backup og meta

หนองใน หรือหนองในแท้ อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

หนองใน หรือหนองในแท้ อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

หนองใน (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae) หรือโกโนคอกคัส (gonococcus) โรคนี้สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้

คำจำกัดความ

หนองใน คืออะไร

หนองใน (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae) หรือโกโนคอกคัส (gonococcus) หนองใน สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ง่ายผ่านช่องทางดังตัวอย่างต่อไปนี้

หนองในพบได้บ่อยเพียงใด

หนองในพบได้บ่อยมาก มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหนองในมีโอกาสถ่ายทอดเชื้อหนองในไปสู่ลูกได้ระหว่างการคลอดบุตร

อาการ

อาการของหนองใน

อาการที่พบได้บ่อยของโรคหนองใน ได้แก่

  • มีสารคัดหลั่งสีเขียวหรือเหลืองไหลออกจากช่องคลอดหรือองคชาต
  • ปวดเมื่อปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • ปลายองคชาต หรืออัณฑะบวมหรือแดง
  • เจ็บคอไม่หาย (ติดเชื้อที่ปาก)
  • ประจำเดือนมามาก หรือมีเลือดออกกะปริบกะปรอย
  • เจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • เจ็บแปลบบริเวณท้องส่วนล่างหรือท้องน้อย

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอทันที

  • เจ็บปวดขณะปัสสาวะ หรืออุจจาระ
  • มีของเหลวไหลออกจากช่องคลอดมากผิดปกติ
  • มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
  • คันบริเวณทวารหนัก
  • ปวดที่บริเวณรูทวารหนัก

สาเหตุ

สาเหตุโรคหนองใน

โรคหนองในเกิดจากเชื้อแบคทีเรียไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae) หรือโกโนคอกคัส (gonococcus) โรคนี้สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้อย่างได้ง่ายผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ปาก หรือทวารหนักโดยไม่สวมถุงยางอนามัยป้องกัน
  • การใช้อุปกรณ์ช่วยตัวเองหรือเซ็กส์ทอยร่วมกับผู้อื่น โดยไม่ล้างอุปกรณ์นั้นให้สะอาด หรือหุ้มด้วยถุงยางอนามัยก่อนใช้งาน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหนองใน

ปัจจัยเสี่ยงโรคหนองในมีด้วยกันหลายประการ แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางปาก โดยไม่สวมถุงยางอนามัยป้องกัน นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงในการติดโรคอาจเพิ่มขึ้น หากมีคู่นอนคนใหม่ หรือมีคู่นอนหลายคน หรือหากมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคหนองใน

คุณหมออาจวินิจฉัยโรคหนองในได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • การซักประวัติทางการแพทย์ และลักษณะอาการที่เกิดขึ้น
  • การทดสอบตัวอย่างสารคัดหลั่งที่ไหลออกมา
  • การทดสอบตัวอย่างปัสสาวะ

การรักษาโรคหนองใน

ส่วนใหญ่แล้ว คุณหมอจะรักษาโรคหนองในด้วยการฉีดยาปฏิชีวนะและให้รับประทานยาปฏิชีวนะ ควรเข้าพบคุณหมออีกครั้งหลังเข้ารับการรักษา 1-2 สัปดาห์ เพื่อตรวจสอบว่าหายติดเชื้อหรือปลอดเชื้อแล้วหรือยัง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือดูแลตนเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหนองใน

วิธีการต่อไปนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและแพร่กระจายโรคหนองในได้

  • ใช้ถุงยางสำหรับผู้ชายหรือสำหรับผู้หญิงทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนัก
  • ใช้ถุงยางอนามัยแบบครอบหรือใช้แผ่นยางอนามัย เมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
  • ไม่ใช้เซ็กส์ทอยร่วมกับผู้อื่น ควรทำความสะอาดเซ็กส์ทอยให้ดีทั้งก่อนและหลังใช้งาน และควรหุ้มด้วยถุงยางอนามัยชิ้นใหม่ทุกครั้งก่อนใช้งานด้วย
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะหายขาดจากโรค

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Gonorrhea – CDC Fact Sheet. www.cdc.gov/std/gonorrhea/stdfact-gonorrhea.htm. Accessed October 19, 2021.

What is Gonorrhea? What Causes It? https://www.webmd.com/sexual-conditions/guide/gonorrhea#2. Accessed October 19, 2021.

Gonorrhea. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gonorrhea/symptoms-causes/syc-20351774#:~:text=Gonorrhea%20is%20an%20infection%20caused,vaginal%2C%20oral%20or%20anal%20sex.Accessed October 19, 2021.

Gonorrhea. https://www.webmd.com/sexual-conditions/gonorrhea#1. Accessed October 19, 2021.

Gonorrhea. https://www.nhs.uk/conditions/gonorrhoea/. Accessed December 7, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2021

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีรักษาหนองใน กับสิ่งที่ควรรู้

หนองในเทียม อาการ สาเหตุ การรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 31/12/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา