backup og meta

ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)

ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)

ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)เป็นโรคที่อาจทำให้สมอง ไขสันหลัง และระบบประสาทส่วนกลางปิด นอกจากนั้นยังสามารถทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารระหว่างสมองและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้อีกด้วย ดังนั้น ลองมาทำความรู้จักกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งให้มากขึ้น กับบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันได้เลย

คำจำกัดความ

ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) คืออะไร

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคเอ็มเอส (MS) เป็นโรคที่ส่งผลต่อสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทในดวงตา ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น การทรงตัว การควบคุมกล้ามเนื้อ และการทำงานพื้นฐานอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละคนจะแตกต่าง บางคนมีอาการเพียงเล็กน้อยและไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่บางคนอาจจะส่งผลต่อการเดินทางและการทำงานในชีวิตประจำวัน

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณโจมตีสารไขมัน (Fatty Material) ที่มีชื่อเรียกว่า ไมอีลิน (Myelin) ซึ่งทำหน้าที่ในการปกป้องเส้นประสาทด้วยการพันรอบใยประสาท หากไม่มีไมอีลิน เส้นประสาทของคุณจะเสียหาย เนื้อเยื่อแผลเป็นก็อาจจะก่อตัวขึ้น

ความเสียหายดังกล่าว หมายความว่า สมองคุณจะไม่สามารถส่งสัญญาณผ่านร่างกายได้อย่างถูกต้อง ประสาทของคุณจะไม่ทำงานได้เท่าที่ควร เพื่อช่วยให้คุณเคลื่อนไหวและรู้สึกได้ เป็นผลทำให้คุณอาจมีอาการ ดังต่อไปนี้

ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง พบบ่อยเพียงใด

อาการแรกเริ่มมักจะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงอายุ 20-40 ปี คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง จะมีอาการกำเริบหรืออาการทรุดลงอย่างเห็นได้ชัด และมักจะฟื้นตัวเมื่ออาการดีขึ้น ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์พบวิธีการรักษาใหม่ๆ มากมาย ที่มักจะช่วยป้องกันการกำเริบของโรคและชะลอผลของโรคได้

อาการ

อาการของ ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

สำหรับอาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งอาจจะแตกต่างกันอย่างมากแต่ละบุคคล และในช่วงของโรคจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ โดยอาการมักจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหว เช่น

  • อาการชาหรือความอ่อนแอในแขน ขา และลำตัว อย่างน้อยหนึ่งข้าง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกายในแต่ละครั้ง
  • ความรู้สึกเหมือนไฟช็อตที่เกิดขึ้นกับการเคลื่อนไหวของคอ โดยพาะอย่างยิ่งการงอคอไปข้างหน้า
  • อาการสั่น ขาดการประสานงาน หรือการเดินไม่มั่นคง

นอกจากนั้นยังมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • การสูญเสียการมองเห็นบางส่วนหรือทั้งหมด โดยปกติจะเป็นทีละข้าง โดยจะมีอาการปวดเกิดขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวตา
  • เห็นภาพซ้อนเป็นเวลานาน
  • มองเห็นไม่ชัด

สำหรับอาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งยังอาจจะรวมถึง

  • พูดไม่ชัด
  • ความเมื่อยล้า
  • เวียนหัว
  • รู้สึกเสียวซ่าหรือปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานทางเพศ ลำไส้ และกระเพราะปัสสาวะ

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเป็นภาวะแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งเมื่อสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับระบบภูมิคุ้มกันและมันโจมตีส่วนที่มีสุขภาพดีของร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ ในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ระบบภูมิคุ้มกันจะโจมตีชั้นที่ล้อมรอบและปกป้องเส้นประสาทที่เรียกว่า “ไมอีลิน” ซึ่งจะส่งผลให้ปลอกประสาทเสียหายและเป็นแผล ทั้งยังอาจส่งผลต่อเส้นประสาทที่อยู่ข้างใต้ นั่นหมายความว่า ความเสียหายสามารถเดินทางไปตามเส้นประสาท ซึ่งอาจจะเดินทางไปยังช้าๆ หรือหยุดชะงักอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งก็เป็นได้

สิ่งที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกตินั้นยังไม่มีการเจาะจงที่ชัดเจน แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมีส่วนเกี่ยวข้อง

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

การวินิจฉัยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งอาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากอาการอาจเหมือนกับความผิดปกติของเส้นประสาทอื่นๆ หากแพทย์สันนิษฐานว่าคุณมีอาการนี้ เขาจะให้คุณไปพบผู้เชี่ยวชาญที่รักษาสมองและระบบประสาท หรือที่เรียกว่า “นักประสาทวิทยา” พวกเขาถามคุณเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ และทำการวินิจฉัยและตรวจหาสัญญาณหลักของความเสียหายของเส้นประสาทในสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทตา

การทดสอบเดียวไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคุณจะเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง แพทย์อาจจะใช้วิธีการต่างๆ เพื่อการวินิจฉัยโรค ดังนี้

  • การตรวจเลือด เพื่อแยกแยะโรคที่อาจทำให้เกิดอาการคล้ายกัน เช่น โรคไลม์ (Lyme Disease) และโรคเอดส์
  • ตรวจสอบความสมดุลการประสานงาน การมองเห็น และการทำงานอื่นๆ เพื่อดูว่า ประสาทของคุณทำงานได้ดีเพียงใด
  • การทดสอบด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI) เพื่อดูโครงสร้างโดยในร่างกายโดยละเอียด
  • การวิเคราะห์ของเหลวที่หุ้มสมองและไขสันหลังที่เรียกว่า น้ำไขสันหลัง (Cerebrospinal Fluid หรือCSF) โดยคนที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง มักจะมีโปรตีนโดยเฉพาะในน้ำไขสันหลัง
  • การทดสอบด้วยการวัดกิจกรรมทางไฟฟ้าในสมองของคุณ
  • ใช้เครื่องตรวจวิเคราะห์ภาพตัดขวางขั้วประสาทตาด้วยเลเซอร์ (Optical Coherence Tomography หรือ OCT) เพื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของเรตินา ซึ่งอาจเตือนถึงการฝ่อของสมอง

การรักษาปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง แต่การรักษาหลายวิธีสามารถช่วยควบคุมสภาพของโรคได้ การรักษาของคุณจะขึ้นอยู่กับอาการและปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้นกับคุณ ซึ่งอาจรวมถึง

  • การรักษาอาการกำเริบด้วยยาสเตียรอยด์ระยะสั้น เพื่อเร่งการฟื้นตัว
  • การรักษาเฉพาะสำหรับอาการปลอกประสาทเสื่อมแข็งแต่ละรายการ
  • การรักษาเพื่อลดจำนวนอาการกำเริบ โดยใช้ยาที่เรียกว่า “การบำบัดปรับเปลี่ยนโรค”
  • การรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนโรค อาจช่วยชะลอหรือลดความพิการโดยรวมที่อาจจะเลวร้ายลง ซึ่งความพิการโดยรวมในผู้ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง จะถูกเรียกว่า “อาการกำเริบของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง” และในผู้ที่มีอาการประเภทนี้มักจถูกเรียกว่า โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่มีอาการทุติยภูมิซึ่งมีอาการกำเริบ

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใด ที่สามารถชะลอความก้าวหน้าของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ประเภทที่เรียกว่า โรคเอ็มเอส แบบที่มีอาการค่อยๆ รุดหน้าตั้งแต่เริ่ม (Primary Progressive MS หรือ PPMS) หรือ โรคเอ็มเอส แบบที่อาการค่อยรุดหน้าในภายหลัง (Secondary Progressive MS หรือ SPMS) ในกรณีที่ไม่มีอาการกำเริบ การบำบัดหลายอย่างที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่รุดหน้า กำลังได้รับการวิจัยอยู่

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับปลอกประสาทเสื่อมแข็ง 

นอกจากการได้รับยาสเตียรอยด์จากแพทย์ เพื่อทำการโจมตีอาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งให้สั้นลงและรุนแรงน้อยลงแล้ว คุณยังสามารถลองใช้ยาอื่นๆ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยากล่อมประสาท หรือโบทูลินั่ม ท็อกซิน (Botulinum toxin หรือ Botox) เพื่อบรรเทาอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและรักษาอาการอื่นๆ

นอกจากนั้นคุณยังสามารถออกกำลังกายตามที่นักกายภาพบำบัดแนะนำ เพื่อทำให้ร่างกายของคุณแข็งแรง สร้างความสมดุล และช่วยจัดการกับความเมื่อล้า และความเจ็บปวด หากคุณมีปัญหาในเรื่องการเดินทาง ไม้เท้า วอล์คเกอร์ (Walker) หรือไม้ค้ำยัน สามารถช่วยให้คุณเดินได้ง่ายขึ้น

การออกกำลังกายเป็นประจำและหลีกเลี่ยงความร้อนที่มากเกินไป ถือเป็นสิ่งที่คุณควรทำ ลองปรึกษาแพทย์ของคุณที่สามารถให้คำแนะนำเรื่องประเภทของกีฬา หรือการเล่นโยคะ เพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้า หรือความเครียด

ที่สำคัญอย่าลืมดูแลสุขภาพด้านอารมณ์ โดยขอความช่วยเหลือจากครอบครัว เพื่อน หรือที่ปรึกษา หรือนักจิตแพทย์ เมื่อมีเรื่องเครียดหรือวิตกกังวล

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Multiple sclerosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/multiple-sclerosis/symptoms-causes/syc-20350269. Accessed August 17, 2020

Multiple sclerosis. https://www.nhs.uk/conditions/multiple-sclerosis/. Accessed August 17, 2020

Multiple Sclerosis Health Center. https://www.webmd.com/multiple-sclerosis/default.htm. Accessed August 17, 2020

Understanding Multiple Sclerosis (MS). https://www.healthline.com/health/multiple-sclerosis. Accessed August 17, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/08/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคปลายประสาทอักเสบในผู้สูงอายุที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 18/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา