backup og meta

‘ผมร่วง’ อาการไม่อันตราย แต่เสี่ยงทำสุขภาพจิตพัง!

‘ผมร่วง’ อาการไม่อันตราย แต่เสี่ยงทำสุขภาพจิตพัง!

ความจริงแล้วผมร่วงเป็นเรื่องปกติทั่วไป เพราะจากข้อมูลของสถาบันโรคผิวหนังอเมริกัน หรือ American Academy of Dermatology (AAD) พบว่าในแต่ละวันนั้นเราอาจมีผมร่วงมากถึง 50 ถึง 100 เส้น แต่เนื่องจากบนหนังศีรษะของเรามีเส้นผมมากถึง 100,000 เส้น ดังนั้น การสูญเสียเส้นผมเพียงเล็กน้อยจึงไม่สารถสังเกตได้ชัด 

อย่างไรก็ตาม บางคนอาจประสบปัญหาผมร่วงมากผิดปกติ ส่งผลทำให้ผมบาง ผมร่วงเป็นหย่อมๆ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นผมร่วงทั้งศีรษะ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลแค่ทางกายเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อสภาพจิตใจด้วย โดยบางคนอาจรู้สึกเสียความมั่นใจ โดนเพื่อนหรือคนในสังคมล้อ สร้างความอับอาย กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันหรือการเข้าสังคม และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงจนถึงขั้นเป็นภาวะซึมเศร้าได้ 

ปัญหาผมร่วง ผมบาง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างไร? 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการสูญเสียเส้นผมนั้นส่งผลกระทบต่อความมั่นใจเป็นอย่างมาก ซึ่งการขาดความมั่นใจอย่างรุนแรงนี้อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้ ดังนี้ 

  • ภาวะซึมเศร้า ผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง อาจเผชิญกับภาวะซึมเศร้า โดยอาจมีความรู้สึกไม่สบายใจ หม่นหมอง ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้างหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เคยให้ความสนุกสนานในอดีต ไม่มีแรง ไม่กระตือรือร้น และอาจมีปัญหาด้านการนอนอย่างนอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินกว่าปกติ 
  • โรควิตกกังวล นอกจากภาวะซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นได้แล้ว ผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง อาจเผชิญกับโรควิตกกังวลด้วย โดยผู้ป่วยมักจะเกิดความกังวลมากเกินไป ห่วงโน่นห่วงนี่และไม่สามารถควบคุมความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นอาการหลักของโรคนี้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการใจสั่น เหงื่อออก หายใจไม่อิ่ม และสะดุ้งตกใจง่าย
  • โรคกลัวสังคม ผู้ที่ป่วยเป็นโรคกลัวสังคมจะรู้สึกประหม่า อึดอัด กังวลใจ และไม่สบายใจ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีผู้อื่นจ้องมอง เช่น การทำกิจกรรมในที่สาธารณะ การพูดคุยกับคนที่ไม่รู้จัก หรือการนำเสนองานต่อหน้าคนจำนวนมาก โดยกังวลว่าคู่สนทนาหรือบุคคลอื่นจะสังเกตเห็นท่าทีที่ดูไม่ดีของตนเองตลอดเวลา และไม่สามารถก้าวข้ามความรู้สึกนี้ไปได้ ซึ่งผู้ที่มีปัญหาผมร่วงหรือผมบางโดยเฉพาะในเด็กหรือวัยรุ่นอาจโดนแกล้ง โดนล้อ จนทำให้รู้สึกแย่และกลายเป็นความฝังใจ จึงมีความกังวลเมื่อและกลัวเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย

