สรรพคุณของไลโคปีน
ไลโคปีนพบได้ในผลไม้หลายชนิด เช่น แตงโม เกรปฟรุตสีชมพู แอปริคอต และฝรั่งสีชมพู โดยเฉพาะมะเขือเทศและผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ ซึ่งมีไลโคปีนจำนวนมาก
ไลโคปีนใช้เพื่อดูแลป้องกันภาวะสุขภาพบางอย่าง เช่น:
- โรคหัวใจ
- เส้นเลือดแข็งตัว
- มะเร็งต่อมลูกหมาก
- โรคมะเร็งเต้านม
- โรคมะเร็งปอด
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- มะเร็งรังไข่
- มะเร็งลำไส้ใหญ่
- มะเร็งตับอ่อน
- ต้อกระจก
- โรคหอบหืด
ไลโคปีนใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสปาปิโลมา (Papilloma) หรือเอชพีวี (HPV) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งมดลูก อาจมีการนำไลโคปีนไปใช้งานอื่นๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้
กลไกการออกฤทธิ์
ไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหาย ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีความสนใจวิจัยคุณสมบัติไลโคปีนในการป้องกันโรคมะเร็ง ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อควรระวังและคำเตือน
สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ไลโคปีน:
ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:
- ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
- มีอาการแพ้สารไลโคปีน ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
- มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
- มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ
ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไลโคปีนนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
ไลโคปีนปลอดภัยหรือไม่
เด็ก:
ไม่มีมีการรับรองความปลอดภัยหรือประสิทธิภาพในการใช้ไลโคปีนกับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:
ไลโคปีนอาจปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรหากรับประทานในขนาดยาที่พบได้ทั่วไปในอาหาร
อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาเกี่ยวกับไลโคปีนพบว่า เมื่อรับประทานไลโคปีนเป็นประจำ วันละ 2 มิลลิกรัม ระหว่างช่วงสัปดาห์ที่ 12 ถึง 20 ของการตั้งครรภ์ และต่อเนื่องจนถึงการคลอด จะทำให้อัตราการคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้นและทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย
เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารเสริมไลโคปีนในระหว่างเลี้ยงลูกด้วยนมมีไม่เพียงพอ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ไลโคปีนในขนาดที่มากกว่าอาหาร
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ไลโคปีน
- โรคอะนอเร็กเซีย (Anorexia) หรือโรคคลั่งผอม
- ปวดทรวงอก
- ท้องเสีย
- ไขมันสะสมใต้ผิวหนัง
- แน่นในกระเพาะอาหาร
- ท้องอืด
- หัวใจวาย
- ไม่ย่อย
- คลื่นไส้
- สีผิวเปลี่ยน
- อาการปวดท้อง
- แผลระคายเคืองในกระเพาะอาหาร
- อาเจียน
- ร้อนวูบวาบ
ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณ
ปฏิกิริยาระหว่างยา
ไลโคปีนอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือสภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ปรึกษากับแพทย์รักษาสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้
ยาหรือภาวะสุขภาพเหล่านี้ ได้แก่:
- เบต้าแคโรทีน
การรับประทานเบต้าแคโรทีนและไลโคปีนอาจเพิ่มขนาดยาไลโคปีนที่เข้าสู่ร่างกาย
- โอเลสตร้า (Olestra)
การรับประทาน olestra อาจลดขนาดยาไลโคปีนที่ร่างกายดูดซึม
- เอสโตรเจน, สารคล้ายเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนอื่น ๆ
ไลโคปีนอาจมีปฏิกิริยากับไอโซฟลาโวน (Isoflavones) คือ สารสกัดจากถั่วเหลืองมีฤทธิ์และโครงสร้างคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน
มะเร็งต่อมลูกหมาก:
การศึกษาบางชิ้น พบว่า ไลโคปีนอาจเพิ่มการแพร่กระจายของมะเร็งได้ ควรหลีกเลี่ยงไลโคปีน ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
ความดันโลหิตต่ำ:
ไลโคปีนอาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ
ภาวะเลือดออกผิดปกติ:
ไลโคปีนอาจมีความเสี่ยงสูงต่อการตกเลือด
ขนาดยา
ข้อมูลที่ได้รับไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ของคุณก่อนที่จะใช้ยานี้
ขนาดปกติสำหรับ ไลโคปีน คือเท่าใด
ใช้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ:
การรับประทานไลโคปีน 6.5, 15 และ 30 มิลลิกรัม ต่อวัน เป็นเวลา8 สัปดาห์
รับประทานไลโคปีนซูล 15 มิลลิกรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์และ 26 วัน หรือวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 4 เดือน หรือสองแคปซูลๆ ละ15 มิลลิกรัมวันละครั้งเป็นเวลา 21 วัน
สำหรับโรคหืดที่เกิดจากการออกกำลังกาย:
- รับประทานไลโคปีนแคปซูล 30 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์
สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ:
- รับประทานไลโคปีนแคปซูล 39.2-80 มิลลิกรัมทุกวัน เป็นเวลา 1-12 สัปดาห์
สำหรับต่อมลูกหมากโต:
- รับประทานไลโคปีน15 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลาหกเดือน
สำหรับเนื้องอกในสมอง:
- รับประทานไลโคปีน 8mg ทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน
สำหรับโรคหัวใจ:
- รับประทานไลโคปีนแคปซูล 39.2-80mg ต่อวันเป็นเวลา 1-12 สัปดาห์
สำหรับโรคเหงือก:
- รับประทานไลโคปีน 8mg ทุกวัน เป็นเวลาสองสัปดาห์
สำหรับความดันโลหิตสูง:
- รับประทานไลโคปีน 4-44mg ต่อวันนาน 6 เดือน
สำหรับภาวะมีบุตรยาก:
- รับประทานไลโคปีน 2,000 lg วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3 เดือน
สำหรับการลดไขมัน:
- รับประทานไลโคปีน 4-44mg ต่อวันนานถึง 6 เดือน
สำหรับแผลในปาก:
- รับประทานไลโคปีน 4-8mg ทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน แบ่งขนาดยาเป็น สองครั้ง
สำหรับการอักเสบของปาก:
- รับประทานไลโคปีน 16mg ทุกวันแบ่งขนาดยาเป็น สองครั้ง นานสองเดือน
สำหรับมะเร็งรังไข่:
- รับประทานไลโคปีน จำนวน 4,000 mg ต่อวัน
สำหรับความดันโลหิตสูงที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์:
- รับประทานไลโคปีน แคปซูล 2 ครั้งต่อวันจนกว่าจะคลอด
สำหรับการป้องกันหรือรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก:
- รับประทานไลโคปีน 2mg วันละสองครั้งและ รับประทานไลโคปีน 4mg วันละสองครั้งเป็นเวลาหนึ่งปี
เพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด:
- รับประทานไลโคปีนในน้ำมันมะกอก 55 กรัม (ให้มีไลโคปีน16 มิลลิกรัม) ทุกวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์
ขนาดปกติของการใช้ไลโคปีนอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและการใช้ยาอื่น ๆ อาหารเสริมสมุนไพรไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดยาที่เหมาะสม
ไลโคปีนมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง
ไลโคปีน อาจมีอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:
- ไลโปเลต หรือโซฟทุเลส (Softules)
- ไลโคปีนแคปซูล
*** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาแต่อย่างใด ***
[embed-health-tool-bmi]