ถ้าคุณเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อย ในแต่ละช่วงเวลาล่ะก็ นี่คือข้อมูลของ ลูกน้อยวัย 16 เดือน ที่คุณแม่ควรรู้เอาไว้
การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 16 เดือน
ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง
กลัวเสียงดัง
ลูกน้อยวัย 16 เดือนอาจกลัวเสียงดัง และแสดงออกถึงความกลัว โดยลูกน้อยอาจตื่นกลัว ร้องไห้ หรือตกใจเสียงเครื่องดูดฝุ่น พายุฝนฟ้าคะนอง เสียงหวอ ดอกไม้ไฟ และเสียงลูกโป่งแตก ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยเหลือลูกน้อย คือ การปลอบโยน โดยการกอดและการรับรู้ถึงความรู้สึก เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย นอกจากนี้ อาจสอนให้ลูกน้อยทำท่าปิดหู เวลาได้ยินเสียงดัง เพื่อช่วยควบคุมความกลัว แล้วในที่สุดลูกน้อยก็จะเลิกกลัวเสียงดังไปเอง เพราะจะเริ่มเข้าใจว่าเสียงนั้นมาจากไหน และเรียนรู้ว่าเสียงดังเกิดจากอะไร
ในช่วงอายุ 15-18 เดือน ลูกน้อยอาจไม่ต้องการงีบหลับในช่วงเช้าแล้ว เนื่องจากการงีบหลับช่วงเที่ยงวัน หรือช่วงบ่ายก็เพียงพอแล้ว ในช่วงแรก ๆ การงีบหลับ 1 ครั้งอาจใช้เวลานานกว่าที่เคย แต่ควรระวังอย่าให้หลับนานเกินไปในช่วงกลางวัน เพราะจะทำให้ไม่รู้สึกง่วงเมื่อถึงเวลานอน และอาจจำเป็นต้องลดเวลาในการงีบหลับในช่วงบ่ายให้น้อยลง
การนอนจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่สร้างกิจวัตรที่ดีขึ้นมาให้ลูกน้อยปฏิบัติตาม ซึ่งกิจวัตรที่ดีควรจะมีเวลาที่เหมาะสม คือ ประมาณ 20-30 นาที โดยกิจกรรมทีททำควรทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลง ดูหนังสือภาพ นอนพักบนผ้าห่มหรือบนโซฟา รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการนั่งรถในช่วงเวลาที่เคยเป็นเวลางีบหลับ เพราะอาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกง่วง แล้วไม่ได้งีบหลับในตอนบ่าย และเกิดอาการงอแงในช่วงค่ำได้
สุขภาพและความปลอดภัย
ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร
ในช่วงเดือนที่ 16 นี้ คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ว่าลูกน้อยอาจไม่ต้องการงีบหลับในตอนเช้า และการงีบหลับในช่วงบ่ายก็พอจะทำให้ลูกน้อยมีพลังและมีสุขภาพดีได้ โดยควรพยายามกำหนดเวลาการงีบหลับช่วงบ่ายให้เร็วขึ้น เพราะการงีบหลับในช่วงบ่ายอาจส่งผลกระทบต่อช่วงเวลานอนในตอนกลางคืนจนทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ งอแง และอารมณ์เสีย
จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ
คุณพ่อคุณแม่ควรบอกคุณหมอเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น หากลูกน้อยดูปกติและมีสุขภาพดีก็ควรเช็คดูว่ามีเวลาสำหรับการตรวจร่างกายหรือไม่ ลูกน้อยอาจกลัวที่จะไปหาคุณหมอ เพราะอาจคิดว่าต้องโดนฉีดยา ดังนั้นอาจใช้วิธีเหล่านี้ เพื่อทำให้ลูกน้อยรู้สึกสบายใจขึ้น
- อย่าไปถึงก่อนเวลานัดหมาย ควรไปให้ตรงเวลา ใช้เวลาให้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการโต้ตอบกับลูกน้อยให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
- นำของเล่นที่ลูกชื่นชอบไปด้วย พื่อทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
- พยายามไปพบกับคุณหมอคนเดิม วิธีนี้จะทำให้ลูกน้อยมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับคุณหมอ และสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว รวมถึงคุณหมอได้ทำความรู้จักกับลูกด้วย
- หันเหความสนใจจากลูกน้อย เมื่อต้องโดนฉีดยา
สิ่งที่ต้องกังวล
- การใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์ หรือโทรศัพท์มือถือ สถาบันกุมารเวชศาสตร์ในอเมริกาแนะนำว่า ไม่ควรให้ลูกน้อยดูโทรทัศน์จนกว่าจะมีอายุ 2 ขวบ รวมถึงการใช้โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต นอกจากนี้ ควรจำกัดเวลาไม่ให้อยู่หน้าจอนานเกินไป เพราะอาจทำให้ลูกน้อยเสพติดได้
- ส่งเสริมให้ลูกน้อยได้ทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เล่นบอล ว่ายน้ำ วิ่งเล่นในสนามเด็กเล่น นอกจากนี้ อาจเปิดเพลงให้ลูกน้อยได้ร้องเพลงหรือเต้นด้วยก็ได้
- ควรให้ลูกน้อยได้อ่านหนังสือ ยิ่งคุณพ่อคุณแม่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อยมากเท่าใด ลูกน้อยก็จะซึมซับแนวคิดและคำใหม่ ๆ ได้มากขึ้น
[embed-health-tool-vaccination-tool]