ผดร้อน เป็นผื่นผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในคนทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็กทารกจนถึงผู้ใหญ่ ผดร้อนอาจขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่มีการสะสมของเหงื่อ เช่น รักแร้ ข้อพับ หลัง ใต้หน้าอก ข้อศอก เอว ขาหนีบ
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย
ผดร้อน เป็นผื่นผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในคนทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็กทารกจนถึงผู้ใหญ่ ผดร้อนอาจขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่มีการสะสมของเหงื่อ เช่น รักแร้ ข้อพับ หลัง ใต้หน้าอก ข้อศอก เอว ขาหนีบ
ผดร้อน คือ ตุ่มสีแดงหรือสีชมพูที่ขึ้นบนผิวหนังเกิดจากท่อเหงื่ออุดตัน พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด แต่ผู้ใหญ่ก็อาจเกิดผดร้อนได้เช่นกันเมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ต่อมเหงื่อผลิตเหงื่อมากเกินไป ผดร้อนเป็นภาวะที่ไม่อันตราย แต่อาจทำให้ใช้ชีวิตประจำวันไม่สะดวก เนื่องจาก ผดร้อนอาจทำให้เกิดการระคายเคืองไปจนถึงอาการคันขั้นรุนแรง
ประเภทของผดร้อนที่เกิดขึ้นบนผิวหนังอาจมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
อาการของผดร้อนสามารถสังเกตได้จาก
หากผดร้อนเกิดขึ้นบนผิวหนังนานกว่า 3-4 วัน มีไข้ มีตุ่มหนอง ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบบวม มีผื่นสีแดงและม่วงเหมือนรอยฟกช้ำ ควรเข้ารับการรักษาท่วงที เพื่อป้องกันการติดเชื้อรุนแรงที่ผิวหนัง
สาเหตุที่ทำให้เกิดผดร้อนอาจมาจากต่อมเหงื่อบางส่วนอุดตัน จนไม่สามารถระบายเหงื่อออกจากชั้นผิวหนังได้ โดยปัจจัยที่อาจส่งผลให้ต่อมเหงื่ออุดตัน อาจมีดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงทำให้ผดร้อนขึ้นบนผิวหนัง ได้แก่
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
หากมีอาการคันและมีผดร้อนมากขึ้น ควรเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุจากคุณหมอด้านผิวหนังทันที คุณหมออาจวินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้นโดยการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เก็บตัวอย่างของเหลวในตุ่มไปตรวจ
ปกติผดร้อนสามารถหายไปเองได้ภายในไม่กี่วัน แต่หากมีอาการคันที่ส่งผลให้ไม่สบายตัว คุณหมออาจสั่งจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการของผดร้อน ดังนี้
นอกจากนี้ หากเกิดอาการคัน ไม่ควรเกาบริเวณที่ผดร้อนขึ้น ควรแตะหรือตบเบา ๆ และใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำ หรือห่อน้ำแข็งประคบบริเวณผดร้อนประมาณ 20 นาที เพื่อบรรเทาอาการคัน
วิธีป้องกันผดร้อนขึ้นบนผิวหนังจนส่งผลให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง มีดังนี้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย