backup og meta

แอมพิซิลลิน (Ampicillin)

แอมพิซิลลิน (Ampicillin) เป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin-type antibiotic) ยาแอมพิซิลลินทำงานโดยการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

[embed-health-tool-bmi]

ข้อบ่งใช้ แอมพิซิลลิน

แอมพิซิลลิน ใช้สำหรับ

ยานี้เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้เพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้นไม่สามารถใช้ได้กับการติดเชื้อไวรัส(เช่น โรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่) การใช้ยาปฏิชีวนะเกินขนาดโดยไม่จำเป็น อาจลดประสิทธิภาพของยาได้

วิธีการใช้ยา แอมพิซิลลิน

รับประทานยาแอมพิซิลลิน โดยปกติคือ 4 ครั้งต่อวัน (ทุกๆ 6 ชั่วโมง) หรือตามที่แพทย์สั่ง รับประทานยาแอมพิซิลลินขณะท้องว่าง (1 ก่อน หรือ 2 ชั่วโมงหลังมื้ออาหาร) พร้อมกับน้ำเต็มแก้ว ดื่มน้ำให้เพียงพอขณะรับประทานยานี้หรือทำตามแพทย์สั่ง

ขนาดยาขึ้นอยู่กับอาการ  และการตอบสนองต่อการรักษา

ยาปฏิชีวนะจะทำงานได้ดีที่สุดหากระดับของยาในร่างกายให้คงที่ ดังนั้นจึงควรเว้นช่วงเวลาในการให้ยานี้ให้เท่าๆ กัน

ใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด แม้ว่าอาการจะหายไปหลังจากเริ่มใช้ยาไม่กี่วัน การหยุดยาเร็วเกินไปจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเติบโตต่อไป และอาจทำให้การติดเชื้อกำเริบ

แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการไม่หายไปหรือแย่ลง

การเก็บรักษายา แอมพิซิลลิน

ยาแอมพิซิลลินควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาแอมพิซิลลินบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาแอมพิซิลลิน

ก่อนใช้ยาแอมพิซิลลิน

  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบหากแพ้ยาแอมพิซิลลิน ยาเพนิซิลลิน หรือยาอื่นๆ
  • แจ้งแพทย์และเภสัชกรเกี่ยวกับยาตามใบสั่งยาและยาที่หาซื้อได้เองที่กำลังใช้อยู่ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะตัวอื่น เช่น ยาอัลโลพูรินอล (allopurinol) อย่างโลพูริน (lopurin), ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (ยาเจือจางเลือด) เช่น ยาวาฟาริน (warfarin) อย่างคูมาดิน, (coumadin) ยาอะทีโนลอล (atenolol) อย่างเทนอร์มิน (tenormin), ยาเม็ดคุมกำเนิด (oral contraceptives), ยาโพรเบเนซิด (probenecid) อย่างเบเนมิด (benemid), ยาไรแฟมปิน (rifampin), ยาซัลฟาซาลาซีน (sulfasalazine) และวิตามิน
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากเป็นโรคไตหรือโรคตับ ภูมิแพ้ หอบหืด โรคเลือดลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis) มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะ หรือไข้ละอองฟาง (hay fever)
  • แจ้งแพทย์หากกำลังตั้งครรภ์ วางแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร หากตั้งครรภ์ขณะใช้ยานี้ ควรแจ้งแพทย์ในทันที
  • หากกำลังจะผ่าตัด รวมทั้งการผ่าตัดทำฟัน แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ว่ากำลังใช้ยาแอมพิซิลลิน

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาแอมพิซิลลินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่มีข้อมูลเพียงพอ

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาแอมพิซิลลิน

รับการรักษาในทันทีหากมีสัญญาณของอาการแพ้ที่รุนแรง ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

แจ้งแพทย์ในทันทีหหากมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น

  • เป็นไข้ เจ็บคอ และปวดหัว พร้อมทั้งมีแผลผุพอง ผิวลอก และผื่นผิวหนังสีแดงที่รุนแรง
  • ท้องร่วง อุจจาระไหลเป็นน้ำหรือมีเลือด
  • เป็นไข้ หนาวสั่น ปวดตัว มีอาการของไข้หวัดใหญ่
  • ช้ำหรือเลือดออกได้ง่าย อ่อนแรงผิดปกติ
  • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติหรือไม่มีเลย
  • กระสับกระส่าย สับสน มีความคิดหรือพฤติกรรมที่ไม่ปกติ
  • มีอาการชัก (อาการวูบ หรือ ชักกระตุก)

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกระเพาะ
  • คันที่อวัยวะเพศหรือมีตกขาว
  • ปวดหัว
  • ลิ้นบวม เป็นสีดำ หรือเป็นขน
  • เชื้อรา (Thrush) ที่เป็นรอยสีขาวๆ ด้านในปากหรือลำคอ

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้ามีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาหมอของ

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาแอมพิซิลลินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่กำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรว่ากำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ โดยเฉพาะหากกำลังใช้

  • ยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol) อย่างไซโลพริม (Zyloprim)
  • ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) อย่างรูเมเรกซ์ (Rheumatrex) หรือเทรซอล (Trexall)
  • ยาโพรเบเนซิด (Probenecid) อย่างเบเนมิด (Benemid)
  • ยาในกลุ่มซัลฟา เช่นแบคทริม (Bactrim) หรือเซปตรา (Septra)
  • ยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตราไซคลีน (tetracycline antibiotic) เช่น ยาเดเมโคลไซคลีน (demeclocycline) อย่างเดคโลไมซิน (Declomycin), ยาด็อกซีไซคลิน (doxycycline) อย่างอะดอกซ์ซา (Adoxa) หรือดอร์ริกซ์ (Doryx) หรือออเรชา (Oracea) หรือไวบราไมซิน (Vibramycin), ยามิโนไซคลีน (minocycline) อย่างไดนาซิน (Dynacin) หรือไมโนซิน (Minocin) หรือโซโลดิน (Solodyn) หรือเวคทริน (Vectrin) หรือยาเตตราไซคลีน (tetracycline) อย่างบรอดสเปค (Brodspec) หรือแพนไมซิน (Panmycin) หรือซูไมซิน (Sumycin) หรือเททราแคป (Tetracap)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาแอมพิซิลลินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาแอมพิซิลลิน อาจส่งผลให้อาการโรคแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคและอาการต่อไปนี้

  • โรคหอบหืด
  • โรคไต
  • มีเลือดออกหรือการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

โมโนนิวคลิโอสิส (Mononucleosis) หรือที่เรียกว่าโมโน (mono) โรคติดเชื้อในปาก

  • มีประวัติท้องร่วงเพราะใช้ยาปฏิชีวนะ
  • มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ใด ๆ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาแอมพิซิลลินสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย:

  • 250 ถึง 500 มก. รับประทานทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาเยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis):

  • ยาแอมพิซิลลิน 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 4 ชั่วโมงบวกกับยาเจนตามัยซิน (gentamicin) หรือยาสเตรปโตมัยซิน (streptomycin) (หากดื้อยาเจนตามัยซิน)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis):

  • 200 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำในขนาดที่เท่ากันทุก ๆ 4 ชั่วโมง ร่วมกับยาปฏิชีวนะอื่น ๆ
  • ฉีดเข้าช่องไขสันหลัง (Intrathecal) หรือฉีดเข้าช่องสมอง (intraventricular): 10 ถึง 50 มก./วัน เป็นยาเพิ่มเติมจากการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia):

  • ฉีดเข้าหลอดเลือด 150 ถึง 200 มก./กก./วัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียเยื่อบุหัวใจอักเสบ (Bacterial Endocarditis):

  • 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ ครั้งเดียว 30 ถึง 60 นาทีก่อนกระบวนการ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis):

  • 500 มก. รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อในช่องท้อง (Intraabdominal Infection):

  • 500 มก. รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออ่อน:

  • 250 ถึง 500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาคออักเสบ (Pharyngitis):

  • 250 ถึง 500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง หรือ 250 มก. รับประทานทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาไซนัสอักเสบ (Sinusitis):

  • 250 ถึง 500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 6 ชั่วโมง หรือ 250 มก. รับประทานทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (Upper Respiratory Tract Infection):

  • 250 ถึง 500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 6 ชั่วโมง หรือ 250 มก. รับประทานทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาปอดบวม (Pneumonia):

  • 250 ถึง 500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 6 ชั่วโมง หรือ 250 มก. รับประทานทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาหลอดลมอักเสบ (Bronchitis):

  • 250 ถึง 500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 6 ชั่วโมง หรือ 250 มก. รับประทานทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection):

  • 500 มก. รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษากรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis):

  • 500 มก. รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาท้องร่วงจากเชื้อชิเกลลา (Shigellosis):

  • 500 มก. รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาไข้ไทฟอยด์ (Typhoid Fever):

  • 500 มก. รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันโรคสเตรปโตคอคัลในทารกแรกเกิดกลุ่มบี (Perinatal Group B Streptococcal Disease):

  • 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือด ตามด้วย 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดทุก ๆ 4 ชั่วโมง จนกว่าจะคลอด

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันขณะผ่าตัด (Surgical Prophylaxis):การปลูกถ่ายตับ:

  • ยาแอมพิซิลลิน 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำร่วมกับยาเซโฟแทกซีม (Cefotaxime) 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นตัวเหนี่ยวนำยาระงับความรู้สึก หลังจากนั้นก็ให้ทุกๆ 6 ชั่วโมงขณะการผ่าตัด และ 48 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดขั้นสุดท้าย

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis):

  • ระดับเบา:500 ถึง 750 มก. รับประทานทุก ๆ 6 ชั่วโมง
  • ระดับปานกลางถึงรุนแรง: 0.5 ถึง 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media):

  • รับประทาน 500 มก. หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ 1- 2 กรัม ทุก 6 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับธรรมชาติและความรุนแรงของการติดเชื้อ

ขนาดยาแอมพิซิลลินสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย:

ทารกแรกเกิด:

  • อายุ 7 วันหรือน้อยกว่า น้ำหนัก 2000 กรัมหรือน้อยกว่า: 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุ 7 วันหรือน้อยกว่า น้ำหนัก 2000 กรัม: 50 มก./กก.. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 8 ถึง 28 วัน น้ำหนัก 2000 กรัมหรือน้อยกว่า: 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 8 ถึง 28 วัน น้ำหนักมากกว่า 2000 กรัม: 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง

อายุ 1 เดือนขึ้นไป:

การติดเชื้อในระดับเบาถึงปานกลาง:

  • ให้ยาทางหลอดเลือดดำ: 25 ถึง 37.5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง
  • รับประทาน: 12.5 ถึง 25 มก./กก. รับประทานทุก ๆ 6 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด: 4 กรัม/วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะโลหิตเป็นพิษ (Bacteremia):

ทารกแรกเกิด:

  • อายุ 7 วันหรือน้อยกว่า น้ำหนัก 2000 กรัมหรือน้อยกว่า: 100 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุ 7 วันหรือน้อยกว่า น้ำหนัก 2000 กรัม: 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 8 ชั่วโมง หรือ100 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุ 8 ถึง 28 วัน น้ำหนัก 2000 กรัมหรือน้อยกว่า: 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 8 ถึง 28 วัน น้ำหนักมากกว่า 2000 กรัม: 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia):

ทารกแรกเกิด:

  • อายุ 7 วันหรือน้อยกว่า น้ำหนัก 2000 กรัมหรือน้อยกว่า: 100 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุ 7 วันหรือน้อยกว่า น้ำหนัก 2000 กรัม: 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 8 ชั่วโมง หรือ100 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุ 8 ถึง 28 วัน น้ำหนัก 2000 กรัมหรือน้อยกว่า: 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 8 ถึง 28 วัน น้ำหนักมากกว่า 2000 กรัม: 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis):

  • เด็ก: 150 ถึง 200 มก./กก./ วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำในขนาดเท่ากันทุก ๆ 3 ถึง 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาเยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis):

  • ขนาดยาสูงสุด: 12 กรัม/วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียเยื่อบุหัวใจอักเสบ (Bacterial Endocarditis):

  • เด็ก: 50 มก./กก ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ หนึ่งครั้ง 30 ถึง 60 นาที ก่อนกระบวนการ

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (Upper Respiratory Tract Infection):

  • น้ำหนักน้อยกว่า 40 กก.: 25 ถึง 50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อในขนาดที่เท่ากันทุก ๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมง
  • น้ำหนัก 40 กก. ขึ้นไป: 500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง
  • น้ำหนัก 20 กก. หรือน้อยกว่า: 50 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานในขนาดที่เท่ากันทุก ๆ 6-8 ชั่วโมง
  • น้ำหนักมากกว่า 20 กก.: 250 มก. รับประทานทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาปอดบวม (Pneumonia):

ให้ยาทางหลอดเลือด (Parenteral) :

  • น้ำหนักน้อยกว่า 40 กก.: 25 ถึง 50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อในขนาดที่เท่ากันทุก ๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมง
  • น้ำหนัก 40 กก. ขึ้นไป: 250 ถึง 500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง
  • น้ำหนัก 20 กก. หรือน้อยกว่า: 50 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานในขนาดที่เท่ากันทุก ๆ 6-8 ชั่วโมง
  • น้ำหนักมากกว่า 20 กก.: 250 มก. รับประทานทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออ่อน:

  • น้ำหนักน้อยกว่า 40 กก.: 25 ถึง 50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อในขนาดที่เท่ากันทุก ๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมง
  • น้ำหนัก 40 กก. ขึ้นไป: 250 ถึง 500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection):

ให้ยาทางหลอดเลือด (Parenteral):

  • น้ำหนักน้อยกว่า 40 กก.: 50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อในขนาดที่เท่ากันทุก ๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมง
  • น้ำหนัก 40 กก. ขึ้นไป: 500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุก ๆ 6 ชั่วโมง
  • น้ำหนัก 20 กก. หรือน้อยกว่า: 25 มก./กก. รับประทานทุก ๆ 6 ชั่วโมง
  • น้ำหนักมากกว่า 20 กก.: 500 มก. รับประทานทุก ๆ 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อป้องกันขณะผ่าตัด (Surgical Prophylaxis):

การปลูกถ่ายตับ:

  • ยาแอมพิซิลลิน 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำร่วมกับยาเซโฟแทกซีม (Cefotaxime) 50 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นตัวเหนี่ยวนำยาระงับความรู้สึก หลังจากนั้นก็ให้ทุกๆ 6 ชั่วโมงขณะการผ่าตัด และ 48 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดขั้นสุดท้าย

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาผงสำหรับทำสารละลายเพื่อฉีด: 10 กรัมใน 100 มล.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

อาการของการใช้ยาเกินขนาดได้แก่ สับสน พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ผื่นผิวหนังที่รุนแรง ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ หรือมีอาการชัก อาการวูบ หรือ ชักกระตุก

กรณีลืมใช้ยา

หากลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ampicillin https://www.drugs.com/cdi/ampicillin.html. Accessed June 13, 2023.

Ampicillin Oral https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a685002.html. Accessed June 13, 2023.

Ampicillin TRIHYDRATE – Uses, Side Effects, and More. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-8613/ampicillin-oral/details. Accessed June 13, 2023. Accessed June 13, 2023.

 

 

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/06/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

โปรไบโอติกส์ แบคทีเรียชนิดดีที่จะช่วยทำให้ลำไส้ของเราสุขภาพแข็งแรง

แหล่งสะสม แบคทีเรีย ในบ้านที่เราอาจคาดไม่ถึง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 13/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา