ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
การบาดเจ็บไขสันหลัง หรือไขสันหลังบาดเจ็บ (Spinal Cord Injury) คือ อาการที่บริเวณไขสันหลัง รวมถึงรากประสาทในโพรงกระดูกสันหลังเกิดความเสียหาย ซึ่งอาจเป็นอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลังบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งอาการบาดเจ็บอาจร้ายแรง จนส่งผลให้เป็นอัมพาต หรือกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันไปยาวนานเลยทีเดียว
ไขสันหลังนั้นมีเส้นประสาทเป็นจำนวนมาก และยังมีเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่กระดูกสันหลังทำหน้าที่ปกป้องอยู่ด้วย กระดูกสันหลังคือส่วนกระดูกที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ เป็นแนวสันหลัง ประกอบไปด้วยเส้นประสาทที่ต่อตรงมาจากฐานสมอง ลงมาถึงส่วนหลังใกล้บั้นท้าย
ไขสันหลังทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณจากสมองไปสู่จุดอื่นๆ ในร่างกาย และส่งสัญญาณจากร่างกายไปสู่สมอง การที่เราสามารถรับรู้ถึงความเจ็บปวด หรือขยับแขนขาได้นั้น ก็เป็นเพราะสัญญาณที่ส่งผ่านไขสันหลัง
ถ้าหากไขสันหลังบาดเจ็บ สัญญาณบางส่วนหรือทั้งหมด อาจไม่สามารถส่งผ่านไปได้ ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการรับรู้ความรู้สึก หรือการเคลื่อนไหว หากกระดูกสันหลังบริเวณใกล้คอได้รับบาดเจ็บ จะทำให้ร่างกายส่วนใหญ่เป็นอัมพาต ได้มากกว่าการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว
โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการทั่วไปของไขสันหลังบาดเจ็บ มีดังนี้
สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์
หากคุณคิดว่าตัวเองหรือคนรอบข้างมีอาการบาดเจ็บไขสันหลัง ควรทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
เมื่อผู้ป่วยไปถึงโรงพยาบาล แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและระบบประสาทเพื่อหาว่า มีอาการบาดเจ็บไขสันหลังหรือไม่ และในบริเวณไหน
วิธีที่แพทย์จะใช้เพื่อวินิจฉัยโรค มีดังนี้
อาการบาดเจ็บของไขสันหลังมักเป็นผลมาจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด หรือเหตุการณ์รุนแรง เช่น
มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับการบาดเจ็บไขสันหลัง เช่น
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ในห้องฉุกเฉิน คุณหมอสามารถบ่งชี้อาการบาดเจ็บไขสันหลังได้ด้วยการตรวจสอบอย่างละเอียด การทดสอบระบบการตอบสนองและการเคลื่อนไหว รวมถึงการซักถามเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
หากผู้ป่วยมีอาการปวดคอ หมดสติ มีอาการอ่อนแรง หรือระบบประสาทบาดเจ็บ จะต้องได้รับการวินิจฉัยฉุกเฉินในทันที
แพทย์อาจตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
ไม่กี่วันหลังการบาดเจ็บ อาการบวมบางแห่งอาจจะยุบลง แพทย์อาจให้คุณเข้ารับการตรวจสอบระบบประสาท เพื่อให้ทราบถึงระดับของอาการบาดเจ็บ การทดสอบนี้จะมีการตรวจสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความสามารถในการตอบสนองต่อแสงและการใช้เข็มจิ้ม
น่าเสียดายที่ยังไม่มีวิธีที่จะแก้ไขความเสียหายจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง ให้กลับไปเป็นเหมือนก่อนได้ แต่นักวิจัยยังคงพยายามหาวิธีการรักษาใหม่ๆ อยู่เสมอ รวมไปจนถึงการใช้อวัยวะปลอม และยาที่สามารถเพิ่มการฟื้นฟูเซลล์ประสาท หรือพัฒนาการทำงานของระบบประสาทที่เหลืออยู่หลังจากได้รับการบาดเจ็บของไขสันหลัง
ในขณะเดียวกัน การรักษาอาการบาดเจ็บของไขสันหลัง ก็มุ่งเน้นไปที่การป้องกันความเสียหายที่มากขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในผู้ที่มีอาการบาดเจ็บของไขสันหลัง ให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน
ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับศีรษะหรือคอ การรักษาการบาดเจ็บไขสันหลังจึงต้องเริ่มตั้งแต่ตอนอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ โดยต้องตรึงกระดูกสันหลังผู้ป่วยฉุกเฉินให้อยู่กับที่อย่างเบามือและรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยใช้ปลอกสวมคอชนิดแข็ง และใช้เปลหามชนิดแข็ง ในการเคลื่อนย้ายไปยังโรงพยาบาล
การรักษาเบื้องต้น (ในทันที)
ในห้องฉุกเฉิน แพทย์จะมุ่งเน้นไปที่
ขณะที่หมอกำลังวินิจฉัยโรค คุณควรอยู่นิ่งๆ อย่าขยับตัว จะได้ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับอวัยวะต่างๆ เพิ่มขึ้น
หากคุณมีอาการบาดเจ็บของไขสันหลัง คุณมักจะถูกส่งเข้าห้องผู้ป่วยวิกฤติ (ไอซียู) เพื่อรับการรักษา ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
การรักษาอย่างต่อเนื่อง
หลังจากช่วงการบาดเจ็บระยะแรก หรือหลังจากที่อาการของโรคอยู่ตัวแล้ว แพทย์จะเปลี่ยนไปเน้นที่การป้องกันปัญหาในระยะที่สอง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้น เช่น ภาวะเสื่อมถอย กล้ามเนื้อหดตัว แผลกดทับ ปัญหาที่ลำไส้และกระเพาะปัสสาวะ การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ลิ่มเลือด
ระยะเวลาของการรักษาในโรงพยาบาล ขึ้นอยู่กับอาการของคุณ และปัญหาทางการแพทย์ที่คุณกำลังเจอ เมื่ออาการของคุณดีขึ้น จนคุณสามารถเข้าร่วมการบำบัดรักษาได้ คุณก็อาจจะถูกย้ายไปทำการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายต่อไป
การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย
ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย จะเริ่มช่วยเหลือคุณตั้งแต่ช่วงระยะแรกของการพักฟื้น โดยบุคลการอาจจะประกอบไปด้วย นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักจิตวิทยาฟื้นฟูสมรรถภาพ นักสังคมสงเคราะห์ นักโภชนาการ นักนันทนาการบำบัด และแพทย์ที่ชำนาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
ในระยะแรกของการฟื้นฟูสมรรถภาพ นักบำบัดมักจะเน้นที่การประคับประคอง และเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวด้วยกล้ามเนื้อมัดเล็ก และให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะปรับเทคนิคเพื่อทำกิจวัตรประจำวันให้ได้
คุณจะได้รับความรู้เกี่ยวกับผลของการบาดเจ็บไขสันหลัง และวิธีป้องกันอาการแทรกซ้อน นอกจากนี้ยังได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการเริ่มสร้างชีวิตใหม่ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของคุณ
ยา
อาจมีการใช้ยาเพื่อจัดการกับอาการบางอย่างที่เกิดจากการบาดเจ็บไขสันหลัง เช่น ยาควบคุมอาการปวดและเกร็ง นอกจากนี้ยังมียาที่ช่วยเพิ่มการควบคุมลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ และการทำงานของระบบเพศด้วย
เทคโนโลยีใหม่ๆ
ปัจจุบันมีการประดิษฐ์เครื่องมือทางการแพทย์ใหม่ ๆ มาช่วยให้ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บไขสันหลังสามารถพึ่งพาตนเอง และเคลื่อนไหวสะดวกได้มากขึ้น เครื่องมือบางอย่างยังสามารถฟื้นฟูการทำงานของอวัยวะได้ด้วย เช่น
การพยากรณ์โรคและการพักฟื้น
คุณหมออาจไม่สามารถพยากรณ์โรคได้ในทันที การพักฟื้นนั้นเริ่มหลังจาก 1 สัปดาห์ไปจนถึง 6 เดือนหลังจากไขสันหลังบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม อาจต้องรอถึง 1 ปี หรือมากกว่านั้น จึงจะมีการพัฒนาเล็กน้อยให้เห็น
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยจัดการกับการบาดเจ็บไขสันหลังได้
หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
ทีม Hello คุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย