backup og meta

มันเทศป่า (Wild Yam)

สรรพคุณของมันเทศป่า

มันเทศป่า มักใช้สำหรับการบำบัดหรือทดแทนสโตรเจน ช่องคลอดแห้งในสตรีที่มีอายุมาก อาการก่อนมีประจำเดือน PMS โรคกระดูกพรุน เพิ่มพลังทางเพศในชายและหญิง และการขยายเต้านม

นอกจากนี้ยังใช้มันเทศป่า เพื่อรักษาความผิดปกติของลำไส้ที่เรียกว่า diverticulosis อาการปวดถุงน้ำดี โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และบำรุงกำลัง

บางครั้งมันเทศป่า ใช้เป็นครีมบำรุงผิว และเพื่อลดอาการหมดประจำเดือน เช่นกะพริบร้อน

อาจมีการกำหนดให้มีการใช้มันเทศป่าเพื่อการใช้งานอื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

กลไกการออกฤทธิ์

การศึกษาเกี่ยวกับกลไกออกฤทธิ์ของสมุนไพรชนิดนี้ยังมีไม่เพียงพอ กรุณาปรึกษาแพทย์สมุนไพรของคุณเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไรก็ตามมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับมันเทศป่าที่มีสารเคมี diosgenin ซึ่งสามารถทำหน้าที่เเป็นสเตียรอยด์ต่างๆ เช่นเอสโตรเจนที่ทดลองในห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตาม ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนมันเทศป่าให้เป็นเอสโตรเจนได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

ปรึกษากับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณในกรณี:

  • กำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงที่ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาประเภทอื่น รวมถึงยาทุกชนิดที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารที่อยู่ในมันเทศป่าหรือยาและสมุนไพรอื่น ๆ
  • มีอาการป่วย ความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพ
  • เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์

ข้อกำหนดในการใช้อาหารเสริมสมุนไพรมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป แต่ควรศึกษาให้รอบคอบเพื่อรับรองความปลอดภัยของการใช้สมุนไพร ว่าควรเกิดคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย และควรปรึกษาแพทย์หรือหมอสมุนไพรเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยของมันเทศป่า

เด็ก:

ไม่ได้มีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับมันเทศป่าในเด็ก ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก

หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร:

ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทานมันเทศป่า ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้

ผลข้างเคียง

มันเทศป่าอาจมีความปลอดภัยเมื่อนำมาใช้รับประทานหรือทาลงบนผิว แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ปริมาณยามากอาจทำให้อาเจียนได้ ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณ

ปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยา

อาหารเสริมสมุนไพรชนิดนี้อาจทำปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยาหรืออาการทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ปรึกษากับหมอรักษาสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ยาหรือภาวะสุขภาพบางอย่างอาจทำปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยากับสมุนไพรของคุณเช่น:

  • ยาทดแทนฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิด: การศึกษาทดลองในสัตว์พบว่า diosgenin ในมันเทศป่าอาจทำปฏิกิริยากับ ฮอร์โมนEstradiol ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในร่างกาย และยังใช้เป็นยาคุมกำเนิดและทดแทนฮอร์โมนบางชนิด
  • อาการที่เกิดจากฮอร์โมน ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก มะเร็งรังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ หรือเนื้องอกในมดลูก

การขาดโปรตีน  มันเทศป่าอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการก่อตัวเป็น มะเร็ง เพราะทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนเพศหญิง มีรายงานกรณีหนึ่งของผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง  (SLE) ทำให้มีการก่อลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่เรตินาในตาของเธอ 3 เพียงสามวันหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของธัญพืช ตังกุย หรือ ภาษาไทยเรียกว่า โกฏเชียง พืชตระกูลถั่วและโคฮอชดำ

ปริมาณการใช้ยา

ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ของคุณก่อนที่จะใช้ยานี้

ปริมาณการทั่วไปของมันเทศป่า

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้สมุนไพรชนิดนี้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และอาการอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

รูปแบบของมันเทศป่า

อาหารเสริมประเภทสมุนไพรอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • แคปซูลหรือเม็ดมันเทศป่า
  • ชามันเทศป่า
  • ครีมมันเทศป่า
  • สารสกัดเข้มข้นมันเทศป่า

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Wild-Yam. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-970-wild%20yam.aspx?activeingredientid=970&activeingredientname=wild%20yam. Accessed December 14, 2016

Wild-Yam. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/wild-yam. Accessed December 14, 2016

Wild-Yam. https://www.drugs.com/npp/wild-yam.html. Accessed December 14, 2016

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/12/2017

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา