backup og meta

ปัจจัยเสี่ยงผมบาง มีอะไรบ้าง

ปัจจัยเสี่ยงผมบาง มีอะไรบ้าง

ผมบาง อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ความเครียด การสระผมมากเกินไป การมัดผม การอาบน้ำร้อน การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็น ปัจจัยเสี่ยงผมบาง ที่ทำให้ผมขาด หลุดร่วง และเกิดปัญหาผมบาง การดูแลสุขภาพผมอย่างเหมาะสมและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ อาจช่วยแก้ปัญหาผมบาง และทำให้ผมมีสุขภาพดียิ่งขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

ปัจจัยเสี่ยงผมบาง มีอะไรบ้าง

ความเครียด

สาเหตุหลัก ๆ ที่มีส่วนทำให้ผมร่วงจนผมบาง ก็คือความเครียด เพราะความเครียดอาจเพิ่มระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งอาจส่งผลทำให้เส้นผมที่หนังศีรษะเริ่มหลุดร่วงลงมา

การอาบน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น

การอาบน้ำร้อนหรือน้ำอุ่ม อาจทำให้เส้นผมขาดความชุ่นชื้น ทำให้เส้นผมและหนังศีรษะเกิดอาการแห้ง ซึ่งหนังศีรษะและเส้นผมที่เกิดอาการแห้งจะมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เส้นผมหลุดร่วง จนกลายเป็นปัญหาผมบางตามมา

การมัดผมแน่นจนเกินไป

การมัดผมหรือรวบตึงหรือแน่นจนเกินไป มีโอกาสสูงที่จะทำให้รูขุมขนที่หนังศีรษะเกิดการตึงตัวและได้รับความเสียหายจนทำให้เส้นผมต้องหลุดร่วง

หนังศีรษะได้รับความร้อนมากเกินไป

จะด้วยความร้อนจากแสงแดด ความร้อนจากอุปกรณ์ทำผม หรือคลื่นความร้อนจากสิ่งใดก็แล้วแต่ ถ้าหากหนังศีรษะและเส้นผมได้รับไอความร้อนนั้นเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือติดต่อกันเป็นประจำ ก็จะมีผลให้หนังกำพร้าที่บริเวณหนังศีรษะเกิดความเสียหายและบางลง จนเป็นสาเหตุให้เกิด ปัญหาผมบาง

ผลข้างเคียงจากยารักษาโรค

ยารักษาโรคที่ใช้รักษาอาการทางสุขภาพบางชนิด อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิด ปัญหาผมบาง เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า ยาลดความดัน ยาต้านอาการวิตกกังวล เป็นต้น และถ้าหากผลข้างเคียงดังกล่าวไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ควรปรึกษาคุณหมอและเภสัชกรถึงการรับมือกับผลข้างเคียงหรืออาจขอเปลี่ยนยารักษาโรค

ใช้หวีที่ไม่เหมาะสม

การเลือกหวี ก็มีส่วนสำคัญต่อสุขภาพของเส้นผมและหนังศีรษะเช่นกัน โดยเฉพาะหวีที่เป็นโลหะ เพราะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความร้อนและการเสียดสีขณะที่หวีผมได้ ซึ่งหวีพลาสติกอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า แต่ควรเลือกหวีที่มีลักษณะโค้งมน มีช่องว่างระหว่างหวีที่ไม่เล็กจนเกินไป เพราะเสี่ยงจะทำให้เส้นผมเกิดการพันติดกับหวี และต้องออกแรงดึงจนเสี่ยงจะทำให้ผมขาดและร่วงได้

ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมที่ไม่เหมาะสม

ผลิตภัณฑ์สำหรับการบำรุงหนังศีรษะและเส้นผมที่วางขายกันทุกวันนี้ มีหลากหลายยี่ห้อให้เราได้เลือกซื้อและนำมาใช้ แต่ไม่ใช่ทุกผลิตภัณฑ์ที่จะเหมาะสมกับสุขภาพของหนังศีรษะและเส้นผม ดังนั้น การเลือกแชมพูหรือครีมบำรุงที่เหมาะกับสภาพหนังศีรษะ ก็จะช่วยเสริมให้หนังศีรษะสุขภาพดีและทำให้เส้นผมแข็งแรง ลด ปัญหาผมบาง ได้ด้วย

สระผมน้อยเกินไปหรือสระผมมากจนเกินไป

การไม่ค่อยสระผมอาจเสี่ยงทำให้หนังศีรษะมัน ทำให้หนังศีรษะขาดสารบำรุงจากแชมพูและครีมบำรุงผม เสี่ยงที่จะทำให้สุขภาพของหนังศีรษะแย่ลงจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการผมขาดร่วง หรือปัญหาผมบาง ได้

ขณะเดียวกัน หากสระผมบ่อยจนเกินไป ก็เสี่ยงที่จะทำให้หนังศีรษะมันได้เช่นเดียวกัน เพราะต่อมน้ำมันได้รับการกระตุ้นอยู่เสมอ รวมถึงมีผลทำให้เส้นผมหลุดร่วงในขณะที่สระผมได้ เพราะหนังศีรษะและเส้นผมมีการเสียดสี ทั้งการดึงและการขยี้ที่เส้นผมบ่อยจนเกินไป ดังนั้นการสระผมจึงควรอยู่ในขอบข่ายที่พอดี อาจจะเป็นวันละครั้ง หรือสองวันครั้ง ตามความเหมาะสมของสภาพหนังศีรษะ แต่ในหนึ่งวัน ไม่ควรสระผมมากจนเกินความจำเป็น

รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากจะส่งผลดีที่ทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงแล้ว ก็ยังเป็นผลดีต่อสุขภาพของหนังศีรษะและเส้นผมด้วย อาหารที่มีสารอาหารจำพวกโปรตีน วิตามินซี ธาตุเหล็ก สังกะสี และไขมัน ล้วนแล้วแต่เป็นสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพของหนังศีรษะ ลดปัญหาผมบาง ได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Women’s Hair Loss: Thinning Hair Causes and Solutions. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/hair-loss/ss/slideshow-womens-hair-loss. Accessed April 20, 20201.

Hair loss. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hair-loss/symptoms-causes/syc-20372926. Accessed February 28, 2022.

HAIR LOSS: WHO GETS AND CAUSES. https://www.aad.org/public/diseases/hair-loss/causes/18-causes. Accessed February 28, 2022.

Hair loss. https://www.nhs.uk/conditions/hair-loss/. Accessed February 28, 2022.

Hair loss. https://dermnetnz.org/topics/hair-loss. Accessed February 28, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/11/2022

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

มัดผมแน่น ผมร่วง จริงหรือไม่

อาการแบบไหนเข้าข่าย โรคชันนะตุ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา