เบาหวานกับผิวหนัง เป็นปัญหาสุขภาพที่พบมาควบคู่กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอาการคันผิวในผู้ป่วยหวานซึ่งมักมีผิวแห้ง ขาดความชุ่มชื้น นอกจากนั้นแล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคันได้อีกด้วย ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องดูแลตนเอง รับประทานยาสม่ำเสมอและควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอาการคันเเละโรคเกี่ยวกับผิวหนังอื่น ๆ ที่อาจเกิดเเทรกซ้อนขึ้นได้
[embed-health-tool-bmi]
เบาหวานกับผิวหนัง และอาการคันผิว
อาการคันผิวหนัง ในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งมักมีผื่นหรือตุ่มที่ผิวหนังให้สังเกตพบร่วมด้วย หรือ อาจเกิดจากผิวเเห้ง เนื่องจากผิวขาดน้ำ เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อย เเละ เป็นการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย อีกทั้งน้ำตาลในเลือดที่สูงอย่างเรื้อรังยังส่งผลต่อระบบการไหลเวียนของเลือด เเละ ระบบเส้นประสาทที่หล่อยเลี้ยงชั้นผิวหนัง จึงทำให้มีผิวเเห้ง คัน เเละ เกิดการระคายเคืองได้ง่าย
การติดเชื้อแบคทีเรีย
ผิวหนังอักเสบติดเชื้อเเบคทีเรียนับว่าเป็นการติดเชื้อที่ควรรีบได้รับการรักษาที่ถูกต้องเเละเหมาะสม เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลามจนเกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระเเสเลือดได้ ผื่นผิวหนังอักเสบอาจพบได้กับผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย เช่น ขา เเขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเเผลนำมาก่อน อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่หนังศีรษะ โดยสามารถก่อให้เกิดตุ่มหนอง เเละ แผลพุพองอักเสบ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
การติดเชื้อรา
เนื่องจากเมื่อมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำงานบกพร่องไป ผู้ป่วยเบาหวานหากไม่ควบคุมให้ดีจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อราที่ผิวหนัง รวมถึงบริเวฯอวัยวะต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อราในช่องคลอด โรคกลากเกลื้อน ซึ่งการติดเชื้อรานั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนในร่างกาย ได้แก่
- เท้า (น้ำกัดเท้า)
น้ำกัดเท้า หรือ ผื่นเชื้อราที่เท้า มักจะเกิดที่บริเวณซอกนิ้วเท้าหรือฝ่าเท้า ทำให้มีอาการคัน รอยแดง ตกสะเก็ด หรืออาจเกิดเป็นแผลพุพองได้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจึงควรดูเเลสุขภาพเท้าให้ดี หลีกเลี่ยงการทำให้เท้าอับชื้น สวมรองเท้าเสมอเมื่ออกนอกบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงของในการเป็นน้ำกัดเท้า
- มือ (เชื้อราที่มือ)
กลากที่มือสังเกตได้จากผื่นผิวหนัง อาจมีขนาดเล็ก ๆ เเล้วค่อยๆ ขนาดขนาดขึ้น เเละมักทำให้มีอาการคันร่วม บางกรณีอาจพบมีการติดเชื้อราที่ซอกเล็บหรือเล็บร่วมด้วย
- ลำตัว (เชื้อราบนลำตัว)
ส่วนมากเเล้วผื่นเชื้อรา จะมีลักษณะเป็นผื่นรูปร่างกลม – รี อาจมี น้ำตาลอ่อน ชมพู หรือแดงได้ เเละ อาจพบมีผื่นหลายผื่นในบริเวณใกล้เคียง หากมีอาการมากขึ้นอาจมีลักษณะเป็นเเผลตกสะเก็ด หรือ ที่เรียกว่าสังคัง ซึ่งมักเกิดบริเวณขาหนีบ เนื่องจากเป็นตำเเหน่งที่มีการอับชื้นได้ง่าย ทำให้มีอาการคันและอักเสบ บางครั้งจะลุกลามไปยังบริเวณหัวหน่าวได้
- ต้นขา
โรคเชื้อราบนผิวหนังมักเกิดบริเวณข้อพับเเละรอยพับของผิวหนัง ของร่างกาย เช่น ใต้หน้าอก ขาหนีบ ใต้วงแขน และร่องก้น ซึ่งอาจเกิดเป็นผื่นหรือตุ่มขนาดเล็กเเล้วขยายขนาดเป็นผื่นปื้นใหญ่ขึ้น ซึ่งลักษณะเเละอาการก็จะคล้ายกับผื่นเชื้อราที่บริเวณอื่น ๆ
วิธีรักษา อาการคันผิว ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
เบื้องต้นเเล้ว หากอาการคัน เกิดจากผื่นเชื้อราที่ผิวหนัง สามารถรักษาได้โดย การทายาฆ่าเชื้อราที่บริเวณผื่นดังเกล่า วันละ 2-3 ครั้ง อาจใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ กว่าจะหายสนิท อีกทั้งควรดูแลบริเวณที่เกิดผื่นเชื้อราให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ อาจใช้แป้งทาในบริเวณที่อาจอับชื้นได้ง่าย เช่น บริเวณข้อพับ ขาหนีบ เพื่อการอับชื้น เเละ ลดการเสียดสี หากอาการติดเชื้อไม่ดีขึ้น ควรไปพบคุณหมอหรือเภสัชกรเพราะอาจจำเป็นต้องรับประทานยาต้านเชื้อรา
นอกจากนี้แล้ว การดูแลระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และดูแลผิวด้วยการใช้ครีมบำรุงผิว ให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ยังเป็นการป้องกันอาการคันที่อาจเกิดจากผิวแห้งได้อีกด้วย