backup og meta

มองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว อาการประหลาดทางจิตเภทที่คุณอาจไม่เคยรู้จัก!

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 15/09/2020

    มองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว อาการประหลาดทางจิตเภทที่คุณอาจไม่เคยรู้จัก!

    วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับการมองมุมกลับ หรือที่เรียกว่าการ “มองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว” ฟังดูแล้วอาจไม่น่าเชื่อ แต่มันเป็นเรื่องประหลาดที่เกิดขึ้นจริง โดยจัดเป็นอาการทางจิตเภทที่หาได้ยาก น้อยคนนักที่จะมีอาการนี้ แทบจะเรียกได้ว่ามี 1 ในหลายล้านคนเลยทีเดียว จะมีลักษณะอาการ และวิธีการรักษาอย่างไร เรามาทำความรู้จักกับอาการดังกล่าว ให้มากขึ้นกันค่ะ

    มองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว (Spatial orientation phenomenon) 

    อาการมองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว (Spatial orientation phenomenon) เป็นอาการทางจิตเภทที่หาได้ยาก น้อยคนนักที่จะมีอาการนี้ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาท ส่งผลให้ทิศทางการมองเห็นเปลี่ยนไป

    อาการดังกล่าวนี้อาจดูน่าเหลือเชื่อสำหรับคนอื่น ๆ แต่สำหรับ  Bojana Danilovic พนักงานสภาชาวเซอร์เบีย วัย 28 ปี ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เธอมีอาการผิดปกติทางระบบประสาท ที่เรียกว่า “อาการมองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว” ทำให้เธอมองเห็นภาพทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว เช่น การอ่านหนังสือและการเขียนหนังสือกลับหัว

    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเธอจะมีอาการผิดปกติทางสมองที่มองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้และการมองเห็นของเธอเลย สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

    อาการมองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว หนึ่งในอาการทางจิตเภท

    อาการมองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัวเป็นอีกหนึ่งในอาการทางจิตเภทที่ยังไม่มีข้อระบุถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาท ซึ่งสาเหตุของโรคทางจิตเภททั่วไปอาจเกิดจากสาเหตุและปัจจัยดังต่อไปนี้

    • ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
    • สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคทางจิตเภท
    • ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์มารดา เช่น การขาดสารอาหาร การได้รับสารพิษ
    • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

     วิธีการรักษา

    ในปัจจุบันยังไม่มีข้อระบุที่แน่ชัดถึงวิธีการรักษาอาการมองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว ดังนั้นผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอยู่เสมอ เนื่องจากอาการทางจิตเภทเป็นภาวะที่อยู่กับเราไปตลอดชีวิต โดยวิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่แพทย์จะใช้วิธีการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้

    • การรักษาด้วยยา แพทย์จะแนะนำยาเพื่อบรรเทาอาการผู้ป่วย เช่น ยาริสเพอริโดน (Risperdal) ยาควิไทอะปีน (Quetiapine) ไซพราซิโดน (Ziprasidone) ยาโคลซาปีน (Clozapine) ยาฮาโลเพอริดอล (Haldol) เป็นต้น
    • การให้คำปรึกษาและการบำบัด แพทย์อาจให้คำปรึกษาและบำบัดผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
    • ให้คำปรึกษาดูแลแบบองค์รวม แพทย์จะใช้วิธีการรักษาโดยให้ผู้ป่วยรับประทานยาร่วมกับการให้คำแนะนำผู้ป่วยและคนในครอบครัว ซึ่งวิธีนี้อาจช่วยลดอาการของผู้ป่วยได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 15/09/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา