backup og meta

ไม่น่าเชื่อ! โรคกลัวทะเล มีอยู่จริง มารู้จักโรคแปลกใหม่นี้กันเถอะ

ไม่น่าเชื่อ! โรคกลัวทะเล มีอยู่จริง มารู้จักโรคแปลกใหม่นี้กันเถอะ

ทะเลประกอบด้วยธรรมชาติที่สวยงาม รายล้อมไปด้วยน้ำสีคราม ทรายสีนวลที่นุ่มละมุน ท้องฟ้าอันสดใส และต้นมะพร้าวที่พลิ้วไสว ทำให้ดึงดูดผู้คนมาตากแดดอาบลม เซลฟี่เก็บความทรงจำ แต่สงสัยกันไหมทำไมมีผู้คนบางกลุ่มถึงไม่ยอมลงเล่นน้ำบ้างเลย อาจเป็นเพราะว่าพวกเขากำลังเป็น โรคกลัวทะเล อยู่ก็เป็นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมารู้จักกับโรคแปลกนี้กัน

โรคกลัวทะเล (Thalassophobia) คือ

สำหรับผู้ที่มีอาการกลัวทะเล เพียงมองจากภาพถ่ายก็กลัวจนตัวสั่นแล้ว เพราะจินตนาการไปไกลว่าภายใต้ท้องทะเลจะมีอะไรซุกซ่อนอยู่จากพื้นผิวที่เราไม่มองเห็นหรือเปล่า

โรคกลัวทะเล (Thalassophobia) คือโรคที่จัดอยู่ในประเภทของความหวาดกลัวเฉพาะเมื่อมองดู หรือสัมผัสกับแหล่งน้ำที่มีบริเวณกว้างใหญ่ ลึก และมืด ทำให้การทำงานด้านจิตใจ รวมถึงสมองของคุณนั้นเกิดอาการวิตกกังวลทันที สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (NIMH) เผยว่าโรคนี้เป็นกลุ่มอาการผิดปกติทางจิตไม่มีอันตรายร้ายแรงซึ่งพบได้ในหมู่ประชากรทั่วไปที่กลัวสภาพแวดล้อมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น โรคกลัวชุมชน โรคกลัวที่แคบ โรคกลัวรู 

อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลัง กลัวทะเล

  • อัตราการเต้นหัวใจถี่ขึ้น หรือหายใจเร็ว
  • เหงื่อออกทั่วร่างกาย
  • วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้
  • เกิดอารมณ์เกลียดชัง หงุดหงิด
  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • กระสับกระส่าย
  • วิตกกังวลมากกว่าปกติ
  • เสียขวัญจนทำให้การนอนหลับผิดปกติ (นอนไม่หลับ)

หากคุณจำเป็นที่ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้ ขอให้คุณอยู่ในระยะที่พอเหมาะเพื่อป้องกันการเกิดอาการข้างต้น

สาเหตุที่ทำให้คุณ กลัวทะเล อย่างไม่มีเหตุผล

มีหลายปัจจัยด้วยกันที่ทำให้คุณเกิดอาการกลัวทะเล มหาสมุทร หรือแหล่งน้ำลึก อาจเป็นเพราะคุณเคยมีความทรงจำฝังใจที่ไม่ดีต่อแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม : การที่คนรอบข้าง หรือคนในครอบครัวของคุณเป็นโรคกลัวทะเล จนนำมาสู่การถ่ายทอดอาจเป็นในรูปแบบบอกเล่า เพื่อสร้างความปลอดภัย คุณจึงจดจำสิ่งที่ถูกถ่ายทอด และทำให้ติดตัวคุณมาจนถึงปัจจุบัน
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม : คือสิ่งที่คุณเคยประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่ดีมาก่อนไม่ว่าในรูปแบบที่พบเจอด้วยตัวเอง หรือตามแหล่งข่าว เช่น เหตุการณ์เกือบจมน้ำ เห็นคนจมน้ำทุรนทุราย ดูสารคดีเกี่ยวกับสัตว์ใต้ทะเลมากเกินไป เมื่อพบเห็นสถานที่นั้นจึงไปกระตุ้นด้านความคิด และจิตใจ ทำให้เกิดอาการสั่นกลัว
  • ปัจจัยการพัฒนาของสมอง : เมื่อไม่ได้รับการบำบัดช่วยเหลือ การพัฒนาของสมองอาจตอบสนองต่อความกลัวโดยอัตโนมัติ และการทำงานของระบบประสาทวนอยู่ที่เดิมทำให้ไม่สามารถควบคุมต่อความกลัวนี้ได้

รู้ไหม โรคกลัวทะเล สามารถรักษาให้หายได้นะ

เช็คอาการของคุณ และเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทางแพทย์อาจให้คุณเข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดจิตใจที่ผิดปกติ (CBT) ตามโปรแกรมการบำบัด ซึ่ง นักจิตวิทยาจะสอนให้คุณควบคุมอารมณ์ความรู้สึก พฤติกรรมบางอย่าง และเปลี่ยนวิธีการคิดให้จากลบเป็นบวกอย่างมีระบบ การบำบัดนี้ยังเหมาะกับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอีกด้วย

ในแหล่งข้อมูลการศึกษาที่น่าเชื่อถือแห่งหนึ่ง ปี 2013 นักวิจัยใช้เทคนิค การสร้างภาพประสาท (neuroimaging) เพื่อตรวจสอบผลกระทบของ (CBT) ต่อความผิดปกติบางประการของอาการกลัว นักวิจัยพบว่าการบำบัดด้วยวิธีนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเส้นทางประสาทของสมอง มีผลในเชิงบวกด้านความคิด และการไตร่ตรองเหตุผล

สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบภายในจิตใจ นักบำบัดอาจให้คุณเผชิญกับสิ่งที่คุณกลัวโดยตรง เช่น การดูวิดิโอเกี่ยวกับข้องกับมหาสมุทร หรือพาคุณไปชายหาดนั่งจุ่มเท้า โดยมีนักบำบัดอยู่ใกล้ๆ เมื่อเวลาผ่านไปร่างกายคุณอาจคุ้นชิน และสามารถสลายความกลัวของโรคนี้เองได้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Coping With the Fear of the Ocean https://www.verywellmind.com/thalassophobia-fear-of-the-ocean-4692301 Accessed December 18, 2019.

How to Overcome Your Fear of the Ocean https://www.healthline.com/health/anxiety/fear-of-the-ocean . Accessed December 18, 2019.

What Is Thalassophobia And How Can You Cope with It? https://www.betterhelp.com/advice/phobias/what-is-thalassophobia-and-how-can-you-cope-with-it/ . Accessed December 18, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Ploylada Prommate


บทความที่เกี่ยวข้อง

ออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อย่างไร

คิดมาก หวาดระแวง เป็นปัญหาสุขภาพจิตหรือเปล่า


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา