backup og meta

สาเหตุและวิธีการรักษา รังแค

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

    สาเหตุและวิธีการรักษา รังแค

    รังแค คือโรคผิวหนังเรื้อรังที่เป็นความผิดปกติของหนังศีรษะ รังแคเกิดขึ้นเมื่อหนังศีรษะเกิดความแห้งหรือมัน จนส่งผลให้เกิดเซลล์ที่ตายแล้วตกสะเก็ดมากเกินไป ถึงแม้ว่ารังแคจะไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ก็อาจจะทำให้ขาดความรู้สึกไม่มั่นใจ รู้สึกตัวตัวเองสกปรก ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการรักษารังแค เพื่อช่วยแก้ไขปัญหานี้ให้อย่างเหมาะสม

    สาเหตุที่ทำให้เกิด รังแค

    หนังศีรษะก็เหมือนกับผิวหนังในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หนังศีรษะจะมีกระบวนการผลัดเซลล์ผิวและสร้างเซลล์ผิวใหม่ ในคนที่เป็นรังแค กระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การผลิตน้ำมันจากหนังศีรษะ เป็นสาเหตุจะทำให้เซลล์เหล่านั้นรวมตัวกันเป็นก้อน จนเกิดเป็นรังแค และรังแคสามารถเกิดขึ้นได้จากกระตุ้นของหลายสิ่ง ยกตัวอย่างเช่น

    • ต่อมไขมันอักเสบ ต่อมไขมันอักเสบเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่ทำให้เกิดรังแค เมื่อต่อมไขมันอักเสบ หนังศีรษะจะมีอาการแดง ระคายเคืองและมีน้ำมันปกคลุมสะเก็ดสีขาวหรือสะเก็ดสีเหลือง นอกจากหนังศีรษะแล้ว บริเวณอื่นๆ ที่มีต่อมไขมันอาจจะเกิดอาการในลักษณะเดียวกัน เช่นบริเวณ ขนคิ้ว ข้างจมูก กระดูกหน้าอก ขาหนีบ และรักแร้
    • การดูแลเส้นผมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การสระผมเป็นอีกวิธีที่ช่วยดูแลหนังศีรษะให้มีความสะอาด หากคุณไม่หมั่นสระผมเป็นประจำ น้ำมันและเซลล์ที่ตายแล้วอาจก่อให้เกิดรังแคขึ้นได้
    • เชื้อรามาเลสซีเซีย (Malassezia) มาเลสซีเซีย คือ เชื้อราที่มีลักษณะคล้ายยีสต์ ซึ่งเกิดขึ้นบนหนังศีรษะของคนเรา อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี มาเลสซีเซียอาจทำให้เกิดอาการคันหนังศีรษะ และเป็นสาเหตุหนึ่งของรังแคอีกด้วย
    • ผื่นแพ้สัมผัส การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในการดูแลเส้นผมก็เป็นอีกเรื่องที่ควรเลือกอย่างพิถีพิถัน ตรวจสอบส่วนผสมจากฉลากข้างกล่องอย่างละเอียดว่ามีส่วนผสมที่ทำให้เราเกิดอาการแพ้หรือไม่ ในบางครั้งผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม อาจทำให้เกิดการระคายเคืองบนหนังศีรษะ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดูแลส้นผมก็เป็นสาเหตุของอาการคันและรังแคอย่างหนึ่ง

    การดูแลรักษารังแค

    แม้ว่าจะไม่สามารถที่จะกำจัดรังแคออกไปได้อย่างสมบูรณ์ แต่สามารถจัดการกับมันได้ ด้วยวิธีการรักษาที่เหมาะสม

    ขั้นตอนแรก คือ การสระผมเป็นประจำด้วยแชมพูที่ปราศจากสารเคมี ลองนวดหนังศีรษะแล้วล้างออก การสระผมเป็นประจำจะช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และป้องกันการสะสมของเซลล์เหล่านั้น ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น จากการรักษาสุขอนามัยเพียงอย่างเดียว ควรเลือกแชมพูที่ช่วยขจัดรังแค แม้ว่าในแชมพูขจัดรังแคบางตัวจะสามารถใช้ได้ทุกวัน แต่ก็ยังมีแชมพูขจัดรังแคอีกมาก ที่ควรใช้เพียงสองครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น จำไว้ว่าการทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และส่วนผสมที่ดีที่ควรมีเมื่อเลือกซื้อแชมพูขจัดรังแค คือ คีโตโคนาโซล (ketoconazole) ซีลีเนียม ซัลไฟด์ (selenium sulfide) กรดซาลีซีลิก (salicylic acid) ซัลเฟอร์ (sulfur) โคลทาร์ (coal tar) หรือ ซิงค์ ไพริไธโอน (zinc pyrithione) โดยคีโตโคนาโซล ซัลเฟอร์ และโคลทาร์ ดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพดีในการต่อต้านรังแคที่เกิดจากต่อมไขมันอักเสบ กรดซาลีซีลิก (Salicylic acid) ทำงานได้ดีกว่า กับรังแคที่เกิดจากโรคสะเก็ดเงิน

    เมื่อลองหาแชมพูที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปมาใช้แล้วไม่สามารถรักษาได้ อาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง ควรการปรึกษาหมอผิวหนัง เพื่อให้หมอวิเคราะห์ ตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด และสั่งจ่ายยาที่มีความเหมาะสมกับหนังศีรษะของเรา บางครั้งหมออาจจะให้โลชั่นที่มีส่วนผสมของคอร์ติโคสเตรอรอยด์ (Corticosteriod) ซึ่งเป็นการรักษาเฉพาะจุด อย่างไรก็ตาม ควรจำไว้ด้วยว่า โลชั่นที่มีส่วนผสมของคอร์ติโคสเตรอรอยด์ สามารถทำให้ผิวบาง และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ดังนั้น ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นระยะเวลานาน เว้นแต่ว่าหมอจะแนะนำ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา