ลักษณะผื่นคันต่างๆ เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสีผิวหรือเนื้อสัมผัสที่ผิดปกติ อาจทำให้ผิวบริเวณที่เป็นผื่นคันมีสีแดง เป็นตุ่ม ผิวไม่เรียบเนียนสม่ำเสมอ มักเกิดจากการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากภาวะสุขภาพ ความเครียด พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน หรือโรคต่าง ๆ ทำให้ลักษณะผื่นคันอาจแตกต่างกันไป การสังเกตลักษณะผื่นคันและหาสาเหตุการเกิด อาจช่วยให้ทำการรักษาได้ตรงจุดมากขึ้น
[embed-health-tool-bmr]
ลักษณะผื่นคันต่างๆ
ลักษณะผื่นคันต่างๆ นั้นเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป ทั้งอาจเกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ภูมิแพ้ ความร้อน ยารักษาโรค หรืออื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง ทั้งนี้ ลักษณะผื่นคันต่างๆ มีหลายประเภท ดังนี้
ผื่นคัน ที่ผิวหนัง
ลักษณะผื่นคันชนิดนี้อาจเป็นผื่นแดงกระจายตามลำตัวและใบหน้า ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคบางชนิด เช่น
- โรคหัด โดยผื่นจะเริ่มพัฒนาจากใบหน้าสู่ร่างกาย ผื่นมีสีอ่อนกว่าโรคหัด และจางลงภายใน 2-4 วัน ไม่มีรอยตกค้างเมื่อผื่นจางลง แต่อาจมาพร้อมกับอาการผิวลอกและแห้งเช่นเดียวกับโรคหัด
- หัดเยอรมัน ผื่นจะเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับโรคหัด แต่อาจมีสีอ่อนและจางเร็วกว่า และอาจลุกลามเร็วกว่าโรคหัดภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยผื่นจะเริ่มพัฒนาจากใบหน้าสู่ร่างกาย ผื่นมีสีอ่อนกว่าโรคหัด และจางลงภายใน 2-4 วัน ไม่มีรอยตกค้างเมื่อผื่นจางลง แต่อาจมาพร้อมกับอาการผิวลอกและแห้งเช่นเดียวกับโรคหัด
- ไข้อีดำอีแดง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นผื่นที่เกิดจากพิษของเม็ดเลือดแดง โดนผื่นจะเกิดขึ้นบริเวณขาหนีบหรือตามข้อพับ อาจเกิดขึ้นรอบคอ หลัง และกระจายไปทั่วร่างกาย มีลักษณะคล้ายกับการถูกแดดเผาซึ่งอาจทำให้ผิวแห้ง
- กลาก (Eczema) เป็นลักษณะของสภาวะต่าง ๆ ของผิวหนัง โดยลักษณะที่ปรากฏอาจแตกต่างกันไป อาจมีผื่นแดง อาการคัน เป็นสะเก็ด ผิวแห้งเป็นขุย หรือเป็นตุ่มเล็ก ๆ มักเกิดขึ้นบริเวณข้อศอก น้า หลังคอ และหนังศีรษะ
- Granuloma Annulare เป็นสภาวะผิวหนังเรื้อรังมีลักษณะเป็นรูปวงกลม มีตุ่มสีแดง อาจมีเลือดคั่ง และมีอาการคันเล็กน้อย มักเกิดขึ้นบริเวณแขน มือ เท้า
- ไลเคนพลามัส (Lichen planus) เป็นโรคผิวหนังที่อาจพบได้บ่อย โดยมีลักษณะเป็นตุ่มแบน มันเงา มีอาการคัน รูปร่างเป็นเหลี่ยม สีแดงอมม่วง มักเกิดขึ้นบริเวณข้อมือ ข้อเท้า น่อง หลัง และคอ ในบางคนอาจเกิดขึ้นในปาก อวัยวะเพศ หนังศีรษะและเล็บ
- ผื่นกลีบกุหลาบ (Pityriasis Rosea) ผื่นผิวหนังไม่รุนแรง อาจเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ขนาดใหญ่ อาจมีอาการคัน หรืออักเสบ มีสีแดง สีชมพู มักเกิดขึ้นบริเวณหน้าอก คอ หลัง หน้าท้อง ต้นแขน และขา
ผื่นคันแดง กระจายเป็นสะเก็ด
เป็นผื่นคันแดง ที่มีลักษณะกระจายเป็นสะเก็ด อาจเป็นอาการของโรคบางชนิด เช่น
- โรค 4S (Staphylococcal scalded skin syndrome หรือ SSSS) เป็นโรคผิวหนังที่มักเกิดขึ้นในทารกและเด็กวัยหัดเดิน โดยผื่นแดงจะแพร่กระจายพร้อมกับมีอาการตาบวม อาจทำให้มีอาการปวด ลุกลามจนเป็นผื่นตุ่ม
- อาการช็อกจากพิษ อาจทำให้มีไข้ ความดันเลือดต่ำ ปวดกล้ามเนื้อ และเป็นลมหมดสติ มีผื่นแดงที่มือและเท้า และผื่นคล้ายไข้อีดำอีแดงบริเวณแขนขา ประมาณ 7-14 วัน โรคอาจลุกลามทำให้ผิวหนังลอกเป็นแผ่นหนาที่มือและเท้า
ผื่นคันเป็นตุ่ม
เป็นผื่นคันที่มีลักษณะเป็นตุ่มสีแดง กระจายทั่วร่างกาย ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคบางชนิด เช่น
- โรคอีสุกอีใส ลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ สีแดง สีชมพู สีน้ำตาล หรือสีดำ ขึ้นอยู่กับสีผิวของผู้ป่วย ซึ่งเป็นแผลพุพองที่ตกสะเก็ดอย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีไข้ อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง และเบื่ออาหาร โดยผื่นจะลามจากหน้าอกไปรอบ ๆ แล้วไปทั่วทั้งร่างกายประมาณ 3 วัน มักปรากฏบริเวณลำตัว แขนขา และศีรษะ รวมทั้งหนังศีรษะ และอาจเกิดที่เยื่อเมือกในช่องปาก
- โรคมือเท้าปาก ทำให้มีอาการเจ็บปวด มีไข้ และต่อมน้ำเหลืองโต มักมีตุ่มเกิดขึ้นที่เยื่อเมือกในช่องปาก มือ เท้า และก้น
- แผลพุพอง มีผื่นเป็นตุ่มและอาจกลายเป็นหนอง ผื่นมีลักษณะการกระจายตัว ส่วนใหญ่ปรากฏบริเวณขาหนีบและบริเวณหน้าท้อง
- งูสวัด ทำให้เกิดผื่นตุ่มขึ้นในบริเวณผิวหนัง อาจทำให้มีอาการคันและเจ็บปวด
ผื่นคันแดง
ผื่นคันแดงส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเฉียบพลัน โดยจะมีอาการผื่นแดงทั่วร่างกาย ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคบางชนิด เช่น
- ลมพิษ มีลักษณะเป็นผื่นคัน ทำให้ผิวมีสีแดง และเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการแพ้ยาหรืออาการบางชนิด
- การตอบสนองของภูมิคุ้มกันอักเสบเฉียบพลัน ทำให้เกิดผื่นมีลักษณะเป็นก้อนกลม มักเกิดขึ้นที่แขนขา ข้อเข่า และข้อมือ พบได้บ่อยในผู้หญิง อาจมีไข้ วิงเวียน และปวดข้อ
ลักษณะผื่นคันต่างๆ และวิธีดูแลรักษา
ลักษณะผื่นคันต่างๆ อาจสามารถรักษาและบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- หาสาเหตุที่อาจทำให้เกิดผื่นหรืออาการคัน เช่น ภาวะสุขภาพ โรคผิวหนังชนิดต่าง ๆ เสื้อผ้าขนสัตว์ ห้องที่มีความร้อนสูงเกินไป การอาบน้ำร้อนมากเกินไป หรือการสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- หลีกเลี่ยงการทาโลชั่น ขี้ผึ้ง หรือเครื่องสำอาง บริเวณที่มีผื่นคัน
- หลีกเลี่ยงการเกา เพราะอาจทำให้เกิดบาดแผลหรือการติดเชื้อได้
- ลดความเครียดหรือความวิตกกังวล เพราะอาจทำให้อาการคันแย่ลงได้
- รับประทานยารักษาอาการแพ้ เช่น ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ควรรับประทานก่อนนอนเพราะอาจทำให้ง่วงได้
- ใช้เครื่องทำความชื้น ทำให้อากาศภายในบ้านไม่ร้อนและแห้ง อารจช่วยบรรเทาลักษณะผื่นคันต่างๆ ได้
- ใช้น้ำอุณหภูมิห้องในการทำความสะอาดผิว ไม่ควรขัดถูผิวรุนแรงเกินไป จากนั้นเช็ดให้แห้ง
- ปล่อยให้บริเวณที่เกิดลักษณะผื่นคันต่างๆ สัมผัสกับอากาศให้มากที่สุด
- ใช้คาลาไมน์เพื่อบรรเทาอาการคันจากผื่นคันต่าง ๆ