แก้ผมร่วง

วิธีลดผมร่วง ผมบางด้วยตัวเอง 

  • ผ่อนคลายความเครียด ด้วยการออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง นั่งสมาธิ หรือจัดสรรเวลาในชีวิตประจำวัน เพราะความเครียดส่งผลให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เป็นกระจุก หรือที่เรียกกันว่าโรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata)  
  • หลีกเลี่ยงการทำเคมี หรือหากมีความจำเป็นต้องทำควรทำให้น้อยที่สุด และควรหลีกเลี่ยงการยืดหรือดัดผมร่วมกับการย้อมหรือกัดสีผม เพราะจะทำให้ผมแห้งเสียและหนังศีรษะเกิดการระคายเคืองอักเสบจากสารเคมีได้
  • หลีกเลี่ยงความร้อน ไม่สระผมด้วยน้ำร้อนจัด เป่าผมหรือหนีบผมด้วยความร้อนสูง
  • หลีกเลี่ยงการดึงผม การเช็ดผมแรงๆ หรือหวีผมในขณะที่ผมเปียก
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นวิตามินที่ช่วยบำรุงเส้นผม เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินดี วิตามินบี 1 3 7 (ไบโอติน) และ บี 12 อย่างไข่ ผักโขม แซลมอน อะโวคาโด ถั่ว เมล็ดธัญพืช หอยนางรม และมันเทศ เป็นต้น 
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผมที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการตายของเซลล์ และลดการอักเสบของต่อมรากผมอย่าง ฮีรูดอยด์ แอนตี้ แฮร์ลอส เอสเซ้นซ์ เพื่อช่วยยืดอายุของเส้นผมให้อยู่บนหนังศีรษะนานขึ้น ลดการขาดหลุดร่วงของเส้นผม ทำให้ผมดูหนาและมีวอลลุ่มยิ่งขึ้น

อาการผมร่วงแบบไหนที่ต้องปรึกษาแพทย์? 

โดยทั่วไปแล้วในแต่ละวันคนเราจะมีเส้นผมร่วงประมาณ 50 ถึง 100 เส้น ซึ่งในกรณีที่พบว่าผมร่วงตอนสระผมหรือเป่าผมในปริมาณที่ไม่มากถือว่าเป็นผมร่วงปกติ แต่หากมีอาการผมร่วงผิดปกติข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ 

  • ผมร่วงเป็นหย่อม ผมหลุดร่วงจนเปลี่ยนเป็นหย่อมขนาดเล็กเท่าเหรียญสิบ
  • ผมร่วงมากกว่าวันละ 70-100 เส้น สำหรับคนที่สระผมเป็นประจำเกือบทุกวัน หรือผมร่วงมากกว่าวันละ 200 เส้น ในคนที่สระผมห่างกันครั้งละ 3-4 วัน
  • ผมหลุดร่วงระหว่างวัน โดยรวมเกินวันละ 70-100 เส้น เช่น บนหมอนหลังตื่นนอนตอนเช้า ผมร่วงระหว่างนั่งทำงาน หรือขณะทำกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น

อาการผมร่วงที่ต้องพบแพทย์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

  • * ACEPA3 – Assessment of effectiveness of a capillary treatment for hair loss under normal conditions for 12 weeks, by the phototrichogram method – Anne Casoli, M.D. – 2007 – Institut Dermatologique d’Aquitaine, Martillac, France.
  • Psychological effects of hair loss. https://dermnetnz.org/topics/psychological-effects-of-hair-loss. Accessed May 18, 2023 
  • Causes and treatments for thinning hair. https://www.medicalnewstoday.com/articles/325307. Accessed May 18, 2023
  • โรคซึมเศร้าโดยละเอียด. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017.  Accessed May 18, 2023
  • โรคกลัวสังคม อาการแบบไหนถึงเข้าข่ายป่วย. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/โรคกลัวสังคม-อาการแบบไ-2/. Accessed May 18, 2023

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/10/2024

เขียนโดย Pattarapa Thiangwong

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Pattarapa Thiangwong

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

บำรุงผมด้วยหัวหอม เพื่อผมสวยสุขภาพดี

ภาวะผมร่วง ที่เกิดจากการอดนอนและนอนดึก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Pattarapa Thiangwong


เขียนโดย Pattarapa Thiangwong · แก้ไขล่าสุด 31/10/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา