backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ผักกาดหอมป่า (Wild Lettuce)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 26/08/2019

สรรพคุณของผักกาดหอมป่า

ผักกาดหอมป่าเป็นพืช ใบและเมล็ดใช้ทำเป็นยารักษาโรค:

  • อาการไอกรน
  • หอบหืด
  • ปัญหาทางเดินปัสสาวะ
  • ไอ
  • นอนไม่หลับ
  • กระวนกระวาย
  • ความตื่นเต้นในเด็ก
  • ประจำเดือนเจ็บปวด
  • ความต้องการทางเพศสูงในผู้หญิง (nymphomania)
  • ปวดตามกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
  • การไหลเวียนไม่ดี
  • ภาวะองคชาตแข็งค้าง(priapism)
  • เป็นสารทดแทนฝิ่นรักษาอาการไอ

น้ำมันเมล็ดผักกาดหอมป่าใช้สำหรับ “แข็งตัวของเส้นเลือดแดง’ (atherosclerosis) และใช้แทนน้ำมันจมูกข้าวสาลี บางครั้งเราใช้ น้ำยางผักกาดหอมป่าโดยตรงกับผิวหนังเพื่อฆ่าเชื้อโรค หรือสูดดมผักกาดหอมในกรณีประสาทหลอน

กลไกการออกฤทธิ์

ไม่มีข้อมูลทางการศึกษาเกี่ยวกับวิธีใช้ผักกาดหอมป่าเพียงพอ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ผักกาดหอมป่าช่วยผ่อนคลายและบรรเทาอาการปวด

ข้อควรระวังและคำเตือน

ปรึกษากับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณในกรณี:

  • กำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงที่ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาประเภทอื่น รวมถึงยาทุกชนิดที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารที่อยู่ในทองกาปีน หรือยาและสมุนไพรอื่น ๆ
  • มีอาการป่วย ความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพ
  • เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์

ข้อกำหนดในการใช้อาหารเสริมสมุนไพรมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป แต่ควรศึกษาให้รอบคอบเพื่อรับรองความปลอดภัยของการใช้สมุนไพร ว่าควรเกิดคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย และควรปรึกษาแพทย์หรือหมอสมุนไพรเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยในการใช้ผักกาดหอมป่า

ผักกาดหอมป่าอาจปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ในปริมาณการใช้น้อย อย่างไรก็ตาม หากปริมาณการใช้จำนวนมากอาจทำให้หายใจช้า และอาจทำให้เสียชีวิตได้

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร: ไม่มีข้อมูลรายงานการใช้ผักกาดหอมป่าในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้

ต่อมลูกหมากโต: ห้ามใช้ผักกาดหอมป่า ถ้าคุณมีอาการนี้ เนื่องมีสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่มีปัญหาการปัสสาวะ

โรคภูมิแพ้ต่อพืชที่มีฤทธิ์รุนแรง และพืชที่เกี่ยวข้อง: ผักกาดหอมอาจทำให้เกิดอาการแพ้ในผู้ที่มีความรู้สึกไวต่อพืชตระกูล Asteraceae / Compositae ได้แก่ ragweed เบญจมาศ ดอกดาวเรือง ดอกเดซี่ และอื่น ๆ หากคุณมีอาการแพ้ควรตรวจสอบกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพของคุณก่อนรับประทานผักกาดหอมป่า

โรคต้อหินมุมแคบ: อย่าใช้ผักกาดหอมป่าถ้าคุณมีดังกล่าว ผักกาดหอมป่ามีสารเคมีที่อาจทำให้ต้อหินแย่ลง

การผ่าตัด: ผักกาดหอมป่าอาจส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน ถ้าใช้ร่วมกับการระงับความรู้สึกและยาชาอื่น ๆ ที่ใช้ในระหว่างและหลังการผ่าตัด หยุดใช้ผักกาดหอมป่าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนกำหนดการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

การใช้ผักกาดหอมป่าโดยตรงกับผิวหนังอาจทำให้เกิดการระคายเคือง การใช้ปริมาณมากอาจทำให้เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว วิงเวียนศีรษะ หูอื้อ หายใจลำบาก และถึงแก่ความตายได้

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนและอาจมีอาการจากผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยา

ผักกาดหอมป่าอาจทำปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยากับยาหรืออาการทางการแพทย์ปัจจุบันของคุณ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจทำปฏิกิริยากับผักกาดหอมป่า ได้แก่:

  • ยากล่อมประสาท (CNS)

ผักกาดหอมป่า อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ การรับประทานผักกาดหอมป่าและยากล่อมประสาทร่วมกัน อาจทำให้ง่วงนอนมากเกินไป ยากล่อมประสาทบางชนิด ได้แก่ clonazepam (Klonopin) lorazepam (Ativan) phenobarbital (Donnatal) zolpidem (Ambien) และอื่น ๆ

ปริมาณการใช้ยา

ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ของคุณก่อนที่จะใช้ยานี้

ปริมาณทั่วไปในการที่ใช้ผักกาดหอมป่า

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้สมุนไพรชนิดนี้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และอาการอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

รูปแบบของทองผักกาดหอมป่า

อาหารเสริมประเภทสมุนไพรอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • แคบซูลสารสกัดจากผักกาดหอมป่า
  • สารสกัดจากผักกาดหอมป่า
  • ผักกาดหอมป่าแห้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 26/08/2019

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา