backup og meta

ไทโรซีน (Tyrosine)

สรรพคุณไทโรซีน

ไทโรซีนเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของโปรตีน ไทโรซีนอยู่ในอาหารเสริมโปรตีนใช้รักษาความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยสลายกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีนหรือโรคฟีนิลคีโตนูเรีย  (Phenylketonuria : PKU) คนที่มีปัญหานี้ไม่สามารถใช้กรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) ได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นจึงไม่สามารถสร้างไทโรซีนเองได้

ไทโรซีนใช้รักษาภาวะซึมเศร้า โรคขาดดุลความสนใจ (ADD) โรคสมาธิสั้น (ADHD) โรคลมหลับ (Narcolepsy) นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับรักษาอาการเครียด อาการก่อนเป็นประจำเดือน (PMS) โรคพาร์คินสัน โรคอัลไซเมอร์ อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (CFS) การดื่มแอลกอฮอล์และเสพโคเคน โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ความผิดปกติของอวัยวะเพศ (ED) การสูญเสียความสนใจในเพศ โรคจิตเภท และเป็นสารกันแดดและยาระงับอาการอยากอาหาร บางกรณี มีการใช้ไทโรซีนกับผิวเพื่อลดริ้วรอย

การออกฤทธิ์

งานวิจัยเกี่ยวกับไทโรซีนยังมีไม่แพร่หลาย ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่าร่างกายใช้ไทโรซีนเพื่อสร้างสารเคมีที่มีเกี่ยวกับสมองเพื่อช่วยในการตื่นตัว

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ไทโรซีน:

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในไทโรซีน ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไทโรซีนนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ไทโรซีนปลอดภัยหรือไม่

ไทโรซีนค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานในขนาดอาหาร และใช้กับผู้ใหญ่ระยะสั้น ในขนาดยา 150 มก. / กก. ต่อวัน นาน 3 เดือน

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะทราบได้ว่าไทโรซีนนั้นปลอดภัยสำหรับเด็กหรือไม่ ห้ามใช้ยากับเด็ก โดยไม่ได้รับการแนะนำจากผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ จนกว่าจะทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ข้อมูลเกี่ยวกับไทโรซีนว่ามีความปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรหรือไม่ยังมีไม่มากพอ ควรหลีกเลี่ยงการใช้เพื่อความปลอดภัย 

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) หรือโรคคอพอกตาโปน: ร่างกายใช้ไทโรซีนเพื่อสร้างไธรอกซีน (Thyroxine) เพื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์และฮอร์โมนต่ำ มีการใช้ไทโรซีนเพิ่มระดับไธรอกซีน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) หรือโรคคอพอกตาโปนรุนแรงขึ้น และไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากไธรอกซีน

ผลข้างเคียง

ไทโรซีนอาจทำให้ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย กรดไหลย้อน และปวดข้อ ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณ

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ไทโรซีนอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือการรักษาทางการแพทย์ปัจจุบันของคุณ ปรึกษากับแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับต่อไทโรซีน:

  • เลโวโดพา (Levodopa)

ไทโรซีนอาจลดการดูดซึมเลโวโดพาของร่างกาย จึงอาจลดประสิทธิภาพของเลโวโดพา ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ไทโรซีนและเลโวโดพาควบคู่กัน

  • ฮอร์โมนไทรอยด์

ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ตามธรรมชาติ แต่ไทโรซีนอาจเพิ่มไทรอยด์ฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้น และการใช้ไทโรซีนกับฮอร์โมนไทรอยด์อาจทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์มีมากเกินไป และมีผลข้างเคียงตามมา

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ

ขนาดยาปกติของไทโรซีนอยู่ที่เท่าไร

ขนาดยาต่อไปนี้ได้รับการศึกษาในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์:

รับประทาน:

เพื่อเพิ่มความตื่นตัวหลังจากนอนไม่หลับเป็นเวลานาน: ไทโรซีน 150 มล. / กก. / ต่อวัน

สำหรับภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยสลายกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีนหรือโรคฟีนิลคีโตนูเรีย  (Phenylketonuria : PKU) : ผสมไทโรซีน 6 กรัมต่อ โปรตีน100 กรัม อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้เสริมด้วยไทเทเนียมฟรี เพราะอาจมีผลต่อขนาดยาไทโรซีนในเลือด และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้

ขนาดไทโรซีนอาจแตกต่างกันสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ขนาดยาที่คุณใช้ขึ้นอยู่กับอายุสุขภาพและเงื่อนไขอื่น ๆ อาหารเสริม ไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสมของคุณ

ไทโรซีนมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

ไทโรซีนอาจมีอยู่ในรูปแบบยาต่อไปนี้:

  • แคปซูล 500 มก
  • ผงเอ็น-อะซิตีล แอล-ไทโรซีน (N-Acetyl L-Tyrosine)

*** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาแต่อย่างใด ***

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tyrosine http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1037-tyrosine.aspx?activeingredientid=1037& Accessed August 9, 2017

L-Tyrosine https://examine.com/supplements/l-tyrosine/ Accessed August 9, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/12/2017

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดฟันมาก ใช้ ยาแก้ปวดฟัน แบบไหนดี

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา