backup og meta

คานามัยซิน เมจิ (Kanamycin Meiji)

ข้อบ่งใช้

ยาคานามัยซิน เมจิ (คานามัยซิน ซัลเฟต) ใช้สำหรับ

ยาคานามัยซิน เมจิ (Kanamycin meiji) ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อรุนแรงที่มีสาเหตุมาจากเชื้อเอสเชอริเชีย คอไล (Escherichia coli) เชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนีย (Klebsiella pneumonia) เชื้อเอนเทอโรแบคเตอร์ แอโรจีเนส (Enterobacter aerogenes) เชื้อโปรเทียส วูลการิส (Proteus vulgaris) เช่น 

  • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) 
  • การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ 
  • ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) 
  • การติดเชื้อภายในช่องท้อง เช่นภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (peritonitis) 
  • ติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะที่ซับซ้อน 
  • โรคท้องร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea) 
  • โรคเวล (Weil’s disease)  

ยาคานามัยซินยังอาจใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นได้อีกด้วย โปรดสอบถามแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม 

วิธีการใช้ยาคานามัยซิน เมจิ (คานามัยซิน ซัลเฟต)

ละลายยาคานามัยซิน ซัลเฟตลงในน้ำสำหรับเตรียมยาฉีด ปริมาณของตัวทำละลายที่จะเพิ่มลงไปในขวดยา 0.5 กรัม (เบส) 1 กรัม (เบส) หรือ 2 กรัม (เบส) สารละลายนั้นมีความเสถียรมากพอที่จะเก็บรักษาฤทธิ์ไว้ที่อุณหภูมิห้อง แต่ควรจะใช้ยาทันทีหลังจากเตรียมยา 

มักจะใช้สารละลายขนาด 150 ถึง 400 มก. (เบส) ต่อมล.

การเก็บรักษายาคานามัยซิน เมจิ (คานามัยซิน ซัลเฟต)

ยาคานามัยซิน เมจิควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาคานามัยซิน เมจิบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง 

ไม่ควรทิ้งยาคานามัยซิน เมจิลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาคานามัยซิน เมจิ (คานามัยซิน ซัลเฟต)

ก่อนใช้ยานี้ มีข้อมูลสำคัญที่คุณควรรับทราบดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยที่ใช้ยานี้ ควรเฝ้าระวังสัญญาณของความเสียหายต่อเส้นประสาทเส้นที่แปด ควรจะหยุดใช้ยาทันที หากเกิดผลความเป็นพิษนี้ขึ้น หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ได้ ควรให้ยานี้ภายในการสังเกตการณ์อย่างระมัดระวัง ควรสังเกตการณ์ที่การทำงานของไต การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (audiogram) ก่อนและขณะที่ทำการรักษาในผู้ป่วยที่มีไตเสียหาย 
  • ผู้สุงอายุ ผู้ป่วยที่มีอาการหูอื้อ (tinnitus) หรืออาการบ้านหมุน (vertigo) และผู้ป่วยที่เคยมีอาการเป็นพิษต่อหูมาก่อน (ototoxic) ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีโอกาสในการเกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทเส้นที่แปด 
  • สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากโอกาสในการชักนำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทเส้นที่แปดในทารกแรกเกิด
  • ควรหยุดใช้ยานี้หากเกิดภาวะภูมิไวเกิน (hypersensitivity) ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิไวเกินต่อหนึ่งในยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (aminoglycoside) เช่น ฟราดิโอมัยซิน (Fradiomycin) สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) ไดไฮโดรสเตรปโตมัยซิน (dihydrostreptomycin) คานามัยซิน เจนตามัยซิน (Gentamycin) ควรหลีกเลี่ยงยานี้

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร 

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาคานามัยซิน เมจิจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท D โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาคานามัยซิน เมจิ (คานามัยซิน ซัลเฟต)

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยานี้มีดังต่อไปนี้ 

  • การใช้ยาคานามัยซินอาจทำให้ส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับฟัง (auditory portion) ของเส้นประสาทเส้นที่แปด (ส่วนใหญ่คือการทำงานของคอเคลีย (cochlear) เสียหาย) บกพร่องได้ โดยมีสัญญาณ เช่น หูอื้อ ไม่ค่อยได้ยินเสียง และอาการบ้านหมุน
  • เคยพบผลความเป็นพิษต่อไต (Nephrotoxic) ในผู้ป่วยบางราย หากมีสัญญาณของความเสียหายต่อไตเกิดขึ้น ควรหยุดใช้ยานั้น
  • อาจใช้ยานี้อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวชั่วคราว และอาการชาที่ริมฝีปาก ความเป็นพิษต่อไต ภาวะเม็ดเลือดขาวมาก (eosinophilia) ผดผื่น อาการคัน เป็นไข้ ภาวะพาเรสทีเชีย (paresthesia)  

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาคานามัยซิน เมจิอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • สารทดแทนเลือด (Blood substitute) อย่างเดกซทราน (dextran) และโซเดียม อัลจิเนต (sodium alginate) เนื่องจากอาจเพิ่มความรุนแรงของผลจากยาที่เป็นพิษต่อไตเหล่านี้ 
  • ยาระงับความรู้สึก (Anesthetics) หรือยาคลายกล้ามเนื้อ เนื่องจากยาเหล่านี้อาจทำให้เกิดการกดระบบทางเดินหายใจเนื่องจากการทำงานของคิวราเร (curare) 

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาคานามัยซิน เมจิอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น 

ยาคานามัยซิน เมจิอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาคานามัยซิน เมจิ (คานามัยซิน ซัลเฟต) สำหรับผู้ใหญ่ 

การติดเชื้อเฉียบพลัน  

1 ถึง 2 กรัม ต่อวัน (15 มก. – เบส) ต่อกก. ของน้ำหนักตัว ต่อวัน แบ่งฉีด 1 หรือ 2 ครั้ง  

วัณโรค (Tuberculosis)  

ขนาดยาที่แนะนำคือ 1 กรัมต่อวัน สัปดาห์ละ 3 ครั้ง หรือ 2 กรัมต่อวัน สัปดาห์ละ 2 ครั้ง  

โรคหนองใน (Gonorrhea) 

ขนาดยาที่แนะนำคือ 2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหนึ่งครั้ง 

ขนาดยาด้านบนนี้ควรปรับตามสภาวะของผู้ป่วยและโรค 

ขนาดยาคานามัยซิน เมจิ (คานามัยซิน ซัลเฟต) สำหรับเด็ก

การติดเชื้อเฉียบพลัน  

15 มก. (เบส) ต่อ กก. ของน้ำหนักตัว ต่อวัน แบ่งฉีด 1 หรือ 2 ครั้ง  

ขนาดยาด้านบนนี้ควรปรับตามสภาวะของผู้ป่วยและโรค

รูปแบบของยา 

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้ 

  • 5 กรัม (เบส) / ขวด
  • 1 กรัม (เบส) / ขวด 
  • 2 กรัม (เบส) / ขวด 

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด 

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Kanamycin Meiji. http://www.mims.com/indonesia/drug/info/kanamycin%20sulphate%20meiji. Accessed November 26, 2016

Kanamycin Sulphate. http://www.obatinfo.com/2015/12/kanamycin-sulfat-meiji.html. Accessed November 26, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: pimruethai


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดฟันมาก ใช้ ยาแก้ปวดฟัน แบบไหนดี

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา