด ภาวะซึมเศร้าลงได้ 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Family Issues. https://zencare.co/mental-health/family-issues. Accessed July 27, 2023.

Family Issues. https://medlineplus.gov/familyissues.html. Accessed July 27, 2023.

Family Issue. https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/family-issue. Accessed July 27, 2023.

Family therapy. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/family-therapy/about/pac-20385237. Accessed July 27, 2023.

Family Issues. https://counseling.dasa.ncsu.edu/resources/self-help-resources/family-issues/. Accessed July 27, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/07/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

วรรณกรรมเยาวชน แนะนำเล่มไหนดีที่จะช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน

ความลำเอียง ปัญหาครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา