backup og meta

เห็บกัด อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจกลายเป็นโรคไลม์ (Lyme Disease) ได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    เห็บกัด อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจกลายเป็นโรคไลม์ (Lyme Disease) ได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว

    เห็บ เป็นสัตว์ชนิดเล็กๆ ที่มักพบในสัตว์เลี้ยง อย่าเช่น สุนัข หรือแมว บางคนอาจจะคิดว่าเห็บนั้นไม่มีพิษมีภัยอะไร แต่ความจริงแล้วเมื่อโดน เห็บกัด อาจทำให้คุณกลายเป็น โรคไลม์ หรือโรคลายม์ ได้อยางไม่รู้ตัว ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน

    เห็บกัด ทำให้เกิดโรคไลม์ หรือโรคลายม์ (Lyme Disease) ได้จริงหรือ?

    โรคไลม์ หรือโรคลายม์ (Lyme Disease) เกิดจากแบคทีเรีย 4 สายพันธุ์หลัก บอร์รีเลีย เบิร์กดอร์เฟอรี (Borrelia burgdorferi) และ บอร์เรเลีย มาโยนี (Borrelia mayonii) ทำให้เกิดโรคไลม์ หรือโรคลายม์ ในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ บอร์เรเลีย อัฟเซอร์รี่ (Borrelia afzelii) และ บอร์เรเลีย การ์อินีย์ (Borrelia garinii) เป็นสาเหตุสำคัญในยุโรปและเอเชีย โรคไลม์ หรือโรคลายม์ คือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากเห็บนั้นพบมากที่สุดในภูมิภาคเหล่านี้ มันเกิดขึ้นได้โดยการถูกเห็บที่ติดเชื้อกัด ซึ่งเห็บชนิดนี้เรียกกันว่า “เห็บกวาง” ทุกคนสามารมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไลม์ หรือโรคลายม์ได้หากใช้เวลาอยู่ในพื้นที่ที่มีหญ้าและต้นไม้หนาแน่น

    แม้เห็บส่วนใหญ่จะไม่มีอันตราย และมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่จะติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคไลม์ หรือโรคลายม์ แต่เมื่อมนุษย์โดนเห็บกัดก็สามารถทำให้เกิดโรคไลม์ หรือ โรคลายม์ ได้ เนื่องจากเห็บอาจจะไปกัดสัตว์ที่ติดเชื้อชนิดนี้อยู่แล้ว แต่อย่างไรการระมัดระวังเห็บและพยายามกำจัดมันให้เร็วที่สุดก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ

    ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคไลม์ หรือโรคลายม์ (Lyme Disease)

    โดยปกติแล้วคุณอาจจะคิดว่าคุณนั้นไม่สามารถติดโรคไลม์ หรือโรคลายม์จากเห็บได้ เนื่องจากมีการป้องกันเป็นอย่างดี แต่ความจริงแล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจทำให้คุณติดเชื้อนี้ได้ ดังนี้

  • ใช้เวลาในพื้นที่ป่าหรือหญ้า ในสหรัฐอเมริกานั้น เห็บกวางส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ป่าหนาแน่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและมิดเวสต์ (Midwest) ซึ่งเด็กๆ ในภูมิภาคนี้ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่นอกบ้าน จะเสี่ยงเป็นโรคนี้เป็นพิเศษ นอกจากนั้นแล้วผู้ใหญ่ที่ทำงานอยู่กลางแจ้งก็มีโอกาสเสี่ยงเช่นเดียวกัน
  • มีผิวสัมผัส โดยปกติแล้วเห็บนั้นมักจะติดกับผิวหนังได้ง่าย หากคุณต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีเห็บ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ สวมใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว แล้วก็อย่าพาสัตว์เลี้ยงของคุณไปในพื้นที่ที่หญ้าขึ้นสูงหรือมีวัชพืช
  • ไม่ได้กำจัดเห็บในทันที หรือไม่ได้กำจัดเห็บด้วยวิธีที่ถูกต้อง แบคทีเรียจากเห็บนั้นสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้ หากเห็บติดอยู่บนผิวหนังของคุณ 36-48 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น หากคุณกำจัดเห็บภายใน 2 วัน ความเสี่ยงต่อการได้รับโรคไลม์ หรือโรคลายม์ ก็จะต่ำลง
  • โรคไลม์ หรือโรคลายม์ (Lyme Disease) สามารถติดต่อกันได้หรือไม่

    ไม่มีหลักฐานว่าโรคไลม์ หรือโรคลายม์ นั้นสามารถติดต่อกันได้ระหว่างคน นอกจากนี้จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ยังได้ให้ข้อมูลไว้ว่า สตรีมีครรภ์ไม่สามารถแพร่เชื้อไปยังทารกในครรภ์ผ่านน้ำนมแม่ได้ นอกจากนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานว่า โรคไลม์ หรือโรคลายม์ สามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์หรือส่งผ่านการถ่ายเลือด แล้วก็ไม่มีหลักฐานว่าโรคไลม์ หรือโรคลายม์ สามารถแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นได้โดยการจาม ไอ หรือจูบ

    ควรป้องกันตัวเองอย่างไรเพื่อไม่ให้เป็นโรคไลม์ หรือโรคลายม์ (Lyme Disease)

    การที่จะไม่เป็นโรคไลม์ หรือโรคลายม์ ก็คือ ต้องพยายามห่างไกลจากการโดนเห็บกัด เห็บไม่สามารถบินหรือกระโดดได้ แต่มักจะอาศัยอยู่ในพุ่มไม้ และเกาะติดที่ตัวคนเมื่อเวลาเดินผ่าน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกเห็บกัด ควรทำดังนี้

    • สวมกางเกง ถุงมือ และถุงเท้าในพื้นที่ที่มีต้นไม้มาก และในขณะจับใบไม้ที่ร่วง
    • สวมเสื้อผ้าที่สามารถไล่เห็บไม่ให้เกาะบนผิวหนัง หรือทาสารเคมีที่มีดีท (DEET) ซึ่งใช้ไล่แมลงโดยเฉพาะ น้ำมันมะนาว หรือยูคาลิปตัส
    • เพื่อป้องกันให้ได้มากยิ่งขึ้นข้าไปอีก ควรใช้น้ำยาเพทรีทริน (Permethrin) พ่นลงบนเสื้อผ้า และอุปกรณ์พักแรม
    • อาบน้ำภายใน 2 ชั่วโมง หลังจากกลับออกมาจากพื้นที่ที่มีต้นไม้มากๆ
    • ดูผิวหนังให้และเส้นผม หากพบเห็บให้กำลังออกโดยทันที
    • ใส่เสื้อผ้าและอุปกรณ์ที่สัมผัสกับเครื่องเป่าร้อน เพื่อฆ่าศัตรูพืชที่ยังหลงเหลืออยู่

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา