backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โพแทสเซียมคลอไรด์ (Potassium chloride)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 09/11/2022

โพแทสเซียมคลอไรด์ (Potassium chloride) ใช้สำหรับรักษาหรือป้องกันภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) อาการบางอย่างสามารถลดระดับโพแทสเซียมในร่างกาย

สรรพคุณ โพแทสเซียมคลอไรด์

โพแทสเซียมคลอไรด์ (Potassium chloride) ใช้สำหรับ

โพแทสเซียมคลอไรด์ (Potassium chloride) ใช้สำหรับรักษาหรือป้องกันภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) อาการบางอย่างสามารถลดระดับโพแทสเซียมในร่างกายของคุณ เช่น ท้องร่วงและอาเจียนรุนแรงเป็นเวลานาน ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน (เช่น ภาวะ Hyperaldosteronism) หรือการรับประทานยาขับปัสสาวะ

การใช้ยา

สำหรับรูปแบบยารับประทาน คุณควร:

  • ใช้ขนาดยา โพแทสเซียมคลอไรด์ตามคำแนะนำของแพทย์ ศึกษาข้อมูลบนฉลากอย่างละเอียดก่อนช้โพแทสเซียมคลอไรด์และควรปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับข้อมูลใด ๆ ที่คุณไม่เข้าใจอย่างชัดเจน

สำหรับรูปแบบยาฉีด คุณควร:

  • รับการฉีดโพแทสเซียมคลอไรด์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลและใช้ขนาดยาที่แพทย์ของคุณกำหนด ศึกษาข้อมูลบนฉลากอย่างละเอียดก่อนช้โพแทสเซียมคลอไรด์และควรปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับข้อมูลใด ๆ ที่คุณไม่เข้าใจอย่างชัดเจน

วิธีเก็บรักษา

ควรเก็บโพแทสเซียมคลอไรด์ไว้ในอุณหภูมิห้อง โดยห่างจากแสงและความชื้นโดยตรง ไม่ควรเก็บในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง อาจมียาชนิดเดียวกันนี้ที่มียี่ห้อต่างกัน ที่ต้องการจัดเก็บแตกต่างกัน หรือสอบถามจากเภสัชกรของคุณ เพื่อความปลอดภัย ควรเก็บยาไว้ให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรล้างโพแทสเซียมคลอไรด์ลงบนพื้นห้องน้ำหรือเทลงในท่อระบายน้ำ และทิ้งผลิตภัณฑ์นี้เมื่อหมดอายุหรือไม่จำเป็นอีกต่อไป ปรึกษาเภสัชกรของคุณสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทิ้งผลิตภัณฑ์คุณอย่างปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ก่อนใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์ของคุณหาก:

  • มีปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อสารเพิ่มขนาดยาที่มีโพแทสเซียมคลอไรด์
  • มีปฏิกิริยาแพ้กับยาอื่น ๆ สีย้อมอาหาร สารกันบูด หรือสัตว์ต่างๆ
  • คุณมีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติ ทางพยาธิสภาพตามที่แพทย์ระบุไว้มีความเสี่ยงต่อโพแทสเซียมคลอไรด์

ความปลอดภัยในการใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์หรือขณะให้นมบุตร

ไม่มีข้อมูลทางการศึกษาที่เพียงพอสำหรับกำหนดความเสี่ยงในการใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ระหว่างตั้งครรภ์หรือขณะให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณเพื่อประเมินผลประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะใช้ยาซึ่งจัดอยู่ในหมวดหมู่ความเสี่ยงการตั้งครรภ์ C ตามที่องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) อ้างอิงหมวดหมู่ความเสี่ยงการตั้งครรภ์ FDA ดังนี้:

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่มีความเสี่ยงในการศึกษาบางส่วน
  • C = อาจมีความเสี่ยง
  • D = หลักฐานความเสี่ยงที่เป็นบวก
  • X = ห้าม
  • N = Unknown

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงบางอย่างอาจเกิดขึ้นเมื่อใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ซึ่งเป็นส่วนน้อย และไม่จำเป็นต้องมีการรักษาเสริม อย่างไรก็ตาม คุณควรปรึกษาแพทย์หากคุณมีปัญหาหลังจากใช้ยานี้ เช่น

  • ความสับสน
  • ความวิตกกังวล
  • หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
  • กระหายน้ำมาก
  • ปัสสาวะเพิ่มขึ้น
  • ขาไม่มีแรง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแอหรือรู้สึกอ่อนเพลีย
  • อาการชาหรือแสบที่มือหรือเท้า หรือรอบ ๆ ปากของคุณ
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • ท้องเสีย
  • อาเจียน
  • อุจจาระดำ หรืออุจจาระปนเปื้อนเลือด
  • ไอเป็นเลือด
  • คลื่นไส้ หรือท้องเสีย
  • ท้องเสียเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว

อาจมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ หรืออาจมีอาการของผลข้างเคียงลักษณะอื่นๆเกิดขึ้นได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

ปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยา

โพแทสเซียมคลอไรด์อาจมีปฏิกิริยากับยาอื่น ๆ ที่คุณกำลังใช้อยู่ โดยอาจเปลี่ยนแปลงประสิทธิผลของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการมีปฏิกิริยาดังกล่าว ควรรวบรวมรายชื่อยาทั้งหมดที่ใช้อยู่ (รวมถึงยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ยาที่ไม่ระบุชื่อยาสมุนไพร) และแจ้งแพทย์และเภสัชกรของคุณ เพื่อความปลอดภัยของคุณอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ ผลิตภัณฑ์อาจมีผลกระทบกับยาตัวนี้ ได้แก่ :

  • ยาขับปัสสาวะ (spironolactone triamterene หรือ amiloride)
  • ตัวยับยั้งเอ็นไซม์เอนไซม์ Angiotensin (captopril enalapril)
  • Eplerenone (inspra)
  • Digoxin (digitalis lanoxin)
  • Quinidine (quinaglute quinidex quin-release)
  • ยาขยายหลอดลมเช่น ipratroprium (atrovent) หรือ tiotropium (spiriva)

 

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

โพแทสเซียมคลอไรด์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ โดยการเปลี่ยนแปลงประสิทธิผลของยา หรือเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่รุนแรงยิ่งขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับปฏิกิริยากับกับอาหารหรือแอลกอฮอล์ที่เป็นไปได้ก่อนใช้ยานี้

 

ปฏิกิริยาของยากับพยาธิสภาพปัจจุบัน

โพแทสเซียมคลอไรด์อาจมีปฏิกิริยากับพยาธิสภาพของคุณ ในปัจจุบัน โดยอาจทำให้อาการทรุดลง หรือทำให้ประสิทธิผลของยาเปลี่ยนแปลง  ควรรายงานให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับพยาธิสภาพปัจจุบันของคุณอยู่เสมอ เช่น

  • โรคไต
  • โรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง
  • กระเพาะอาหารหรือลำไส้อุดตัน
  • อาการท้องร่วงเรื้อรัง (เช่นลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผล โรคลำไส้อักเสบ)

ปริมาณการใช้ยา

ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณก่อนที่จะใช้โพแทสเซียมคลอไรด์

ปริมาณยาโพแทสเซียมคลอไรด์สำหรับผู้ใหญ่

ปรึกษากับแพทย์ของคุณเกี่ยวกับขนาดยาโพแทสเซียมคลอไรด์

ขนาดยาที่แนะนำในบางกรณีมีดังต่อไปนี้:

ขนาดยาปกติสำหรับภาวะที่มีโพแทสเซียมในเลือดต่ำคือ 40 ถึง 100 mEq วันละครั้ง ในขนาดยาที่เท่า ๆ กันทั้งยาเม็ด หรือแคปซูลที่มีการปล่อยฤทธิ์ยาปกติ หรือชนิดเสริม ยาชนิดเม็ดแตกตัวในช่องปาก ชนิดละลายน้ำหรือผง ใช้ละลายกับน้ำหรือน้ำผลไม้ที่เหมาะสม

ขนาดยาที่ใช้ในการป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำคือ10 ถึง 20 mEq โดยรับประทานวันละครั้ง ในขนาดยาที่เท่า ๆ กันทั้งยาเม็ด หรือแคปซูลที่มีการปล่อยฤทธิ์ยาปกติ หรือชนิดเสริม ยาชนิดเม็ดแตกตัวในช่องปาก ชนิดละลายน้ำหรือผง ใช้ละลายกับน้ำหรือน้ำผลไม้ที่เหมาะสม

ปริมาณยาโพแทสเซียมคลอไรด์สำหรับเด็ก

ปรึกษากับแพทย์ของคุณเกี่ยวกับขนาดยาโพแทสเซียมคลอไรด์ ขนาดยาที่แนะนำในบางกรณีมีดังต่อไปนี้:

  • ขนาดยาปกติสำหรับภาวะมีโพแทสเซียมในเลือดต่ำ คือ 2 ถึง 5 mEq / กก. / ต่อวัน ในขนาดยาที่แบ่ง ไม่เกิน 1 ถึง 2 mEq / กก. ในขนาดเดียว แต่อาการรุนแรงหรือต่อเนื่อง ควรพิจารณาขนาดยาที่เหมาะสม แต่ขนาดยารับประทานปกติสำหรับทารกคือ 2 ถึง 6 mEq / กก. / ต่อวัน และ 2 ถึง 3 meq / กก. / ต่อวัน สำหรับเด็ก

รูปแบบของยาโพแทสเซียมคลอไรด์

  • โพแทสเซียมคลอไรด์ชนิดรับประทาน

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

ในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรติดต่อบริการฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุดในพื้นที่ของคุณ

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยา ควรรีบรับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ เว้นแต่เวลานั้นมีความใกล้เคียงกับเวลาในการใช้ยามื้อถัดไปของคุณ ให้ข้ามขนาดยาที่ลืมไปและใช้ขนาดยาปกติตามที่กำหนดไว้ ห้ามเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 09/11/2022

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา