backup og meta

สบู่ ส่งผลอย่างไรต่อผิวบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 02/05/2022

    สบู่ ส่งผลอย่างไรต่อผิวบ้าง

    สบู่ เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำมันและสารละลายด่าง ทำให้เกิดฟองลื่น ๆ ที่สามารถช่วยการทำความสะอาดและชำระล้างร่างกายให้ปราศจากเชื้อโรคได้ แต่การใช้สบู่ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพผิวได้ เนื่องจากสบู่อาจลดสารแรงตึงผิวที่เป็นเกราะตามธรรมชาติของผิวหนัง ยิ่งโดยเฉพาะหากใช้สบู่ทำความสะอาดผิวบ่อย ๆ ก็อาจทำให้ผิวแห้ง ขาดความชุ่นชื้น และส่งผลเสียต่อสุขภาพผิวหนังได้

    สบู่ ทำงานอย่างไร

    การใช้สบู่มีมาตั้งแต่สมัยยุคโบราณ โดยเริ่มจากการนำไขมันจากสัตว์ มาผสมเข้ากับขี้เถ้า และเกิดเป็นสารที่สามารถช่วยชำระล้างคราบและสิ่งสกปรกได้ ในปัจจุบันนี้สบู่จะได้จากการใช้ไขมันพืช มาทำให้เกิดปฏิกิริยากับน้ำมัน และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ทำให้ได้สารที่สามารถละลายน้ำได้และเกิดฟอง กลายเป็นสบู่ที่เรารู้จักกันอยู่ในทุกวันนี้

    หน้าที่หลักของสบู่ก็คือการกำจัดสิ่งสกปรก เช่น เหงื่อ ฝุ่น และไขมันที่เกาะอยู่บนผิวหนังให้ออกไป โดยการใช้สารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่สามารถละลายไขมันได้ สิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่เกาะติดอยู่บนผิวหนังนั้น จะเกาะติดอยู่กับไขมันบนผิว สบู่จะทำหน้าที่ละลายไขมันนั้น ทำให้ไขมันรวมไปจนถึงสิ่งสกปรกนั้นไม่สามารถเกาะอยู่บนชั้นผิวหนังได้ และทำให้สามารถล้างออกได้ง่ายด้วยน้ำสะอาด

    สารลดแรงตึงผิวนี้นอกจากจะสามารถพบได้ในสบู่ แล้ว ยังสามารถพบได้ในน้ำยาทำความสะอาด เครื่องสำอาง หรือครีมบำรุงผิวอื่น ๆ เช่น ยาสระผม โลชั่น หรือน้ำหอม เป็นต้น

    สบู่ ส่งผลอย่างไรกับผิว

    แม้ว่าการใช้สบู่ทำความสะอาดร่างกาย จะช่วยให้รู้สึกสะอาดและสดชื่น แต่อย่างไรก็ตาม สารลดแรงตึงผิวที่พบได้ในสบู่บางชนิด อาจส่งผลกระทบต่อผิวได้เช่นกัน

    สารลดแรงตึงผิวในสบู่นั้นจะช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกที่ตายแล้วออกไป แต่สารลดแรงตึงผิวนั้นก็อาจผูกเข้ากับเซลล์โปรตีนของผิวชั้นนอก และทำให้เซลล์เหล่านี้มีน้ำมากเกินไปและเกิดอาการบวม ทำให้ส่วนประกอบอื่น ๆ ในน้ำยาทำความสะอาด สามารถแทรกซึมเข้าไปในผิวชั้นที่ลึกลง ทำให้เกิดปฏิกิริยากับระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกัน จนนำไปสู่การเกิดอาการคันและระคายเคือง

    นอกจากนี้ สารลดแรงตึงผิวยังอาจทำลายเกราะป้องกันตามธรรมชาติของผิว และทำลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความชุ่มชื้นของผิวตามธรรมชาติ ส่งผลให้น้ำภายในผิวระเหยออกไปได้มากกว่าเดิม และทำให้ผิวแห้ง และหยาบกระด้างในที่สุด

    การเลือกสบู่ให้เหมาะสมกับสภาพผิว

    ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดความเสียหายต่อผิวที่เกิดขึ้นจากสบู่ให้ได้มากที่สุด ก็คือการเลือกสบู่ให้เหมาะสมกับสภาพผิว โดยมีหลักในการเลือกดังต่อไปนี้

    ผิวมันนั้นหมายถึงผิวที่มีน้ำมันตามธรรมชาติอยู่มาก เนื่องจากต่อไขมันผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป ผู้ที่มีผิวมันนั้นมักจะมีโอกาสเกิดสิวได้มาก เนื่องจากไขมันอุดตันในรูขุมขนจนเกิดการอักเสบ ผู้ที่มีผิวมันควรหลีกเลี่ยงการใช้สบู่แรง ๆ เพราะอาจเพิ่มโอกาสในการอักเสบและระคายเคืองได้ ควรเลือกสบู่ที่มีส่วนผสมของเกลือสมุทธ เพราะสามารถช่วยกำจัดน้ำมันส่วนเกินบนผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นทำความสะอาดในจุดที่มีความมันสะสม

  • ผิวแห้ง
  • ผู้ที่มีผิวแห้ง ควรหลีกเลี่ยงสบู่ที่มีส่วนผสมของโซเดียมลอเรทซัลเฟต (Sodium laureth sulfate: SLS) น้ำหอม และแอลกอฮอล์ สารโซเดียมลอเรทซัลเฟตนั้นเป็นสารลดแรงตึงผิว ที่นิยมใช้ในสบู่ทั่วไป แต่สารนี้จะทำให้ผิวที่แห้งอยู่แล้ว ยิ่งแห้งหนักยิ่งกว่าเดิม ส่วนน้ำหอมและแอลกอฮอล์นั้น นอกจากจะทำให้ผิวแห้งแล้ว ยังเพิ่มโอกาสในการระคายเคืองได้อีกด้วย

    สบู่สำหรับผู้ที่มีผิวแห้งนั้นควรมีสารที่ให้คุณสมบัติเพิ่มความชุ่นชื้น และสามารถดึงน้ำที่อยู่ในอากาศเข้ามากักเก็บในผิวได้ เช่น สบู่ที่มีส่วนผสมของกลีเซอรีน (Glycerin) น้ำมันมะพร้าว หรือว่านหางจระเข้ เป็นต้น

    • ผิวแพ้ง่าย

    ผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย ควรระมัดระวังในการเลือกส่วนผสมที่มีอยู่ในสบู่ ควรเลือกสบู่สูตรที่อ่อนโยนต่อผิว มีค่า pH ที่สมดุล และหลีกเลี่ยงสบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม แอลกอฮอล์ และน้ำมันหอมระเหย เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้

    • ผิวผสม

    ผู้ที่มีผิวผสมนั้นหมายถึง มีทั้งผิวแห้งและผิวมัน การเลือกสบู่สำหรับผิวผสมนั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้สบู่สำหรับสภาพผิวแห้ง หรือสภาพผิวมัน อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ควรเลือกสบู่ที่มีความเป็นกลาง ส่วนผสมในสบู่ที่ควรมองหาคือกลีเซอรีน เพราะสามารถช่วยรักษาความชุ่นชื้นของผิวได้ โดยไม่ทำให้ผิวเกิดความมัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 02/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา