backup og meta

คันหูก็ต้อง แคะหู แคะหูอย่างไรให้ถูกวิธี และแคะหูบ่อยแค่ไหนถึงจะดีที่สุด

คันหูก็ต้อง แคะหู แคะหูอย่างไรให้ถูกวิธี และแคะหูบ่อยแค่ไหนถึงจะดีที่สุด

คันหูไม่รู้เป็นอะไร แต่ถ้าขี้หูเยอะไป อาจถึงเวลาที่จะต้อง แคะหู ได้แล้ว แต่การแคะหูที่ดูเป็นเรื่องทั่วไปนี้ ก็จำเป็นจะต้องทำให้ถูกวิธีเหมือนกัน เพราะอาจเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่จะเป็นอันตรายต่อหูได้หากไม่ระวัง หรือทำไม่ถูกวิธี วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาบอกวิธีแคะหูที่ถูกต้องกันค่ะ 

ทำไมถึงต้อง แคะหู

ขี้หู เป็นสิ่งที่ร่างกายของเราสร้างขึ้นจากการสะสมเอาทั้งสิ่งสกปรก แบคทีเรีย หรือเศษซากเล็กน้อยต่างๆ หมักหมมกันจนมีลักษณะคล้ายกับขี้ผึ้งหรือที่เราเรียกว่าขี้หูนั่นเอง

ตามปกติแล้วขี้หูสามารถกำจัดออกไปได้ผ่านกลไกธรรมชาติของร่างกายที่เรียกว่าการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของอวัยวะช่วงกราม เช่น การเคี้ยวอาหาร การดูดน้ำ การเป่า หรือแม้แต่การสนทนากัน แต่กระบวนการนี้อาจจะต้องใช้เวลานานสักหน่อยกว่าที่ขี้หูจะออกมาจากหูได้หมด

ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดเอาขี้หูออกไปก็คือการแคะหูนั่นเอง เพราะถ้าปล่อยให้ขี้หูหมักหมมเป็นจำนวนมากต่อไปเรื่อยๆ จะมีผลต่อการสะสมสิ่งสกปรกเอาไว้กับตัว อาจมีผลต่อการได้ยิน และทำให้เสียบุคลิกภาพได้ด้วย

แคะหูอย่างไรให้ถูกวิธี

การแคะหูก็จำเป็นต้องใช้ศิลปะในการแคะหูเหมือนกับการแกะสลักหรือการทำงานประดิษฐ์อื่นๆ เพราะถ้าแคะแรงไปก็เสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บ แต่ถ้าแคะเบาไปก็อาจจะไม่สามารถกำจัดขี้หูออกไปได้หมด ดังนั้นเพื่อให้การแคะหูเป็นไปด้วยความปลอดภัยและถูกต้องตามหลักของการทำความสะอาดหู

วิธีที่ดีที่สุดคือการไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับหู เพื่อที่จะได้รับการดูแลและทำความสะอาดหูอย่างถูกต้องและปลอดภัยที่สุด อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถไปพบคุณหมอได้ ก็ยังสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ที่บ้านแบบง่ายๆ 

  • เริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดหูภายนอก บริเวณใบหูทั้งหน้าและหลัง
  • ใช้ดรอปเปอร์หรือที่หยดน้ำ หยดเบบี้ออยล์ หรือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) ลงไปในรูหูเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ขี้หูมีความชื้นและอ่อนตัวลง สามารถแคะออกได้โดยง่าย
  • เอียงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง ค่อยๆ แหย่ก้านสำลีหรืออุปกรณ์แคะหูเข้าไปทีละนิดด้วยความเบามือ
  • เมื่อแคะขี้หูออกมาได้มากที่สุดแล้ว ทำความสะอาดหูด้วยน้ำสะอาดหรือเบบี้ออยล์อีกครั้ง แล้วเช็ดให้แห้ง

ข้อควรระวังเมื่อต้องแคะหูด้วยตนเอง

  • ใส่ใจเรื่องของอุปกรณ์

หากเลือกใช้สำลีก้านในการแคะหู ควรเช็กความแน่นของสำลีเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันไม่ให้สำลีเกิดการหลุดออกจากก้านขณะที่กำลังแคะหู รวมถึงเช็กความแข็งแรงของก้านสำลีด้วย หากก้านสำลีไม่แข็งแรง เสี่ยงที่จะหักหรืององ่ายจนเกินไป ไม่ควรใช้ เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุขณะแคะหูได้

  • ของเหลวสำหรับใช้ที่หู

สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ทั้งเบบี้ออยล์ หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เวลาหยด ควรหยดด้วยดรอปเปอร์ เพื่อให้สามารถพยดของเหลวเหล่านี้ลงไปที่ช่องหูได้ตรงจุด ข้อควรระวังคือควรหยดเพียงนิดเดียว เพราะถ้ามากเกินไปอาจเกิดปัญหาน้ำเข้าหูหรือของเหลวเข้าหูได้

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่มีอาการแพ้ เช่น แพ้เบบี้ออยล์ แพ้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์  ควรหลีกเลี่ยง และใช้ของเหลวแบบอื่นๆ แทน

  • แรงที่ใช้

ควรใช้แรงที่พอดี ไม่เบาจนเกินไป หรือแรงจนเกิดไป เพราะถ้าออกแรงมากเกินไป อาจเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการระคายเคืองในหู หรืออาจเป็นการอัดให้ขี้หูเข้าไปลึกมากกว่าเดิมก็ได้

  • สภาพแวดล้อม

สภาพแวดล้อมในการแคะหูก็เป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม ควรแคะหูในสถานที่ที่ไม่มีการพลุกพล่านทั้งของคนหรือสัตว์เลี้ยง ควรเป็นสถานที่สงบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีใครมาวิ่งหรือเดินชนขณะที่กำลังแคะหู เพราะเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายรุนแรงได้ หากหกล้มไปข้างใดข้างหนึ่งโดยที่ยังมีก้านสำลีอยู่ในหู

เราควร แคะหู บ่อยแค่ไหน

ขี้หูแม้จะเป็นสิ่งสกปรกที่ร่างกายสร้างขึ้น หากแต่ก็มีประโยชน์ต่อหูเช่นเดียวกัน เพราะขี้หูจะช่วยกรองสิ่งสกปรกที่จะเข้ามาในช่องหู ป้องกันไม่ให้รูหูแห้งจนเกิดอาการคัน ทั้งยังมีส่วนช่วยในการต้านแบคทีเรียในหูด้วย

ความจริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องแคะหูด้วยซ้ำ เพราะร่างกายมีกลไกในการกำจัดขี้หูออกได้ด้วยตัวเอง ผ่านการเคลื่อนไหวของช่วงกรามในเวลาที่เคี้ยวอาหารหรือเวลาที่มีการขยับกราม แต่ด้วยระยะเวลาที่ช้าเกินไปกว่าที่ขี้หูจะเคลื่อนตัวออกไปได้หมด ขี้หูก็อาจจะอัดแน่นและเต็มช่องหูไปแล้ว ซึ่งการที่มีขี้หูเยอะจะส่งผลถึงการได้ยินด้วย ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีการแคะหูในกรณีที่ขี้หูมีมากจนเกินไป

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีคำแนะนำถึงความถี่บ่อยในการแคะหูออกมาอย่างชัดเจน จึงอาจจำเป็นจะต้องอาศัยการสังเกตง่ายๆ คือสำรวจที่ใบหูดูว่ามีขี้หูไหลเยอะออกมาจนถึงบริเวณใบหูส่วนหน้าอย่างเห็นได้ชัดหรือเปล่า หรือรู้สึกว่าช่วงนี้มีการสูญเสียการได้ยินไหม หรือรู้สึกว่ามีอะไรอุดตันอยู่ในหูหรือไม่ หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้รู้สึกได้ว่าจะต้องแคะหูก็สามารถที่จะแคะหูและทำความสะอาดหูได้เลย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Clean Your Ears. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/how-to-clean-your-ear#1. Accessed on August 20, 2020.

Tips for Cleaning Your Ears Safely. https://www.healthline.com/health/how-to-clean-your-ears. Accessed on August 20, 2020.

How Often Should I Have Earwax Removal?. https://earhealth.co.nz/how-often-should-i-have-earwax-removal/. Accessed on August 20, 2020.

5 Mistakes You’re Making Cleaning Your Ears. https://www.health.com/mind-body/ear-cleaning-mistakes. Accessed on August 20, 2020.

Earwax blockage. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/earwax-blockage/diagnosis-treatment/drc-20353007. Accessed on August 20, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/09/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

การใช้หูฟัง ให้ปลอดภัย ไม่สูญเสียการได้ยิน

ขี้หูอุดตันปัญหาที่ไม่ควรละเลย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 09/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา