backup og meta

เด็กบูลลี่เพื่อน ในโรงเรียน ควรดูแลอย่างไร

เด็กบูลลี่เพื่อน ในโรงเรียน ควรดูแลอย่างไร

การถูกแกล้งจากเพื่อนในโรงเรียน อาจส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจของเด็ก แต่ในขณะเดียวกัน หากเด็กไม่ได้ถูกบูลลี่จากผู้อื่น แต่กลับเป็น เด็กบูลลี่เพื่อน คนอื่น ๆ เสียเอง คุณพ่อคุณแม่อาจต้องมีการติดตามพฤติกรรมของเด็กอยู่เสมอ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลเสียจนติดเป็นนิสัยไปจนโต ดังนั้น การดูแลเด็กอย่างถูกวิธีอาจช่วยลดปัญหาการบูลลี่ผู้อื่นในโรงเรียนได้

เด็กบูลลี่เพื่อน ในโรงเรียนอย่างไรบ้าง

โดยปกติแล้ว เด็กที่มีเพื่อนเยอะอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม รวมทั้งอาจมองเด็กที่มีเพื่อนน้อยว่าเป็นคนแปลกแยก เมื่อเด็กเหล่านี้รวมตัวกันก็อาจมีพฤติกรรมกลั่นแกล้งเด็กที่มีเพื่อนน้อยด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ตะโกน ส่งเสียงล้อเลียน เดินเบียด หรืออาจแกล้งด้วยการนำของบางอย่างมาแปะที่ตัว เช่น กระดาษโน้ตที่เขียนคำล้อเลียน แต่ในกรณีที่ร้ายแรงอาจถึงขั้นทำร้ายร่างกายจนได้รีบบอกเจ็บได้ ในขณะเดียวกัน เด็กบางคนอาจไม่ได้เป็นหัวโจกของการกระทำดังกล่าว แต่เพราะอยู่ในเพื่อนกลุ่มใหญ่ก็อาจต้องทำตามเพื่อน เพื่อจะได้เป็นที่ยอมรับ ซึ่งในปัจจุบัน การบูลลี่นั้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในโรงเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถเกิดในโซเชียลมีเดียได้ด้วย โดยการบูลลี่ในโซเชียลมีเดียอาจเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่รู้จักเข้ามาร่วมบูลลี่ได้มากขึ้นกว่าเดิม

การดูแลเด็กไม่ให้บูลลี่ผู้อื่น

โดยปกติแล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจปกป้องลูกของตัวเอง ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถรู่ได้เลยว่า พฤติกรรมของเด็กเมื่ออยู่ที่โรงเรียนเป็นอย่างไร อาจมีความแตกต่างจากตอนอยู่บ้านก็เป็นได้ ดังนั้น การปกป้องเด็กแบบไม่ถูกวิธี อาจส่งผลเสียต่อนิสัยและพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ ซึ่งเมื่อเด็กเติบโตไปอาจกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่ดีต่อสังคมได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจสอนเด็กให้หลีกเลี่ยงจากพฤติกรรมบูลลี่ผู้อื่นได้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

1. สร้างครอบครัวที่อบอุ่น

หากพื้นฐานครอบครัวมีความอบอุ่น แวดล้อมไปด้วยความรัก อาจส่งผลทำให้เด้กเติบโตขึ้นอย่างมีความสุข เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การที่คุณพ่อคุณแม่ปล่อยปละละเลยเด็กตั้งแต่ที่บ้าน อาจทำให้เด็กขาดความรักและการเอาใจใส่ ซึ่งอาจส่งผลทำให้มีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจและอาจทำสิ่งที่ไม่ดีอย่างการบูลลี่ได้

2. หาคนช่วยแก้ปัญหา

หากคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถจัดการปัญหาเด็กบูลลี่เพื่อนได้ด้วยตัวเอง อาจเข้าไปพบกับครูประจำชั้นเพื่ขอคำปรึกษา หรือาจพาเด็กไปพบคุณหมอ ผู้เชี่ยวชาญ หรือจิตแพทย์ เพื่อช่วยลดปัญหาการบูลลี่เพื่อน โดยเฉพาะในเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว การพาไปพบคุณหมออาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ได้รับคำปรึกษาและแนวทางเในการขัดเกลาพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง

3. สอนให้ลูกรู้จักการวางตัวและการอยู่ร่วมสังคมกับผู้อื่น

การสอนให้เด็กรู้จักให้เกียรติผู้อื่นเป็นอีกหนึ่งวิธีที่อาจช่วยลดปัญหาเด็กบูลลี่เพื่อนได้ โดยคุณพ่อคุณแม่อาจชี้แนะและยกตัวอย่างให้เด็กเข้าใจว่า คนเราไม่ได้เกิดมาตัวคนเดียว แต่มนุษย์ทุกคนต้องใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น หากต้องการให้คนอื่นปฎิบัติดีกับตัวเองก็ต้องปฎิบัติตนเป็นคนดีกับคนอื่น ๆ เช่นกัน

4. คุณพ่อคุณแม่อาจเป็นแบบอย่างให้กับเด็ก

การกลั่นแกล้งอาจเป็นพฤติกรรมเลียนแบบที่เด็กได้เห็นมาจากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่ เช่น การกลั่นแกล้งจากการจำลองบทบาทสมมติในสื่อต่าง ๆ ดังนั้น การเป็นแบบอย่างที่ดีและสอนให้เด็กมีพฤติกรรมทางสังคมที่ดีตั้งแต่อายุยังน้อย อาจช่วยลดโอกาสที่เด็กกจะมีพฤติกรรมในเชิงลบกับเด็กคนอื่นได้

5. หาเวลาคุยกับลูก

เมื่อคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่ามีอะไรผิดปกติกับเด็ก อาจต้องพูดคุย เอาใจใส่กับความรู้สึกของเด็ก ซึ่งอาจทำให้เด็กรับรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่ใส่ใจ แม้คุณพ่อคุณแม่อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เด็กได้ทั้งหมด แต่อาจทำให้เด็กมีความเชื่อใจและวางใจที่จะเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ฟัง

ดังนั้น การสอนให้เด็กเข้าใจในเรื่องของการบูลลี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เด็กเติบโตขึ้นไปในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ และไม่ทำร้ายผู้อื่นทั้งทางตรงหรือทางอ้อม รู้ว่าโทษของการบูลลี่คืออะไร และต้องทำอย่างไรที่จะไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว ซึ่งทั้งหมดนี้เริ่มต้นได้จากที่บ้าน

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Teaching kids not to bully. https://kidshealth.org/en/parents/no-bullying.html. Accessed September 6, 2019

Why Do Kids Bully?. https://www.parents.com/kids/problems/bullying/when-your-child-is-the-bully/. Accessed September 6, 2019

How to Stop Bullying in Schools. https://www.healthline.com/health/how-to-stop-bullying#bullying-prevention-strategies. Accessed September 6, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/04/2022

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัยรุ่นกับโรคซึมเศร้า ความเสี่ยงที่เกิดได้ง่ายกว่าที่คุณคิด

เพศทางเลือกกับการถูกรังแก ในโรงเรียน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 12/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา