backup og meta

ยาเพร็พ (PrEP) คืออะไร สามารถป้องกัน HIV ได้จริงหรือ?

ยาเพร็พ (PrEP) คืออะไร สามารถป้องกัน HIV ได้จริงหรือ?

โรคติดเชื้อเชไอวี (Human immunodeficiency virus; HIV) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่เข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของคุณ จนทำให้คุณค่อนข้างได้รับความเสี่ยงที่จะประสบกับโรคเอดส์ ในบทความนี้ทาง Hello คุณหมอ ได้มีโอกาสพูดคุยกับ นายแพทย์ วิฉกร จิตประพันธ์ แพทย์ประจำคลินิก Pulse สีลม จึงได้รวบรวมสาระความรู้ที่น่าสนใจในการป้องกันความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเอชไอวี ด้วยรับการประทาน หรือฉีด ยาเพร็พ (PrEP) ที่เป็นตัวยาอีกชนิดที่ได้รับการยอมรับในวงการแพทย์ มาฝากทุกคนให้ได้ทราบไปพร้อม ๆ กันค่ะ

ยาเพร็พ (PrEP) คืออะไร

ยาเพร็พ (Pre-exposure prophylaxis ; PrEP) เป็นยาป้องกันเชื้อเอชไอวี ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (FDA) สำหรับผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีอยู่แต่เดิม แต่อยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ

รูปแบบของยาเพร็พ มีทั้งหมด 2 รูปแบบด้วยกันตามความเหมาะสมการใช้งานนั่นก็คือ รูปแบบการรับประทาน และรูปแบบการฉีด

ในบางกรณีนั้นแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับการรับประทานจึงเห็นผลในการป้องกันได้ดีกว่า เพราะจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีได้ถึง 92% ในขณะผู้ที่รับการฉีดยาอาจลดความเสี่ยงการติดเชื้อเพียงแค่ 70% ที่สำคัญควรรับประทานทุกวัน วันละ 1 เม็ด หรือตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยาเพร็พ เหมาะสำหรับใครบ้าง

การรับประทานยาเพร็พนั้น สามารถนำมาใช้งานได้ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย จนรวมไปถึงผู้ที่ตกอยู่ในความเสี่ยงของการได้รับเชื้อเอชไอวี ตามคำแนะนำของ นายแพทย์วิฉกร จิตประพันธ์ แพทย์ประจำคลินิก Pluse สีลม ที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้น ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ที่กำลังอยู่ในกระบวนการรักษาตัวจากการติดเชื้อเอชไอวี แต่ในกรณีที่จำนวนไวรัสอาจยังไม่มากเพียงพอ
  2. กลุ่มที่มีการเปลี่ยนคู่นอน หรือมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ จำนวนมาก
  3. กลุ่มที่มักมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หรือแม้แต่ทางช่องคลอดตามปกติ
  4. ผู้ให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งเพศชาย และเพศหญิง (Male/Female sex workers)
  5. ผู้ใช้ยาเสพติด โดยเฉพาะกับชนิดฉีด

นอกจากนี้แล้วนายแพทย์ วิฉกร จิตประพันธ์ ยังกล่าวเสริมอีกว่า สำหรับผู้ที่มีความประสงค์ที่ต้องการยาป้องกันหลังติดเชื้อเอชไอวี อาจแนะนำให้รับประทานยาเพร็พ แทนยาอื่น ๆ เสียดีกว่า เนื่องจากคุณสมบัติในตัวยานี้ค่อนข้างให้ประสิทธิภาพได้สูงกว่า

การเริ่มรับประทาน ยาเพร็พ มีขั้นตอนอย่างไร

ถึงการรับประทานยาเพร็พจะให้ผลลัพธ์ในการป้องกันเชื้อเอชไอวี อย่างเป็นที่น่าพอใจ แต่หากมีการรับประทาน หรือได้รับคำแนะนำอย่างไม่ถูกต้อง ก็อาจทำให้ประสิทธิผลในการป้องกันเชื้อเอชไอวีนั้นเสื่อมถอยลงได้ ซึ่ง นายแพทย์ วิฉกร จิตประพันธ์ แพทย์ประจำคลินิก Pulse สีลม ได้ออกมาให้ข้อควรรู้ถึงการเริ่มใช้งานยาเพร็พ ที่เหมาะสมไว้ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ที่ต้องการรับประทานยาเพร็พ ควรมีการป้องกัน หรือผ่านการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่มีความเสี่ยงมาก่อน เช่น การใช้ถุงยางอนามัยในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น ล่วงหน้าอย่างน้อยเป็นเวลา 4 สัปดาห์ หรือ 28 วัน
  2. เมื่อครบตามกำหนด 4 สัปดาห์ หรือ 28 วัน ให้ผู้ใช้บริการที่ต้องการรับยาเพร็พเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อการคัดกรอง HIV ตรวจการทำงานของไต และตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งผู้ป่วยผ่านเกณฑ์ตามการตรวจทางการแพทย์ตามกำหนด แพทย์จึงจะเริ่มให้คำปรึกษาในลำดับถัดไปได้
  3. เมื่อผลการตรวจออกมาว่าผู้ใช้บริการไม่มีการติดเชื้อ HIV ค่าดับอยู่ในระดับดี และไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีใด ๆ ทางแพทย์จะดำเนินการอนุญาตให้คุณนั้นเริ่มรับประทานยาเพร็พได้ในทันที หรือในชื่อยาทางการแพทย์ที่เรียกว่า Tanofovir เป็นประจำทุกวัน ในช่วงระยะแรกที่ตกอยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงการติดเชื้อสูง
  4. อาจมีการนัดหมายมาตรวจคัดกรองหาเชื้อเอชไอวีทุก ๆ 3 เดือน อีกทั้งตรวจระบบการทำงานของตับ และไต ร่วมทุก 6 เดือน

ที่สำคัญการทานยาเพร็พ ควรรับประทานทุกวันอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือ 7 วัน และควรรับประทานอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการหยุดยา เพราะในช่วงระยะแรกนั้น ยาเพร็พอาจมีความสามารถในการป้องกันเชื้อเอชไอวีไม่เพียงพอมากนัก และหากระยะแรกนี้คุณต้องการมีเพศสัมพันธ์ ก็อาจจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งในช่วงการทานยาเพร็พ 7 วันแรก อีกด้วย เพื่อความปลอดภัยในการเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี

กรณีที่ผู้ใช้บริการมีความประสงค์ต้องการหยุดการรับประทานยา ก็อาจจำเป็นต้องทำตามขั้นตอน โดยการเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์เพิ่มเติมเสียก่อน พร้อมตรวจเช็กคัดกรองเบื้องต้นว่าตนเองนั้นมีเชื้อเอชไอวีหรือไม่ เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการทดสอบ และดำเนินการอนุญาตให้คุณนั้นหยุดยาได้ในลำดับถัดมา

ผลข้างเคียงของยาเพร็พ ที่อาจเกิดขึ้น

การรับประทานยาเพร็พในช่วงระยะแรก บางครั้งก็อาจส่งผลข้างเคียงเล็กน้อยตามมาได้ เช่น ปวดท้อง เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสามารถจางหายไปได้เอง แต่ถึงอย่างไรคุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่คุณประสบร่วมด้วย เพื่อที่แพทย์นั้นจะได้ทำการรักษา หรือให้คำแนะนำที่เหมาะสมแก่คุณในการนำไปปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องต่อไป

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

นายแพทย์ วิฉกร จิตประพันธ์ แพทย์ประจำคลินิก Pluse สีลม

Pre-Exposure Prophylaxis (PrEP) to Prevent HIV Transmission https://www.ucsfhealth.org/education/pre-exposure-prophylaxis-prep-to-prevent-hiv-transmission Accessed December 01, 2020

Pre-Exposure Prophylaxis (PrEP)  https://www.cdc.gov/hiv/risk/prep/index.html Accessed December 01, 2020

What is PrEP? https://www.cdc.gov/hiv/basics/prep/about-prep.html Accessed December 01, 2020

Pre-Exposure Prophylaxis https://www.hiv.gov/hiv-basics/hiv-prevention/using-hiv-medication-to-reduce-risk/pre-exposure-prophylaxis Accessed December 01, 2020

HIV/AIDS https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hiv-aids/symptoms-causes/syc-20373524 Accessed December 01, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/12/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

การป้องกันโรคเอดส์ สำคัญอย่างไร และทำได้อย่างไร

กลุ่มเสี่ยงโรคเอดส์ มีใครบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/12/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา