backup og meta

เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน (N-Acetyl Glucosamine)

การใช้

เอ็นอะซิทิว กลูโคซามีน ใช้ทำอะไร?

เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน โดยทั่วไปใช้ในการบรรเทาอาการของ กลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (IBD), ในเด็กที่เป็นโรคโครห์นหรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล นอกจากนี้ เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน สามารถใช้สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม

 

เอ็นอะซิทิว กลูโคซามีน ทำงานอย่างไร?

ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของ เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน ไม่มากพอ ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่า

เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนเป็นสารเคมีที่มาจากเปลือกหอย สารเคมีนี้อาจเป็นประโยชน์ในการปกป้องเยื่อบุของกระเพาะอาหารและลำไส้

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้เอ็นอะซิทิว กลูโคซามีน?

ควรปรึกษากับแพทย์, เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารใดๆที่มีสารประกอบของเอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน ผสมยู่ หรือยาและสมุนไพรอื่นๆ
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนปลอดภัยแค่ไหน?

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะทราบว่าเอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนปลอดภัยหรือไม่

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ยังไม่เป็นที่แน่ชัดเกี่ยวกับการใช้เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรอยู่ในด้านความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

โรคหอบหืด: นักวิจัยยังไม่แน่ใจว่าทำไม แต่กลูโคซามีน อาจทำให้อาการหอบหืดแย่ลงในบางคน หากท่านเป็นโรคหอบหืด ควรใช้กลูโคซามีนด้วยความระมัดระวัง

โรคเบาหวาน: การวิจัยในช่วงต้นๆ ชี้ว่ากลูโคซามีนอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นในคนที่เป็นโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม มีการวิจัยที่เชื่อถือได้มากขึ้นแสดงให้เห็นว่า กลูโคซามีนดูเหมือนจะไม่ส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ตราบใดท่านตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ท่านอาจใช้กลูโคซามีนได้อย่างปลอดภัย

การผ่าตัด: เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและอาจแทรกแซงการควบคุมน้ำตาลในเลือดระหว่างและหลังการผ่าตัด หยุดใช้เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากเอ็นอะซิทิว กลูโคซามีน มีอะไรบ้าง?

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการใช้เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน อย่างไรก็ตามมีความกังวลว่ากลูโคซามีนอาจก่อให้เกิดอาการแพ้สำหรับผู้ที่แพ้สัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือก ซึ่งกลูโคซามีนผลิตจากหอย กุ้งและปู แต่ผู้ที่แพ้สัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือกจะเกิดจากการแพ้เนื้อด้านใน ไม่ใช่เปลือก ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับปฏิกิริยาการแพ้กลูโคซามีนในคนที่แพ้สัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือก ยังมีข้อมูลด้านบวกบางอย่างแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มีอาการแพ้สัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือกอาจใช้ผลิตภัณฑ์กลูโคซามีนได้อย่างปลอดภัย

มีความกังวลว่า กลูโคซามีน อาจเพิ่มปริมาณอินซูลินในร่างกาย หากมีอินซูลินมากเกินไป อาจทำให้ความดันโลหิตสูง, ระดับไขมันในเลือดสูง และอื่นๆ เรียกว่า ไตรกลีเซอไรด์ ในขณะที่การวิจัยในสัตว์ดูเหมือนว่าจะยืนยันว่า กลูโคซามีน สามารถเพิ่มระดับไขมันในเลือดได้ นักวิจัยยังไม่พบผลดังกล่าวในมนุษย์ ผลการวิจัยจนถึงปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า กลูโคซามีน ดูเหมือนจะไม่เพิ่มความดันโลหิตหรือเพิ่มระดับไขมันในเลือดสำหรับคนที่มีอายุมากกว่า 45 ปีที่ใช้เกลือซัลเฟต นานถึง 3 ปี

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากกังวลเรื่องผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับเอ็นอะซิทิว กลูโคซามีน

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดนี้อาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ควบคู่กันในปัจจุบันหรือความเจ็บป่วยของท่าน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ยาที่อาจโต้ตอบกับอาหารเสริมตัวนี้ ได้แก่

วาร์ฟาริน Warfarin (Coumadin)

วาร์ฟาริน ใช้ในการชะลอการแข็งตัวของเลือด มีหลายรายงานที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ กลูโคซามีน ที่มีหรือไม่มี คอนดรอยติน เพิ่มผลกระทบของวาร์ฟารินในการแข็งตัวของเลือด

จึงอาจทำให้เกิดช้ำและเลือดออกที่ร้ายแรง ห้ามใช้กลูโคซามีน หากท่านกำลังใช้วาร์ฟาริน

ยาสำหรับโรคมะเร็ง (เคมีบำบัด)

มีความกังวลว่าเอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน อาจลดประสิทธิภาพของยาสำหรับโรคมะเร็งบางชนิด แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นได้หรือไม่

ยาสำหรับโรคเบาหวาน ได้แก่ ไกลเมพิไรด์ (glimepiride), ไกลมูไรด์ (glyburide), อินซูลิน (Insulin), ไพโอกลิตาโซน (pioglitazone), โรสิกลิตาโซน (rosiglitazone) หรือ อะแวนเดีย (Avandia), คลอร์โพรพาไมด์ (chlorpropamide) หรือ ไดอะบีนีส (Diabinese), ไกลพิไซด์ (glipizide) หรือกลูโคทรอล (Glucotrol), โทลบูตาไมด์ (tolbutamide) หรือ ออริเนส (Orinase) และอื่น ๆ;

มีความกังวลว่า กลูโคซามีน อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นในคนที่เป็นเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีความกังวลว่า กลูโคซามีน อาจไปลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานทำงานได้ อย่างไรก็ตาม มีการวิจัยชี้ให้เห็นว่า กลูโคซามีน อาจไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นในคนที่เป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น กลูโคซามีน อาจไม่ไปแทรกเเซงการใช้ยาเบาหวาน หากต้องการใช้ ควรใช้เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนด้วยความระมัดระวัง และควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดของท่านอย่างใกล้ชิด

อะเซตามิโนเฟน/ ไทลีนอล (Acetaminophen /Tylenol /อื่น ๆ )

มีความกังวลว่าการรับประทาน กลูโคซามีน และ อะเซตามิโนเฟนพร้อมกัน อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละส่วน แต่จำเป็นต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อทราบว่าปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นได้หรือไม่

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับอาหารเสริมชนิดนี้ ได้แก่

โรคหอบหืด, โรคเบาหวานและการผ่าตัด

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ

ขนาดปกติของการใช้เอ็นอะซิทิว กลูโคซามีนอยู่ที่เท่าไร?

ขนาดการใช้เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขนาดการใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทราบขนาดที่เหมาะสม

เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง?

เอ็นอะซิทิว กลูโคซามีนอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

– เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนชนิดแคปซูล 250, 500, 750 มิลลิกรัม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัยหรือการรักษาแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

N-acetyl glucosamine. http://www.rxlist.com/n acetyl_glucosamine/supplements.htm. Accessed April, 06, 2017.

N-acetyl glucosamine. http://www.medicinenet.com/n-acetyl_glucosamine-page2/supplements-vitamins.htm. Accessed April, 06, 2017.

N-acetyl glucosamine. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-619-N-ACETYL+GLUCOSAMINE.aspx?activeIngredientId=619&activeIngredientName=N-ACETYL+GLUCOSAMINE&source=2. Accessed April, 06, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/02/2021

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา