backup og meta

สิวที่ติ่งหู สาเหตุ การป้องกัน และการรักษา

สิวที่ติ่งหู สาเหตุ การป้องกัน และการรักษา

สิวที่ติ่งหู เป็นสิวที่เกิดบริเวณติ่งหู มักมีลักษณะเป็นตุ่มหนองหรือมีเลือดคั่ง เกิดจากการอุดตันของแบคทีเรีย สิวที่ติ่งหูอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีก้อนเนื้อและซีสต์ หรืออักเสบมากกว่าสิวบริเวณอื่นทำให้รู้สึกเจ็บปวดและอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

[embed-health-tool-bmi]

สาเหตุของ สิวที่ติ่งหู

สิวสามารถเกิดขึ้นได้ทุกพื้นที่ของผิวหนังที่รูขุมขนมีการหลั่งน้ำมันออกมา และหนึ่งนั้นรวมถึงบริเวณติ่งหูด้วยเช่นกัน โดยสิวมักเกิดขึ้นในบริเวณที่เซลล์ผิวหนังตาย มีความมัน และอาจมีเชื้อแบคทีเรียอุดตันรูขุมขน

โดย สิวที่ติ่งหู ไม่มีหัว เกิดขึ้นเมื่อหนังกำพร้าอาจมีตุ่มหนองหรือมีเลือดคั่ง และมีการอุดตันของแบคทีเรีย ส่งผลให้มีการทำลายผนังของรูขุมขน ทำให้สิวก่อตัวลึกภายในผิวหนังและมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีก้อนเนื้อและซีสต์ก่อตัวขึ้นเนื่องจากเกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรงในรูขุมขน ส่งผลทำให้เกิดก้อนเนื้อขนาดใหญ่ และลึกอยู่ในผิวหนัง อีกทั้งยังมีการอักเสบมากขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้ สาเหตุการเกิดสิวที่ติ่งหู อาจถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้

  • พันธุกรรม
  • ช่วงอายุ ส่วนใหญ่พบในวัยรุ่นขึ้นไป
  • มีปัญหาสิวเกิดขึ้นแบบเรื้อรัง
  • การบาดเจ็บของผิวหนัง

อาการของสิวที่ติ่งหู

ส่วนใหญ่ สิวที่ติ่งหูมักมีอาการคล้าย ๆ กับสิวชนิดอื่น ดังนี้

  • เป็นก้อนแข็งในติ่งหู
  • มีอาการอักเสบ
  • มีรอยบวมแดง
  • รู้สึกเจ็บปวดที่ติ่งหู รู้สึกไม่สบายหู
  • อาจมีหนอง มีกลิ่นเหม็นบริเวณติ่งหู
  • ในบางรายอาจมีเพียงก้อนเนื้อแข็งแต่ไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย

การป้องกันสิวที่ติ่งหู

 เพื่อป้องกันการเกิดสิวที่ติ่งหู สามารถปฏิบัติตัว ดังนี้

  • ทำความสะอาดหู การทำความสะอาดหูด้วยการเช็ดโดยเฉพาะขณะอาบน้ำเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง จะช่วยป้องกันการสะสมของเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ความมัน และเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนัง
  • สระผมเป็นประจำ หากไม่ได้สระผมอาจเกิดการสะสมของน้ำมันบนหนังศีรษะเมื่อผมโดนใบหน้าหรือติ่งหูอาจทำให้เกิดเป็นสิวในบริเวณนั้นได้
  • ดูแลผิวอย่างอ่อนโยน หลีกเลี่ยงการขัดผิว ใช้โทนเนอร์ หรือการใช้ยารักษาแผล ที่มีความรุนแรงเกินไป
  • เลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำมัน ให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผิว และไม่ก่อให้เกิดสิว
  • ล้างเครื่องสำอางทุกครั้ง เครื่องสำอางอาจก่อให้เกิดสิวได้ โดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งหน้าแต่ไม่ทำความสะอาดใบหน้าให้สะอาดหมดจดทุกครั้ง
  • ทำความสะอาดหมวกและปลอกหมอน ในหมวกและปลอกหมอนอาจมีการสะสมของเชื้อแบคทีเรียมากมาย จึงควรทำความสะอาดอยู่เป็นประจำเพื่อไม่ให้เชื้อแบคทีเรียสะสม
  • ระวังการใช้สเปรย์ฉีดผม สเปรย์ฉีดผมอาจเข้าไปอุดตันในรุขุมขนได้ จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง และป้องกันเวลาฉีดให้ห่างจากผิวหนังมากที่สุด

การรักษาสิวที่ติ่งหู

การรักษาสิวบริเวณติ่งหูขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิว โดยวิธีรักษาสิวนั้นแยกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

รักษาด้วยยา

ผู้ที่เป็นสิวสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์รักษาสิวได้เองตามร้านค้า หรือร้านขายยาทั่วไป โดยอาจเลือกจากส่วนประกอบเหล่านี้

  • เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) ช่วยลดการผลิตไขมันและฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวได้
  • เรซอซินอล (Resorcinol) ช่วยสลายสิวหัวขาวและสิวหัวดำ
  • กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) ช่วยคลายรูขุมขนและลดอาการอักเสบ
  • กำมะถัน (Sulfur) ช่วยล้างกำจัดรูขุมขนและฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว

สำหรับสิวที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง ควรเข้ารับการรักษากับคุณหมอโดยตรง ซึ่งอาจได้รับการรักษาด้วยวิธีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยลดจำนวนแบคทีเรียและการอักเสบได้
  • เรตินอยด์ (Retinoids) ซึ่งช่วยทำความสะอาดรูขุมขน
  • ขั้นตอนการกำจัดซีสต์ ด้วยการเอาน้ำหรือสิ่งสกปรกออก
  • การฉีดสเตียรอยด์ เพื่อช่วยรักษาก้อนเนื้อและซีสต์

รักษาด้วยตัวเอง

การรักษาด้วยตัวเองที่บ้านอาจทำให้สิวที่ติ่งหู หายขาดได้ หรือมีขนาดเล็กลง โดยมีคำแนะนำดังนี้

  • การประคบร้อน สามารถช่วยปิดรูขุมขนและระบายสิ่งสกปรกสะสมได้
  • ใช้น้ำมันทีทรี (Tea tree oil) มีคุณสมบัติช่วยต้านเชื้อโรคและลดอาการอักเสบ
  • ประคบน้ำแข็ง ความเย็นอาจช่วยลดอาการเจ็บปวดและอักเสบหลังการรักษาได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Benign ear cyst or tumor. https://medlineplus.gov/ency/article/001033.htm. Accessed August 12, 2022.

Acne. https://www.nhs.uk/conditions/acne/. Accessed August 12, 2022.

Pimple on Your Earlobe? Let’s Zap that Ear Zit. https://greatist.com/health/pimple-on-earlobe. Accessed August 12, 2022.

HOW TO TREAT DIFFERENT TYPES OF ACNE. https://www.aad.org/public/diseases/acne/diy/types-breakouts. Accessed August 12, 2022.

What’s the Treatment for Skin Cysts?. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/epidermoid-sebaceous-cysts. Accessed August 12, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/10/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

รักษาหลุมสิว เพื่อผิวหน้าที่เรียบเนียน ทำอย่างไร

สิวเรื้อรัง เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/10/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา