backup og meta

สุขภาพฟันเด็ก กับปัญหาและสาเหตุที่แค่แปรงฟันอย่างเดียวอาจไม่พอ

สุขภาพฟันเด็ก กับปัญหาและสาเหตุที่แค่แปรงฟันอย่างเดียวอาจไม่พอ

การดูแลช่องปาก และรักษาสุขภาพฟันของลูกน้อย เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องใส่ใจ แต่การดูแลสุขภาพช่องปากลูกน้อยด้วยการแปรงฟันบ่อย ๆ เพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะสาเหตุและปัญหาที่ส่งผลต่อ สุขภาพฟันเด็ก มีมากมาย คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขภาพฟันของลูกให้ดี ทั้งฟันแท้และฟันน้ำนม เพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุและปัญหาสุขภาพฟันในเด็กที่พบได้บ่อย ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพร้ายแรงกว่าแค่ฟันผุ วันนี้ Hello คุณหมอ มีสาเหตุและปัญหาสุขภาพฟันเด็กที่พบได้บ่อยมาฝากกันค่ะ

สาเหตุและปัญหา สุขภาพฟันเด็ก ที่พบบ่อย

ฟันผุ

ฟันผุเป็นปัญหาสุขภาพฟัน ที่พบได้บ่อยในเด็ก เพราะนิสัยที่ เด็กชอบกินของหวาน ไม่ว่าจะเป็นเค้ก คุกกี้ น้ำอัดลม และไม่ค่อยชอบแปรงฟัน หรือทำความสะอาดฟันไม่ถูกวิธี ทำให้มีคราบอาหารและน้ำตาลติดอยู่บนฟัน ซึ่งแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในปาก จะกินน้ำตาลเป็นอาหารที่ติดอยู่ตามฟันเหล่านั้น และเจริญเติบโตจนทำให้ฟันผุ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถป้องกันไม่ให้ลูกมีฟันผุได้ ด้วยการให้ลูกงดของหวาน รับประทานของว่างที่ดีต่อสุขภาพแทน เช่น ผลไม้ สมูทตี้ และให้ลูกแปรงฟันทุกวัน วันละสองครั้ง เช้าและก่อนนอน

การดูดนิ้วหัวแม่มือ

การดูดนิ้วหัวแม่มือ ถือเป็นความสุขอย่างหนึ่งในวัยเด็ก แต่ก็เป็นสาเหตุของสุขภาพฟันที่น่ากังวลอยู่ไม่น้อย แม้ว่าการดูดนิ้วจะเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของเด็กทุกคน แต่ถ้าลูกของคุณอายุเกิน 5 ขวบแล้ว ยังไม่เลิกดูดนิ้ว ก็จะทำให้เกิดปัญหากับฟันได้ เพราะเป็นวัยที่ฟันแท้เริ่มงอกการดูดนิ้วในวัยนี้จะส่งผลเสียต่อการเรียงตัวของฟัน ทำให้ขากรรไกรผิดรูป เพดานปากผิดปกติ และกระทบกับพัฒนาการในการพูดด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงควรหาวิธีให้ลูกเลิกดูดนิ้ว เช่น เบี่ยงเบนความสนใจด้วยของเล่น ชวนวาดรูป ระบายสี มือลูกจะได้ไม่ว่าง

การดูดปาก

การดูดปาก หรือกัดริมฝีปาก ก็เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่เด็กรวมถึงผู้ใหญ่หลายคนชอบทำ และบ่อยครั้งก็ทำไปโดยไม่รู้ตัว แต่สำหรับเด็ก โดยเฉพาะยิ่งถ้าชอบดูดนิ้วด้วยแล้ว การดูดปากหรือกัดริมฝีปากจนติดเป็นนิสัยก็ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันได้เช่นกัน เพราะอาจส่งผลให้ฟันเรียงตัวผิดรูป และมีปัญหาในการพูดได้ พ่อแม่ควรสังเกตพฤติกรรมนี้ และพยายามเบี่ยงเบนความสนใจหากรูปดูดปากหรือกัดริมฝีปาก เพื่อไม่ให้ติดเป็นนิสัย

การกัดฟัน

การกัดฟัน หรือการนอนกัดฟัน (Bruxism) เป็นประจำ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ อาจกลายเป็นนิสัยที่ส่งผลให้ฟันเสียหายถาวรได้ เช่น ฟักสึกอย่างรุนแรง ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ทำให้ขากรรไกรผิดปกติ การที่เด็กชอบกัดฟันอาจเกิดมาจากปัญหาสุขภาพกาย เช่น ฟันบนกับฟันล่างสบกันผิดปกติ ปวดฟันก็เลยกัดฟันเพื่อลดอาการปวด หรือปัญหาทางอารมณ์ เช่น ความเครียด โกรธ วิตกกังวล เด็กที่สมาธิสั้นก็อาจชอบกัดฟัน รวมถึงการใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น สมองพิการ (Cerebral Palsy) ก็สามารถทำให้เด็กกัดฟันได้เช่นกัน

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกของคุณชอบกัดฟัน ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจรักษาฟัน คุณหมออาจสั่งให้ใส่ฟันยาง เพื่อป้องกันไม่ให้นอนกัดฟัน คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถช่วยให้ลูกกัดฟันน้อยลงได้ ด้วยการทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด เช่น ให้อาบน้ำอุ่น ฟังเพลง อ่านหนังสือก่อนนอน

การดุนลิ้น

การดุนลิ้น หรือการเอาลิ้นดุนหรือดันฟันหน้า ส่วนใหญ่เด็กมักเอาลิ้นดุนฟันบน แต่บางครั้งก็อาจดุนฟันล่างด้วย พฤติกรรมนี้สามารถส่งผลเสียต่อฟัน ทำให้ฟันยื่นและห่าง ทั้งยังอาจส่งผลให้มีปัญหาด้านการพูดได้ด้วย หากพบว่าลูกชอบเอาลิ้นดุนฟัน ควรพาไปพบนักแก้ไขการพูด (Speech pathologist) ที่จะช่วยวางแผนการรักษา เพื่อช่วยพัฒนากล้ามเนื้อในการเคี้ยว และฝึกให้เด็กกลืนอาหารอย่างถูกต้อง

ฟันหักเร็ว

เด็กๆ ที่สูญเสียฟันก่อนวัยอันควรทั้งจากฟันผุ การบาดเจ็บ มีช่องว่างของขากรรไกร หรือฟันน้ำนมหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้น ก็อาจทำให้ฟันซี่ข้างเคียงล้มหรือเอียงมาปิดช่องว่าง จนไม่มีพื้นที่เหลือพอให้ฟันแท้งอกขึ้นมาได้ เมื่อฟันแท้งอกขึ้นมาจึงอาจมีปัญหาฟันคุด ฟันเก ฟันซ้อน ซึ่งสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น เคี้ยวอาหารยาก ขากรรไกรผิดปกติ เป็นต้น

หากลูกของคุณสูญเสียฟันก่อนเวลา และฟันแท้ยังไม่ขึ้น ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใส่เครื่องมือกันฟันล้ม หรือเครื่องมือกันช่องว่าง (Space Maintainer) ที่ทำจากพลาสติกหรือโลหะ เมื่อฟันแท้ขึ้นจึงค่อยถอดเครื่องมือนี้ออก

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Oral Health Problems in Children. https://www.webmd.com/oral-health/oral-health-problems-children#1. Accessed February 9, 2017

Oral Health Problems in Children. https://www.medicinenet.com/oral_health_problems_in_children/article.htm. Accessed February 9, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/09/2020

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

แปรงฟันให้ลูก และวิธีดูแลช่องปากที่ถูกต้อง

วิธีสังเกต เด็กใช้ยาสีฟันมากเกินไป หรือเปล่า


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 01/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา