backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

อีดีทีเอ (EDTA)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

อีดีทีเอใช้ทำอะไร

อีดีทีเอเป็นยาที่แพทย์ต้องเขียนใบสั่ง ใช้ฉีดเข้าทางเส้นเลือด หรือเข้ากล้ามเนื้อ

การออกฤทธิ์

อีดีทีเอฉีดเข้าเส้นเลือดเพื่อรักษาอาการดังนี้:

  • รักษาอาการและความเสียหายของสมองที่เกิดจากพิษของสารตะกั่ว
  • ประเมินการตอบสนองในการรักษาของผู้ป่วยที่ได้รับพิษของสารตะกั่ว
  • รักษาพิษจากสารกัมมันตรังสี เช่นพลูโตเนียม ทอเรียม ยูเรเนียม และสตรอนเทียม
  • กำจัดสารทองแดงในผู้ป่วยโรค Wilson
  • รักษาอาการผู้ป่วยที่มีแคลเซียมมากเกินไป

อีดีทีเอยังใช้รักษาหลอดเลือดรวมถึงภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเนื่องจากการได้รับสารเคมีที่เรียกว่า คาร์ดิแอค ไกลโคไซด์ (Cardiac Glycosides) หรือ อาการเส้นเลือดแดงแข็งตัว (Atherosclerosis) อาการเจ็บหน้าอก (Angina) ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูงและปัญหาการไหลเวียนโลหิต เช่นอาการอาการกะเผลกเหตุปวดประสาท โรคเรย์นอด (Raynaud)

นอกจากนี้ยังใช้การใช้หลอดเลือดดำอื่น ๆ

การรักษาโรคมะเร็ง โรคไขข้ออักเสบ โรคข้อเข่าเสื่อม สายตาเสื่อมสภาพ เบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ เส้นเลือดตีบ โรคพาร์คินสันและโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคสะเก็ดเงินโรคหลอดเลือดในสมองโรค

นอกจากนี้ อีดีทีเอยังใช้เป็นยารักษาอาการทางสมองที่เกิดจากพิษของสารตะกั่ว

อีดีทีเออาจใช้เป็นครีมรักษาอาการระคายเคืองผิวหนังที่เกิดจากโลหะเช่นโครเมียมนิกเกิลและทองแดง

ยาหยอดตาที่มี อีดีทีเอใช้เพื่อรักษาแคลเซียมในตา

การออกฤทธิ์

เนื่องจาก ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอีดีทีเอไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าอีดีทีเอเป็นสารเคมีที่มี แร่ธาตุต่างๆเช่นโครเมียมเหล็กตะกั่วปรอททองแดงอลูมิเนียมนิกเกิลสังกะสีแคลเซียมโคบอลต์แมงกานีสและแมกนีเซียมซึ่งเมื่ออยู่ร่วมกัน แร่ธาตุเหล่านี้ไม่มีผลกระทบต่อร่างกายและจะถูกร่างกายกำจัดออกไปในที่สุด

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้อีดีทีเอ

ปรึกษากับแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหาก:

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงยาที่คุณสามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในอีดีทีเอ ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือมีอาการที่แพทย์ระบุไว้
  • มีประวัติการแพ้อื่น ๆ เช่นแพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น มีความเข้มงวดน้อยกว่ายาชนิดอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าที่จะเสี่ยงใช้ ควรปรึกษาแพทย์ของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อีดีทีเอปลอดภัยหรือไม่

อีดีทีเอมีความปลอดภัยหากใช้ตามใบสั่งจากแพทย์ เช่น ยาหยอดตา และใช้ปริมาณเล็กน้อยเป็นสารกันบูดในอาหาร

แต่ไม่ปลอดภัยหากใช้ อีดีทีเอมากกว่า 3 กรัมต่อวันหรือใช้นานกว่า 5 ถึง 7 วัน

ข้อควรระวังและคำเตือน:

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: อีดีทีเอปลอดภัยหากใช้ในปริมาณไม่มากในอาหาร แต่ยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยหากใช้ปริมาณที่มากขึ้น

หอบหืด: เครื่องพ่นยาที่ใช้สาร อีดีทีเอเป็นสารกันบูด อาจหลอดลมตีบลงในบางคนที่เป็นโรคหอบหืด ยิ่งมีปริมาณมากเท่าใด หลอดลงจะยิ่งตีบแคบลงไปเท่านั้น

ปัญหาเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ: อีดีทีเออาจเพิ่มโอกาสเกิดหัวใจวายอย่างรุนแรง

โรคเบาหวาน: อีดีทีเออาจแทรกแซงการควบคุมน้ำตาลในเลือดเพราะอีดีทีเอทำปฏิกิริยากับอินซูลินได้

ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ): อีดีทีเอ สามารถลดระดับแคลเซียมในเลือดทำให้ภาวะน้ำตาลในเลือดเลวร้ายลง

โพแทสเซียมต่ำ (ภาวะไขมันในเลือดต่ำ): อีดีทีเอมีผลกับระดับโพแทสเซียมที่ปนเปื้อนในปัสสาวะ ระดับโพแทสเซียมในร่างกายที่ลดลงต่ำเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีปริมาณโพแทสเซียมเริ่มต้นต่ำ ไม่ควรใช้ อีดีทีเอ

ระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ (Hypomagnesemia): อีดีทีเอมีผลกับระดับแมกนีเซียมที่ปนเปื้อนในปัสสาวะ ระดับระดับแมกนีเซียมในร่างกายที่ต่ำเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีปริมาณโพแทสเซียมเริ่มต้นต่ำ ไม่ควรใช้อีดีทีเอ

ปัญหาเกี่ยวกับตับและโรคตับอักเสบ: อีดีทีเออาจทำให้ปัญหาเกี่ยวกับตับรุนแรงยิ่งขึ้น ควรลีกเลี่ยงการใช้อีดีทีเอ ถ้าคุณมีอาการของโรคตับ

ปัญหาเกี่ยวกับไต: อีดีทีเออาจเป็นอันตรายต่อไตและอาจทำให้ไตมีอาการรุนแรงยิ่งขึ้น ควรลดปริมาณอีดีทีเอในผู้ป่วยโรคไตลง หรือหลีกเลี่ยงการใช้ อีดีทีเอในกรณีคุณมีอาการของโรคไต

อาการชัก (โรคลมชัก):อีดีทีเออาจเพิ่มความเสี่ยงในผู้ที่เป็นโรคลมชัก เนื่องจาก อีดีทีเอ อาจทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดลงและอาจทำให้เกิดอาการชักได้

วัณโรค: วัณโรคคือโรคปอดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะ บางครั้งร่างกายยังคงเก็บกักเชื้อทำให้แบคทีเรียยังคงมีชีวิตอยู่ภายใต้ผนังของแผลเป็นแต่ไม่มีอาการของการติดเชื้อ และทำให้เกิดการติดเชื้อกับผู้อื่นได้ เนื้อเยื่อแผลเป็นนี้ประกอบด้วยแคลเซียมที่ส่งผลกับอีดีทีเอ อาจทำให้เกิดผนังที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อ ห้ามใช้อีดีทีเอในกรณีที่คุณเคยเป็นวัณโรค หรือกำลังเป็นอยู่

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากอีดีทีเอ

อีดีทีเออาจทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเสียคลื่นไส้อาเจียนท้องร่วงปวดศีรษะความดันโลหิตต่ำ ปัญหาผิว และอาการไข้ หากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดความเสียหายไต ทำให้ระดับแคลเซียมต่ำและเสียชีวิตได้

อาจมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

ปฏิกิริยาต่อยา

อีดีทีเออาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ร่วมอยู่หรือสภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมก่อนใช้ยา

อีดีทีเออาจมีปฏิกิริยากับยาดังนี้

  • อินซูลิน

อีดีทีเอสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นเดียวกับอินซูลิน การใช้อีดีทีเอร่วมกับอินซูลินอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมาก ควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างระมัดระวัง

  • วาร์ฟาริน (Warfarin) หรือคูมาดิน (Coumadin)

วาร์ฟาริน (Warfarin) หรือคูมาดิน (Coumadin) ใช้ชะลอการแข็งตัวของเกล็ดเลือด มีรายงานว่า อีดีทีเอทำให้ประสิทธิภาพของ วาร์ฟาริน (Warfarin) หรือคูมาดิน (Coumadin) ลดลงซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแข็งตัวของเลือด ข้อมูลเกี่ยวกับปฏิกิริยานี้ไม่ชัดเจน ควรตรวจเลือดเป็นประจำ

  • ยาขับปัสสาวะ

การใช้อีดีทีเอในปริมาณมากสามารถลดระดับโพแทสเซียมในร่างกายลง หากใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะยิ่งจะทำให้โพแทสเซียมในร่างกายลดลงมากเกินไปยาขับปัสสาวะ ที่ทำให้โพแทสเซียมลดลง ได้แก่ คลอโรธีอาไซด์ (Chlorothiazide) หรือดิอูริล (Diuril), คลอร์ธาลิโดน (Chlorthalidone), ฟูโรเซไมด์ (Furosemide) หรือเลซิกซ์ (Lasix), ไฮโดรคลอโรธิอาไซด์ (Hydrochlorothiazide) หรือเอชซีทีซี (HCTZ) ไฮโดรดิอูริล (HydroDiuril) หรือไมโครไซด์ (Microzide) และอื่น ๆ

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

ข้อมูลต่อไปนี้ได้จากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์:

  • ใช้กับผิว:
  • สำหรับอาการแคลเซียมเกาะบนกระจกตา: อีดีทีเอถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการดูแลรักษา
  • การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (Intravenous):
  • สำหรับพิษจากตะกั่วและระดับแคลเซียมในเลือดสูง: อีดีทีเอถูกฉีดเข้ากล้ามเนื้อผ่านการให้น้ำเกลือ
  • การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อลาย (Intramuscular):
  • สำหรับพิษจากตะกั่ว: อีดีทีเอฉีดเข้ากล้ามเนื้อลาย
  • ปริมาณการใช้อีดีทีเออาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณที่คุณใช้ขึ้นอยู่กับอายุสุขภาพและเงื่อนไขอื่น ๆ อาหารเสริมไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสมของคุณ

    อีดีทีเอมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

    อีดีทีเออาจมีอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

    • แคบซูล
    • แคปซูลและยาเม็ด 625mg
    • ยาน้ำอีดีทีเอ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา