backup og meta

บอกลาเหงือกอักเสบด้วย วิธีเยียวยาเหงือกอักเสบ ง่ายๆ ที่คุณก็ทำได้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    บอกลาเหงือกอักเสบด้วย วิธีเยียวยาเหงือกอักเสบ ง่ายๆ ที่คุณก็ทำได้

    เหงือกอักเสบ เป็นโรคที่เหงือกเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในเหงือก แปรงฟันทีไรก็มักจะมีเลือดออกมาด้วยเกือบทุกครั้ง หากยังไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลต่อสุขภาพช่องปากอื่นๆ อีกด้วย บางครั้งหากทิ้งไว้นาน เนื้อเยื่อรอบๆ ฟัน อาจหลุด ยิ่งไปกว่านั้นอาจทำให้ฟันโยกและหลุดออกมาในที่สุด ใครที่รู้ว่ามีปัญหาเหงือกอักเสบ อ่านบทความนี้แล้วลองทำตามได้นะคะ เรามี วิธีเยียวยาเหงือกอักเสบ ง่ายๆ ที่จะช่วยลดปัญหาเหงือกอักเสบได้อยู่หมัด ลองไปอ่านกันค่ะ

    สาเหตุที่ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ

    เหงือกอับเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์บนฟัน หรือคราบสกปรกที่เกาะตามฟันของเรานั่นแหละค่ะ แต่หากเราแปรงฟันอย่างถูกวิธีก็สามารถขจัดคราบพวกนี้ได้แล้ว เมื่อไม่ได้ดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม เจ้าคราบจุลินทรีย์พวกนี้ก็จะเกาะตามเหงือก เมื่อสะสมมากๆ ก็จะนำไปสู่ โรคเหงือกอักเสบ สัญญาณเตือนแรกๆ ที่ทำให้เรารู้ว่าเหงือกอักเสบคือ เริ่มมีเลือดออกตามไรฟันเวลาแปรงฟัน แต่หากยังนิ่งนอนใจ ไม่รักษาอย่างถูกวิธี จากโรคเหงือกอักเสบก็จะลามไปเป็นโรคปริทันต์ได้ หรืออาการเหงือกอักเสบอาจรุนแรงขึ้นจนเนื้อเยื่อรอบๆ มีการหลุด จนไม่สามารถทำให้ฟันเรียงอย่างมั่นคง จนฟันโยกและอาจรุนแรงจนฟันหลุดได้

    วิธีเยียวยาเหงือกอักเสบ ง่ายๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้าน

    การรักษาสุขภาพเหงือกให้แข็งแรงไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่ต้องใช้ความสม่ำเสมอในการดูแล วันนี้เรามีวิธีดูแลสุขภาพเหงือกแบบง่ายๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้านมาฝากกัน เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก แถมประหยัดอีกต่างหาก ที่สำคัญต้องแปรงฟันกำจัดคราบจุลินทรีย์อย่างถูกวิธีด้วย การเยียวยาเหงือกอักเสบแบบบ้านๆ เป็นวิธีการที่ปลอดภัย แต่หากคุณกำลังตั้งครรภ์ ให้นมลูก หรือมีอาการป่วยอื่นๆ ควรต้องขอคำแนะนำจากหมอร่วมด้วย เมื่อลองทำแล้วยังมีอาการรุนแรงอยู่ รู้สึกปวดมาก หรือมีเลือดออกควรไปปรึกษาแพทย์

    กลั้วปากด้วยน้ำเกลือ

    น้ำเกลือมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการล้างปากด้วยน้ำเกลือสามารถบรรเทาอาการเหงือกอักเสบที่เกิดจากโรคเหงือกอักเสบได้

    กลั้วปากด้วยน้ำมันตะไคร้

    จากการศึกษาในปี 2558 พบว่า น้ำมันตะไคร้มีประสิทธิภาพในการลดคราบพลัคที่เป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบได้ โดยหยดน้ำมันตะไคร้ 2-3 หยดลงในน้ำเปล่า กลั้วให้ทั่วปากแล้วบ้วนทิ้ง ทำซ้ำวันละ 3 ครั้ง

    กลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าว

    การกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าวอาจช่วยลดแบคทีเรียในช่องปาก น้ำมันมะพร้าวยังขจัดคราบจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคเหงือกอักเสบได้ จากผลการวิจัยพบว่าน้ำมันมะพร้าวมีส่วนในการช่วยลดคราบจุลินทรีย์ หากใช้น้ำมันมะพร้าว 2 ช้อนชา กลั้วให้ทั่วทั้งปากจะช่วยลดการเกิดโรคเหงือกอักเสบได้

    เจลขมิ้น

    ขมิ้นถูกนำมาใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อเยียวยาอาการต่างๆ มากมาย เนื่องจากคุณสมบัติต้านการอักเสบ และต่อต้านเชื้อราแล้ว งานวิจัยในปี 2558 ยังบอกอีกว่า เจลขมิ้นช่วยในการป้องกันคราบจุลินทรีย์และโรคเหงือกอักเสบ โดยทาเจลขมิ้นทิ้งไว้ 10 นาทีก่อนล้างออกด้วยน้ำสะอาดเท่านี้ก็ช่วยรักษาเหงือกอักเสบได้แล้ว

    กานพลู

    กานพลูถือเป็นสมุนไพรที่มีส่วนช่วยในการลดอาการปวด แต่ยังไม่มีงานวิจัยในการใช้กานพลูลดอาการปวดมากนัก แต่กานพลูมีคุณสมบัติในการป้องกันคราบจุลินทรีย์และลดการอักเสบ นอกจากนี้กานพลูยังมีคุณสมบัติต้านไวรัสและมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย กานพลูจึงอาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้ วิธีใช้ส่วนใหญ่อาจใช้น้ำมันกานพลูชุบสำลีแล้วทาบริเวณที่ปวด หรือจะทุบๆ ก้านกานพลูแล้วอมไว้ก็ได้เช่นกัน

    เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู

    จริงๆ แล้วเบกกิ้งโซดามีคุณสมบัติคล้ายเกลือ ที่มีส่วนช่วยในการฆ่าเชื้อ และช่วยในการป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมปริมาณกรดในปาก ป้องกันโรคเหงือกอีกด้วย โดยใช้เบกกิ้งโซดา 1 ส่วน 4 ช้อนชา ผสมน้ำเล็กน้อย นำไปทาไว้ที่เหงือกประมาณ 2 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ทำสัปดาห์ละ 3 ครั้งเท่านี้ก็ช่วยลดโรคเหงือกอักเสบได้แล้ว

    ใบฝรั่ง

    ใบฝรั่งเป็นอีกหนึ่งสิ่ง ที่สามารถบรรเทาอาการเหงือกเสบได้ แถมยังหาได้ง่ายอีกด้วย ใบฝรั่งมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีอีกด้วย เพียงใช้ใบฝรั่ง 2-3 ใบเคี้ยว 2-3 นาที วันละ 2 ครั้ง เท่านี้ก็ช่วยบรรเทาอาการเหงือกอักเสบได้แล้ว

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา