backup og meta

ประจำเดือนมา2ครั้ง ในเดือนเดียว ผิดปกติไหม

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 13/07/2023

    ประจำเดือนมา2ครั้ง ในเดือนเดียว ผิดปกติไหม

    ประจำเดือนมา2ครั้ง ในเดือนเดียวกัน เป็นเรื่องผิดปกติหรือไม่ ? ตามปกติ รอบเดือนของผู้หญิงแต่ละรอบอยู่ที่ 28-35 วัน หากความถี่ของประจำเดือนมากกว่านั้นในแต่ละเดือน อาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพ เช่น เข้าสู่วัยรุ่น เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ภาวะเครียด เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ปัญหาต่อมไทรอยด์ หากประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอร่วมกับมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องรุนแรง เลือดออกระหว่างรอบเดือน มีบุตรยาก ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมและรับการรักษาตามสาเหตุ

    ประจำเดือนมา2ครั้ง เกิดจากอะไร

    ประจำเดือนมา2ครั้ง ในเดือนเดียวกัน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้

    • เริ่มต้นเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์

    ผู้หญิงที่เพิ่งเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรืออยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนต้น จะพบกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลายประการ ทั้งหน้าอกที่ขยายใหญ่ขึ้น เอวคอดลง เป็นสิว อารมณ์แปรปรวน รวมไปถึงการมีประจำเดือน ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ประจำเดือนในช่วงแรก ๆ อาจมาไม่ปกติ อาจมาไม่กี่เดือนแล้วหยุดไป หรือประจำเดือนมา2ครั้ง ทั้งนี้ เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว ประจำเดือนก็มักจะกลับมาเป็นปกติในที่สุด

    • ระยะก่อนหมดประจำเดือน

    ในช่วงที่ร่างกายเตรียมเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง ระดับฮอร์โมนค่อนข้างแปรปรวนจึงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ในบางเดือนอาจมีประจำเดือนมาน้อย ประจำเดือนขาดไปหลายเดือนแล้วกลับมาใหม่ ประจำเดือนมา2ครั้ง ในเดือนเดียว เป็นต้น

    เป็นโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อมดลูกก่อตัวขึ้นในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ส่วนใหญ่จะอยู่ที่บริเวณรังไข่ และอาจลุกลามไปยังบริเวณอื่น เช่น ช่องท้อง ท่อนำไข่ กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ และส่งผลให้มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องรุนแรง ประจำเดือนมาไม่ปกติ

    • ความเครียด

    สภาพจิตใจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย ทำให้บางครั้งเมื่อผู้หญิงมีภาวะเครียดหรือต้องเผชิญกับปัญหาที่กระทบต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างมาก อาจทำให้มีประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาด หรือประจำเดือนมา2ครั้ง

    • ปัญหาต่อมไทรอยด์

    ต่อมไทรอยด์เป็นตัวควบคุมการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย หากต่อมไทรอยด์มีปัญหาบางอย่าง เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ อาจส่งผลให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานผิดปกติ และเกิดเป็นภาวะประจำเดือนมามากกว่าปกติ หรืออาจทำให้มีรอบเดือนที่สั้นลง ในบางรายอาจมีประจำเดือนมาหลายครั้งในเดือนเดียว

    นอกจากนี้ อาการประจำเดือนมา2ครั้ง อาจเกิดจากปัจจัยด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่ทำให้รอบเดือนสั้นลง เช่น

  • ภาวะไม่ตกไข่ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อไข่ไม่ตกจากรังไข่ในช่วงปกติที่ไข่ควรจะตก นอกจากทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติเนื่องจากรอบเดือนมีระยะที่สั้นลง จนอาจทำให้ประจำเดือนมา2ครั้งแล้ว ยังส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากอีกด้วย
  • เนื้องอกในมดลูก เป็นความผิดปกติของเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณมดลูกก ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ปวดหลัง ปวดอวัยวะเพศขณะมีเพศสัมพันธ์ ถ่ายปัสสาวะบ่อย รวมไปถึงทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนมา2ครั้งในเดือนเดียวได้
  • น้ำหนักเพิ่มหรือลดลงอย่างรวดเร็ว หากผู้หญิงน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น อาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน และทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้
  • การคุมกำเนิด การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น การใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ห่วงคุมกำเนิด อาจทำให้มีประจำเดือน2ครั้งได้ เนื่องจากระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงจากการรับฮอร์โมนภายนอกเข้าสู่ร่างกาย
  • เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

    สำหรับผู้ที่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่นแล้วมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ไมจำเป็นต้องรักษา เนื่องจากร่างกายจะปรับตัวได้และกลับมามีประจำเดือนที่เป็นปกติภายในเวลา 1-2 ปี แต่สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ หากมีปัญหาเกี่ยวกับความถี่ของประจำเดือน หรือมีอาการผิดปกติบางประการร่วมด้วยดังต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม

    • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มา ๆ ขาด ๆ เป็นเวลาหลายเดือนในช่วงที่อายุยังไม่เกิน 45 ปี
    • ประจำเดือนมาเร็วกว่าทุก ๆ 21 วันหรือนานกว่าทุก ๆ 35 วัน
    • ประจำเดือนมานานกว่า 1 สัปดาห์
    • ประจำเดือนมาไม่ปกติ และไม่สามารถมีบุตรได้
    • มีอาการปวดท้องมากกว่าปกติในช่วงที่เป็นประจำเดือน
    • ประจำเดือนขาดมากกว่า 3 ครั้ง ในรอบ 1 ปี
    • น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วโดยที่ไม่สามารถอธิบายได้
    • มีเลือดออกในช่วงที่ไม่เป็นประจำเดือน (เลือดออกระหว่างรอบเดือน)
    • มีเลือดออกหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 13/07/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา