backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไลซีน (Lysine)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

สรรพคุณของไลซีน

ไลซีนเป็นกรดอะมิโนที่โปรตีนสร้างขึ้น เราใช้มันเพื่อทำยาป้องกันและรักษาแผล (เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า เฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus)) โดยการรับประทานหรือทาลงบนผิวโดยตรง นอกจากนี้ไลซีน ยังถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการเล่นกีฬา ไลซีนอาจได้รับการกำหนดไว้สำหรับการใช้งานอื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

กลไกการออกฤทธิ์

ต้านไวรัส:

ไลซีนต่อต้านการทำงานของกรดอะมิโนที่ชื่อว่า อาร์จินีน (Arginine) ทั้งนี้ จึงทำให้ไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ เกิดการแบ่งตัวมากขึ้น งานวิจัยยังพบอีกว่า ไลซีนในช่องปากมีประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ และพบว่าการใช้ไลซีนไม่สามารถลดการแพร่กระจายของโรคเริมช่วงเริ่มต้นได้ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่า ไลซีนไม่ได้ช่วยรักษาแผล แต่อาจช่วยลดอาการซ้ำหรือบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้

ป้องกันการสูญเสียกระดูกที่เกี่ยวข้องกับโรคกระดูกพรุน:

ไลซีนช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมที่ลดลงจากการปัสสาวะ นอกจากนี้ งานวิจัยบางชิ้นยังพบว่าไลซีนกับ กรดอะมิโนแอล-อะจินีน (L-arginine) ทำให้เซลล์กระดูกแข็งแรงและช่วยเพิ่มการผลิตคอลลาเจน

การฟื้นฟูเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ:

งานวิจัยบางชิ้นพบว่า ไลซีนช่วยให้เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อฟื้นตัวหลังจากความเครียด ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ไลซีน

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในไลซีน ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไลซีนนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ไลซีนปลอดภัยหรือไม่

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทานไลซีน หากกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้เพื่อความปลอดภัย

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ไลซีน:

ไลซีนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเช่น:

  • ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร (เช่น อาการท้องร่วง คลื่นไส้ และปวดท้อง)
  • ความผิดปกติของไต
  • การบาดเจ็บในท่อไตส่วนต้น กลุ่มอาการแฟนโคนี (Fanconi Syndrome) และไตอักเสบบริเวณอินเตอร์สติเทียมของท่อไต (Tubulointerstitial nephritis) ที่เกี่ยวข้องกับการได้รับไลซีนในช่วง 5 ปี

ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณ

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ไลซีนอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือการรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ปรึกษากับแพทย์รักษาสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

อาร์จินีน: การได้รับอาร์จินีนและไลซินพร้อมกัน ทำให้ระดับอาร์จินีนที่สูง อาจลดระดับไลซีนในร่างกายได้

  • กลุ่มยาปฏิชีวนะอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside) (เช่น จินทามิซิน (Gentamicin), นีโอมายซิน (Neomycin), สเตรปโตมายซิน (Streptomycin), ฯลฯ): เมื่อใช้ร่วมกับไลซีนอาจเสี่ยงสูงต่อการเป็นพิษต่อไต
  • ขนาดยา

    ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ก่อนใช้

    ขนาดการใช้ไลซีนอยู่ที่เท่าไร

    เด็ก:

    • ปรึกษากุมารแพทย์เพื่อทราบขนาดยาที่เหมาะสม ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการปรับขนาดยาตามน้ำหนักตัว
    • การฉีดวัคซีนไลซีน 1 ถึง 3 กรัมต่อวัน เพื่อป้องกันหรือรักษาโรคติดเชื้อเริม ใช้ยาเพิ่มขึ้นในกรณีที่มีการแพร่กระจายของการติดเชื้อ

    ผู้ใหญ่:

    การให้ยาขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ปรึกษาแพทย์เพื่อทราบขนาดยาที่เหมาะสม

    ขนาดปกติของการใช้ไลซีนอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและการใช้ยาอื่น ๆ อาหารเสริมสมุนไพรไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดยาที่เหมาะสม

    ไลซีนมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

    ไลซีนอาจมีอยู่ในรูปแบบยาต่อไปนี้:

    • เม็ด
    • แคปซูล
    • ครีม
    • น้ำ

    *** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาแต่อย่างใด ***

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา