backup og meta

ลูกน้อยวัย 34 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร

ลูกน้อยวัย 34 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร

ลูกน้อยวัย 34 เดือน มีพัฒนาการที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากวัยเตาะแตะมาเป็นวัยเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมทักษะด้านต่าง ๆ ทั้งด้วยการเล่น การรับประทานอาหาร และสังเกตพฤติกรรมลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นช่วงวัยที่เขากำลังสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยความอยากรู้อยากเห็น

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโตและพฤติกรรม

ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง

นอกเหนือจากทักษะทางด้านภาษาที่ดีขึ้นแล้ว ลูกน้อยอาจมีบุคลิกที่ดูน่ารำคาญเกิดขึ้นในช่วงนี้ด้วย นั่นก็คือบุคลิกที่ดูเจ้ากี้เจ้าการ “ใส่เสื้อคลุมให้หน่อย” “แม่มานี่หน่อย!” “พ่อนั่งตรงนี้” ลูกน้อยมองตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดังนั้นเขาจึงเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ที่ใคร ๆ จะต้องหมุนรอบตัวเขา

ไม่ใช่เป็นเพราะคุณพ่อคุณแม่พูดหรือทำอะไรตล๊ก…ตลกในชีวิตประจำวัน แต่เขาจะแสดงปฎิกิริยาต่อเรื่องตลกพวกนั้นแบบเกินจริงมาก การที่เขาชอบความตลกโปกฮานั้น ไม่ใช่เรื่องฟังดูตลกเท่านั้นนะ แต่เขาชอบที่มีการทำเสียงแปลก ๆ การแสดงทางใบหน้าที่ดูตลก ๆ ด้วย

ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร

ถึงแม้ว่าลูกน้อยอาจเข้าใจยาก แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้เขาอ่อนโยนขึ้นได้ ด้วยการพยายามให้ลูกน้อยใช้คำว่า “กรุณา” และ “ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล” เวลาที่เขาเรียกร้องต้องการอะไร

ถ้าไม่ได้ฝึกลูกน้อยให้รู้จักการใช้ห้องน้ำ หรือฝึกไม่สำเร็จก่อนหน้านี้ ช่วงเวลานี้ก็นับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ฝึกให้เขารู้จักวิธีใช้ห้องน้ำดูอีกที ตอนนี้ลูกน้อยพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้นแล้ว และจะอยากเข้าห้องน้ำด้วยตัวเอง

ก่อนอื่นก็อธิบายให้เขาฟังว่าชักโครกมีไว้ทำอะไร ในขณะที่เขานั่งอยู่บนชักโครกโดยปิดฝาเอาไว้ วิธีนี้จะช่วยลดความน่ากลัวลงได้

ควรพาลูกน้อยไปที่ชักโครกทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อคอยเตือนลูกน้อยและป้องกันอุบัติเหตุ โดยควรทำแบบนี้เป็นกิจวัตร ยกตัวอย่างเช่น ในทุก ๆ เช้า ก่อนช่วงงีบหลับในตอนกลางวัน และในช่วงกล่อมนอนตอนกลางคืน เพื่อเป็นการเตือนให้ลูกน้อยเข้าห้องน้ำ หลังจากใช้ห้องน้ำเสร็จแล้ว ก็ควรให้เขาได้กดชักโครกและล้างมือด้วย

สุขภาพและความปลอดภัย

จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ

เด็กในวัยนี้อาจแสดงความกลัวออกมาอย่างมาก ซึ่งความกลัวนั้นอาจเป็นสัญญานที่บ่งบอกว่าลูกน้อยมีความต้องการ ดังนี้

  • ต้องการความรัก : เมื่อเด็กจำความได้จะรู้สึกว่าความรักความอบอุ่นนั้นเป็นของสำคัญ จึงอยากให้คนอื่นรัก และได้รับความรักคนอื่น เด็กที่มีความอบอุ่นได้รับความรักจากพ่อแม่ พี่น้อง จะมีอารมณ์แจ่มใสคงที่ ไม่มีการเอาเปรียบหรืออิจฉาริษยากัน ซึ่งตรงข้ามกับเด็กที่ขาดความรักความอบอุ่น
  • ต้องการความปลอดภัย : เด็กต้องการความเสมอต้นเสมอปลาย หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เด็กไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จะทำให้รู้สึกว่าตัวเองอยู่ในฐานะไม่ปลอดภัย

ถึงแม้ว่าความกลัวของ ลูกน้อยวัย 34 เดือน หรือเด็กอายุเกือบสามขวบอาจดูเกินเหตุไปหน่อย แต่ก็ยังถือเป็นเรื่องปกติ ยกเว้น ควรปรึกษาแพทย์ ถ้าความกลัวของลูกน้อยรบกวนการทำกิจกรรมของคนในครอบครัว ลูกน้อยใช้เป็นข้ออ้างในการหยุดอยู่บ้านของ เพื่อจะได้ไม่ต้องไปโรงเรียน รบกวนการนอนของเขา หรือส่งผลให้เกิดพฤติกรรมบีบบังคับ แล้วถ้าจำเป็น คุณหมอก็อาจส่งตัวไปให้ที่ปรึกษาทางด้านครอบครัวหรือจิตแพทย์สำหรับเด็ก

สิ่งที่ต้องคาดหวัง

ต้องกังวลในเรื่องใด

ควรหมั่นสังเกตว่าลูกมีโอกาสเป็น เด็กออทิสติก หรือไม่ หากเข้าข่ายเป็นออทิสติก อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมโดยทั่วไปที่เขาจะเข้ากับผู้คนไม่ค่อยจะได้ ไม่ค่อยสนใจในเรื่องการสัมผัสทางร่างกายกับพ่อแม่ และดูเหมือนว่าจะชอบมองผ่านผู้คนไปเฉย ๆ แทนที่จะมองไปที่คนพวกนั้น ถ้าสังเกตเห็นว่าลูกน้อยสูญเสียความสามารถทางด้านร่างกาย ภาษา หรือทักษะอื่น ๆ หรือหากลูกน้อยชอบเก็บตัวมากขึ้น หรือถ้ายังมีพัฒนาการช้าอย่างต่อเนื่อง ควรปรึกษากับคุณหมอ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

BabyCenter Medical Advisory Board. Your anxious child. http://www.babycenter.com/0_your-anxious-child_64004.bc?showAll=true. Accessed  December 31, 2022.

Important Milestones: Your Child By Three Years.

https://www.cdc.gov/ncbddd/actearly/milestones/milestones-3yr.html. Accessed  December 31, 2022.

From Baby to Big Kid: Month 34. https://www.zerotothree.org/resources/1275-from-baby-to-big-kid-month-34. Accessed  December 31, 2022.

3-4 years: preschooler development. https://raisingchildren.net.au/preschoolers/development/development-tracker/3-4-years. Accessed  December 31, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท่าให้นม ท่าไหนดีที่เหมาะสมทั้งคุณแม่และลูกน้อย

สารอาหารบำรุงนมแม่ และข้อแนะนำสำหรับแม่ให้นมลูก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา