backup og meta

เอเลแคมเพน (Elecampane)

สรรพคุณของเอเลแคมเพน

เอเลแคมเพนเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง รากของเอเลแคมเพนใช้ในการทำยาสำหรับรักษา:

  • โรคปอด เช่นโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ และไอกรน
  • การไอโดยเฉพาะไอที่เกิดจากวัณโรค และลดเสมหะ
  • บำรุงกระเพาะอาหาร
  • อาการคลื่นไส้ และท้องร่วง
  • ฆ่าพยาธิในลำไส้ เช่นพยาธิปากขอ ไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย และพยาธิแส้ม้า
  • ขับเหงื่อ
  • เอเลแคมเพนอาจใช้สำหรับรักษาอาการอื่น ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

การออกฤทธิ์

งานวิจัยเกี่ยวกับเอเลแคมเพนยังมีไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่า เอเลแคมเพนมีสารเคมีที่ฆ่าพยาธิในลำไส้และอาการติดเชื้อในลำไส้ได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้เอเลแคมเพน:

ปรึกษากับแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหาก:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงยาที่คุณสามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในเอเลแคมเพน ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ เช่น เอเลแคมเพนอาจทำให้เกิดอาการแพ้ในผู้ที่มีความไวต่อพืชตระกูลแอสเตอราเซ/คอมโพสิเต  (Asteraceae /Compositae) ละอองฟาง เบญจมาศ ดอกดาวเรือง ดอกเดซี่และอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือมีอาการที่แพทย์ระบุไว้ เช่น:
  • โรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูงหรือความดันโลหิตต่ำ
  • มีประวัติการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูดหรือแพ้เนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น มีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับยาชนิดอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าที่จะเสี่ยงใช้ ควรปรึกษาแพทย์ของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

เอเลแคมเพนปลอดภัยหรือไม่

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทาน เอเลแคมเพน ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้

ศัลยกรรม: ควรหยุดใช้เอเลแคมเพนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนกำหนดเวลาการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากเอเลแคมเพน

เอเลแคมเพนอาจทำให้อาเจียน ท้องร่วง ชักและอัมพาต บางรายอาจมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

ปฏิกิริยาต่อยา

เอเลแคมเพนอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ร่วมอยู่หรือสภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมก่อนใช้ยา

เอเลแคมเพนอาจมีผลต่อยายากล่อมประสาท (CNS depressants): เอเลแคมเพนอาจทำให้ง่วงนอน ดังนั้นการใช้ เอเลแคมเพนร่วมกับยา ยากล่อมประสาท อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนรุนแรงมากขึ้น ยากล่อมประสาทเหล่านี้ ได้แก่ โคลนาเซแพม (Clonazepam) หรือโคลโนพิน (Klonopin), โลราเซแพม (Lorazepam) หรืออาทีวาน (Ativan), ฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) หรือดอนนาทอล (Donnatal), โซลพิเดม (Zolpidem) หรือแอมเบียน (Ambien) และอื่น ๆ

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

ขนาดปกติสำหรับเอเลแคมเพนอยู่เท่าไร

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรมักแนะนำปริมาณต่อไปนี้

  • รากแห้ง: ปริมาณที่แนะนำคือ ต้มรากแห้งของเอเลแคมเพน 1.5-3 กรัม ดื่มวันละ 3 ครั้ง
  • สารสกัดเหลว: ปริมาณที่แนะนำคือ 1: 1 ในแอลกอฮอล์ 25%, 1-2 มิลลิลิตร 3 ครั้งต่อวัน
  • ยาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์: ปริมาณที่แนะนำคือ 1: 5 ในแอลกอฮอล์ 25%, 3-5 มิลลิลิตร 3 ครั้งต่อวัน
  • น้ำเชื่อมสำหรับแก้ไอ: ปริมาณที่แนะนำคือ 10-20 มิลลิลิตร

ปริมาณสำหรับสมุนไพรนี้อาจแตกต่างกันสำหรับผู้ป่วยทุกราย ปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุสุขภาพและเงื่อนไขอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรไม่ปลอดภัยเสมอ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบปริมาณที่เหมาะสม

ปริมาณการใช้เอเลแคมเพนอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและเงื่อนไขอื่น ๆ อาหารเสริมไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทราบปริมาณการใช้ที่เหมาะสม

เอเลแคมเพนมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

เอเลแคมเพนอาจมีอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • แคบซูล
  • รากแห้ง
  • สารสกัดเหลว
  • ยาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  • น้ำเชื่อม

*** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาแต่อย่างใด ***

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Elecampane. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-2-Elecampane.aspx?activeingredientid=2&. Accessed December 14, 2016.

Elecampane. http://www.herbal-supplement-resource.com/Elecampane-herb.html. Accessed December 14, 2016.

Elecampane. http://www.uofmhealth.org/health-library/hn-2083001#hn-2083001-side-effects. Accessed December 14, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/12/2017

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา