backup og meta

กลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder หรือ Social Phobia)

กลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder หรือ Social Phobia)

กลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder /Social Phobia)  ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความผิดปกติทางสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ป่วยมักมีอาการประหม่า เหงื่ออกตามมือ วิตกกังวล เมื่อต้องเข้าสังคม

คำจำกัดความ

กลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder หรือ Social Phobia) คืออะไร

โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder หรือ Social Phobia)  ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความผิดปกติทางสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ป่วยมักมีอาการประหม่า เหงื่อออกตามมือ เกิดอาการวิตกกังวล เมื่อต้องเข้าสังคม เช่น พูดคุยกับคนแปลกหน้า พูดในที่สาธารณะ รับประทานอาหารต่อหน้าคนอื่น

พบบ่อยแค่ไหน                                                  

สมาคมโรควิตกกังวลและซึมเศร้าแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Anxiety and Depression Association of America : ADDA) พบว่า อาการของโรคกลัวการเข้าสังคมอาจเริ่มตั้งแต่อายุ 13 ปี

อาการ

อาการของ โรคการกลัวการเข้าสังคม

อาการทั่วไปของ โรคกลัวการเข้าสังคม แบ่งออกเป็นทางด้านร่างกาย และทางด้านอารมณ์ โดยมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้

อาการแสดงออกทางร่างกาย

  • หน้าแดง หัวใจเต้นเร็ว
  • ตัวสั่น เหงื่อออก
  • กล้ามเนื้อตึงเครียด
  • อาการวิงเวียนศีรษะ
  • มีปัญหาในการหายใจ
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบในกระเพาะอาหาร เช่น ท้องร่วง ปวดท้อง คลื่นไส้

อาการแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรม

  • มีความวิตกกังวล ไม่มั่นใจตนเอง ในการพูดโต้ตอบกับคนแปลกหน้า
  • กลัวคนอื่นจะสังเกตว่าเรารู้สึกวิตกกังวล
  • กลัวอาการที่แสดงออกทางร่างกาย ที่อาจทำเรารู้สึกลำบากใจ เช่น หน้าแดง เหงื่อออก ตัวสั่น
  • กังวลเกี่ยวกับตนเองว่าอาจทำให้ตนเองรู้สึกอับอาย

ควรพบคุณหมอเมื่อใด

โรคกลัวการเข้าสังคม อาจกลายเป็นข้อจำกัด ที่ทำให้คุณไม่สามารถเข้าสังคม ทำงาน ร่วมกิจกรรมสำคัญต่างๆ หรือประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

หากคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ โรคกลัวการเข้าสังคม

สาเหตุของโรคกลัวการเข้าสังคมยังไม่มีหลักฐานการระบุของสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีข้อสันนิษฐานที่บ่งบอกสาเหตุของโรค ดังต่อไปนี้

  • พันธุกรรม โรคกลัวการเข้าสังคม มักเกิดขึ้นกับสมาชิกในครอบครัว (ไม่มีหลักฐานการระบุที่แน่ชัด)
  • โครงสร้างสมอง โครงสร้างในสมองที่เรียกว่า อะมิกดาลา (Amygdala) อาจมีบทบาทในการควบคุมการตอบสนองต่อความกลัว สมองส่วนนี้จะตรวจจับความรู้สึก และตอบสนองต่อการรับรู้สึกต่อความกลัวมากยิ่งขึ้น
  • สิ่งแวดล้อม โรคกลัวการเข้าสังคม อาจเป็นพฤติกรรมที่ได้จากการเรียนรู้ เช่น บางคนอาจรู้สึกกลัวการเข้าสังคมจากเรื่องน่าอับอายในเหตุการณ์นั้น ๆ

ปัจจัยเสี่ยงของ โรคกลัวการเข้าสังคม

ปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกลัวการเข้าสังคมได้ ดังนี้

  • ประวัติครอบครัว คุณอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคกลัวการเข้าสังคมได้ หากสมาชิกในครอบครัวของคุณเคยเป็นโรคดังกล่าวนี้
  • ประสบการณ์เชิงลบในอดีต เช่น ในสมัยเด็กอาจเคยถูกแกล้ง เยาะเย้ย หรือถูกทำให้อับอาย จึงอาจส่งผลให้มีแนวโน้มกลัวการเข้าสังคม
  • ความผิดปกติทางกายภาพ เช่น ใบหน้าเสียโฉม ติดอ่าง หรืออาการสั่นจากโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย โรคกลัวการเข้าสังคม

ในปัจจุบันไม่มีการทดสอบทางการแพทย์เพื่อตรวจหา โรคกลัวการเข้าสังคม แพทย์จะวินิจฉัยจากคำอธิบายอาการกลัวของคุณ นอกจากนี้ยังสามารถวินิจฉัยโรคกลัวการเข้าสังคมได้หลังจากตรวจสอบรูปแบบพฤติกรรมตามเกณฑ์การประเมิน ดังต่อไปนี้

  • ความกลัวต่อสถานการณ์ทางสังคมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความกลัว ความอับอาย
  • รู้สึกกังวลหรือตื่นตระหนกก่อนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  • ความวิตกกังวลต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน

การรักษา โรคกลัวการเข้าสังคม

การรักษาโรคกลัวการเข้าสังคมมีหลายประเภท  โดยผลการรักษาจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยมีทางเลือกในการรักษา ดังต่อไปนี้

  • การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญ การบำบัดด้วยวิธีนี้จะช่วยปรับทัศนคติทางด้านความคิดจากเชิงลบไปในทิศทางเชิงบวก สอนวิธีการควบคุมความวิตกกังวล ผ่านการผ่อนคลายและการหายใจ เป็นต้น
  • การบำบัดด้วยการสัมผัส การบำบัดด้วยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ปวยค่อย ๆ เผชิญหน้ากับสถานการณ์ทางสังคมแทนที่จะหลีกเลี่ยง
  • การบำบัดกลุ่ม จะช่วยให้คุณเรียนรู้ทักษาะทางสังคมและเทคนิคในการโต้ตอบกับผู้คนในสภาพแวดล้อมทางสังคม การเข้าร่วมการบำบัดแบบกลุ่มกับผู้อื่นที่มีความกลัวเช่นเดียวกันอาจช่วยให้คุณรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาโรคกลัวการเข้าสังคม

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษา โรคกลัวการเข้าสังคม ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์และยาเสพติด รวมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี่ส่วนผสมของคาเฟอีนและนิโคติน เพราะอาจทำให้เกิดความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นได้
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ แนะนำให้นอนหลับอย่างน้อยวันละ 8 ชม.

หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Social anxiety disorder (social phobia). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/social-anxiety-disorder/symptoms-causes/syc-20353561. Accessed  December 14 2020.

What Is Social Anxiety Disorder?. https://www.webmd.com/anxiety-panic/guide/mental-health-social-anxiety-disorder#1. Accessed  December 14 2020.

Social Anxiety Disorder. https://www.healthline.com/health/anxiety/social-phobia. Accessed  December 14 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/12/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เอ็กซ์โทรเวิร์ต (Extrovert) บุคลิกภาพของผู้ที่ชื่นชอบการเข้าสังคม เป็นชีวิตจิตใจ

วิธีที่จะช่วยให้ ผู้ป่วย โรคกลัวการเข้าสังคม เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 18/12/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา