backup og meta

โคลีน (Choline)

โคลีน (Choline)

การใช้ประโยชน์ โคลีน

โคลีนใช้ทำอะไร

โคลีน (Choline) ใช้สำหรับมีความคล้ายกับวิตามินบีโดยตับสามารถผลิตโคลีนออกมาได้ ใช้รักษาอาการต่างๆ ดังนี้

  • โรคตับ โดยเฉพาะโรคตับอักเสบอย่างรุนแรง และ โรคตับแข็ง
  • การซึมเศร้า
  • การสูญเสียความทรงจำ
  • โรคอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อม
  • โรคฮันติงตัน
  • โรคทูเร็ตต์
  • อาการเซที่เกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนน้อย
  • การชัก
  • โรคจิตเภท

โคลีนอาจมีคุณประโยชน์ในด้านอื่นๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของท่าน

การทำงานของ โคลีน เป็นอย่างไร

เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับโคลีนไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์  อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันว่าโคลีนนั้นคล้ายกับวิตามินบี โคลีนสามารถทำปฏิกิริยาทางเคมีกับร่างกาย โคลีนสำคัญต่อระบบประสาท ในคนที่เป็นโรคหอบหืด ก็จะช่วยลดอาการบวมหรืออักเสบได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้โคลีน

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในโคลีน ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับโคลีนนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่นๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

โคลีนมีความปลอดภัยแค่ไหน

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: 

โคลีนค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานและใช้อย่างเหมาะสม ปริมาณการใช้ 3 กรัมต่อวันสำหรับคนที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรที่อายุ 18 ปีลงมา และ 3.5 กรัมต่อวันสำหรับผู้หญิงอายุ 19 ปีขึ้นไป จะไม่มีผลข้างเคียง ไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ปริมาณโคลีนที่มากกว่านี้ในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ดีที่สุดคือให้ยึดปริมาณการใช้ตามที่แนะนำไว้ข้างต้น

ผลข้างเคียง:

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้โคลีนมีอะไรบ้าง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการโคลีน ได้แก่:

  • มีเหงื่อง่าย
  • มีกลิ่นตัว
  • ระบบทางเดินอาหารทำงานน้อยลง
  • ท้องเสีย
  • อาเจียน
  • มะเร็งในลำไส้

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง อาจจะมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาต่อยา

**โคลีนอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบันของท่าน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

ปริมาณการใช้ต่อไปนี้ได้มีการศึกษาจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์:

การรับประทาน:

สำหรับคนเป็นโรคหอบหืด : 500-1000 มก. 3 ครั้งต่อวัน โดยเฉลี่ยจะรับประทานโคลีน 200-600 มก.ต่อวัน โดยรับประทานที่เพียงพอตามเกณฑ์ของสถาบันการแพทย์แห่งชาติ สหรัฐอเมริก IOM

  • สำหรับผู้ใหญ่คือ 550 มก. ต่อวัน
  • สำหรับผู้ชายและหญิงที่ให้นมบุตร, ส่วนผู้หญิง 425 มก. ต่อวัน
  • หญิงตั้งครรภ์ 450 มก.ต่อวัน สำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี โดยการรับประทานคือ 200 มก.ต่อวัน
  • เด็กอายุ 4-8 ปี 250 มก.ต่อวัน, เด็กอายุ 9-13 ปี 375 มก.ต่อวัน
  • สำหรับทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน 125 มก.ต่อวัน ทารกอายุ 7-12 เดือน 150 มก.ต่อวัน

ขนาดการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขนาดการใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ  ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดที่เหมาะสม

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

โคลีนอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • แคปซูล

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Choline http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-436-choline.aspx?activeingredientid=436& Accessed August 2, 2017

Choline https://examine.com/supplements/choline/ Accessed August 2, 2017

Choline https://www.healthline.com/nutrition/what-is-choline . Accessed August 2, 2017

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/08/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณของโรคซึมเศร้า ที่บอกว่าคุณควรต้องรับความช่วยเหลือได้แล้ว

ไวรัสตับอักเสบ (Viral Hepatitis)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 18/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา