backup og meta

ประโยชน์ของโบท็อกซ์ กับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ณัฐพงศ์ เดชธิดา · โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ประโยชน์ของโบท็อกซ์ กับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

    คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับโบท็อกซ์ (Botox) สิ่งแรกที่คุณคิดเมื่อเห็นคำนี้คืออะไร? อาจเป็นศัลยกรรมเพื่อความงาม ดูแลผิวพรรณ หรือรอยเหี่ยวย่น อย่างไรก็ดี บทความนี้จะไม่พูดถึงโบท็อกซ์ในด้านที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว แต่จะพูดถึงประโยชน์ในด้านอื่นๆ ของโบท็อกซ์ ที่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ทราบ นั่นก็คือ ประโยชน์ของโบท็อกซ์ กับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง นั่นเอง

    โบท็อกซ์คืออะไร

    โบทูลินัมทอกซิน ชนิดเอ (Botulinum toxin type A) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโบท็อกซ์  ที่รู้จักกันว่า เป็นสารชีวภาพที่มีพิษชนิดหนึ่ง สร้างขึ้นโดยแบคทีเรีย Clostridium botulinum โบท็อกซ์เป็นสารพิษชนิดเดียวกันกับสารพิษที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษ ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ในการใช้โบท็อกซ์จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

    โบท็อกซ์ มีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้ ในการทำหัตถการเพื่อความงาม ลบเลือนริ้วรอยและรอยย่นที่ใบหน้า คาง คอ และหน้าอก ในทางการแพทย์ โบท็อกซ์จัดเป็นการรักษาชนิดหนึ่ง สำหรับอาการทางสุขภาพอื่นๆบางประการได้

    ถึงแม้จะให้ผลการรักษาเพียงชั่วคราว แต่โบท็อกซ์ก็ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากใช้งานง่ายและได้ผลการรักษาที่รวดเร็ว การทำหัตถการหนึ่งครั้งใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

    ก่อนจะใช้ โบท็อกซ์ ทุกครั้ง ควรอยู่ในการควบคุมดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม โบท็อกซ์ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร หรือผู้ที่มีประวัติเคยแพ้โบท็อกซ์ ซึ่งเป็นข้อควรระมัดระวังก่อนการฉีด  

    ประโยชน์ของโบท็อกซ์ ในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

    โบท็อกซ์ จะถูกใช้ภายในกล้ามเนื้อ หมายความว่า แพทย์จะฉีดโบท็อกซ์เข้าไปในกล้ามเนื้อของคุณ เมื่อฉีดโบท็อกซ์แล้ว โบท็อกซ์จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อเฉพาะจุดเป็นอัมพาตหรือปิดกั้นเส้นประสาทบางชนิด

    ดังนั้น โบท็อกซ์จึงสามารถช่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีอาการแขนขาหดเกร็ง (spasticity) ซึ่งเป็นอาการตึงที่ร่างกายข้างใดข้างหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาในการตัดเล็บ การแต่งตัว สมดุลในการยืนและเดิน หรือการขยับตัวบนเตียงนอน คุณอาจเห็นผลการรักษาได้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่ผลการรักษาจะอยู่ได้ไม่นาน

    แพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้โบท็อกซ์ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีกว่าและนานกว่า เพราะจะช่วยให้การทำงานและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อกลับคืนมาอีกครั้ง คุณจึงสามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น การทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ล้างมือ เขียนหนังสือ รับประทานอาหาร ก็จะเป็นเรื่องง่ายกว่าเดิม

    โบท็อกซ์เป็นการรักษาที่สมบูรณ์แบบหรือไม่

    แน่นอนว่าไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ รวมถึงโบท็อกซ์ด้วย โบท็อกซ์อาจมีอาการข้างเคียง และไม่มีใครสามารถรับประกันได้ว่า การใช้ประโยชน์ของโบท็อกซ์ ในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองในระยะยาวจะปลอดภัยเสมอไป

    อย่างไรก็ดี การใช้โบท็อกซ์ก็เป็นเรื่องคุ้มค่าที่จะลอง ภายใต้การดูแลของแพทย์ และการตรวจประเมินอาการของโรค ที่สามารถใช้โบท็อกซ์ได้ เนื่องจากผู้ป่วยหลายรายที่รักษาด้วยวิธีนี้สามารถคลายกล้ามเนื้อ และเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

    อาการข้างเคียงของโบท็อกซ์ที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

    • ปากแห้ง
    • ปวดศีรษะ
    • ปวดคอ
    • มีอาการปวดในบริเวณที่ใช้เข็มฉีด
    • ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ได้แก่ เห็นภาพซ้อน เห็นภาพไม่ชัด หนังตาตก ตาแห้ง
    • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
    • อาการแพ้ต่างๆ ได้แก่ ผื่นคัน เวียนศีรษะ หายใจมีเสียงหวีด

    อาการข้างเคียงเหล่านี้มักหายไปหลังจาก 3 สัปดาห์ อย่างไรก็ดี หากยังคงมีอาการ หรืออาการแย่ลง คุณควรไปคุณหมอทันที และจงจำไว้ว่า หลังฉีดโบท็อกซ์ ห้ามเช็ดถูบริเวณที่ฉีดอย่างน้อย 12 ชั่วโมง และห้ามเอนตัวลงนอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังจากฉีดโบท็อกซ์

    โบท็อกซ์จัดเป็นการรักษาที่ปลอดภัย และได้ผลสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการแทรกซ้อน อย่างไรก็ดี โบท็อกซ์มีผลข้างเคียงบางอย่าง ดังนั้น คุณควรปรึกษาคุณหมอให้ดีก่อนรับการรักษาด้วยวิธีนี้ และเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการช่วยวินิจฉัย และใช้โบท็อกซ์อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ แม่นยำ ตรงกับกลุ่มอาการ และช่วยในการรักษาโรคอย่างเหมาะสม

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    นายแพทย์ณัฐพงศ์ เดชธิดา

    โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา