backup og meta

ผื่นกุหลาบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

ผื่นกุหลาบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

ผื่นกุหลาบ เป็นโรคทางผิวหนังที่ไม่รุนแรงนัก ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ผื่นที่เกิดขึ้นมักปรากฏให้เห็นหลังจากติดเชื้อประมาณ 6-12 สัปดาห์ โดยจะเริ่มจากมีจุดวงกลมหรือวงรีขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณหน้าอก หน้าท้อง หลัง ต้นแขน ต้นขา และคอ ก่อนจะมีผื่นกลมเล็ก ๆ ขึ้นกระจายที่ลำตัว โดยทั่วไปอาจเกิดขึ้นระหว่างช่วงอายุ 10-35 ปี โดยปกติอาจหายไปเองภายใน 1-3 เดือน 

[embed-health-tool-bmr]

ผื่นกุหลาบ คืออะไร

ผื่นกุหลาบ เป็นโรคผิวหนังที่ไม่ค่อยรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลให้เกิดผื่นขึ้นบริเวณหน้าอก หลัง ต้นแขน ต้นขา และคอ โดยผื่นจะปรากฏขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป 6-12 สัปดาห์ และอาจหายไปเองภายใน 1-3 เดือน โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา ทั้งยังไม่สามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นโดยการสัมผัส ผื่นกุหลาบมักส่งผลกระทบต่อเด็ก ผู้ใหญ่ และวัยรุ่นในช่วงอายุ 10-35 ปี แต่สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคนี้แล้วมักจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก 

สำหรับสตรีที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์แล้วเป็นผื่นกุหลาบ อาจประสบปัญหาตามบริเวณหน้าอก และขาหนีบเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งอาจลุกลามไปยังภายในบริเวณช่องปาก จนเกิดอาการคันอย่างรุนแรง นอกจากนี้ ยังอาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด หรือเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตรได้มากขึ้น คุณแม่ควรตรวจสุขภาพร่างกายของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และรีบเข้าขอคำปรึกษาจากคุณหมอทันที

อาการของผื่นกุหลาบ

บางคนอาจรู้สึกไม่สบาย เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดข้อ ไม่กี่วันก่อนผื่นขึ้น จากนั้น ผื่นจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

  • ระยะแรก ผิวหนังจะตกสะเก็ดเป็นรูปวงรีสีชมพูหรือแดง ที่เรียกว่า ผื่นแจ้งข่าว หรือ ผื่นแจ้งโรค (Herald Patch) ขนาดประมาณ 2-10 เซนติเมตร โดยจะปรากฏอย่างน้อย 2 วัน ก่อนจะเกิดผื่นกระจายเป็นวงกว้าง ส่วนใหญ่มักจะเกิดบริเวณท้อง หน้าอก คอ หลัง 
  • ระยะที่ 2 ไม่เกิน 2 สัปดาห์ ผื่นจะมีลักษณะเป็นขุยเล็ก ๆ จำนวนมาก ขนาดไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร แพร่กระจายเป็นวงกว้างบริเวณหน้าอก หลัง ท้อง คอ ต้นแขน ต้นขา และอาจมีอาการคัน ระคายเคืองร่วมด้วย 

โดยผื่นทั้ง 2 ระยะจะปรากฏอยู่ 2-12 สัปดาห์ แต่ในผู้ป่วยบางรายผื่นอาจจะปรากฏอยู่นานถึง 5 เดือน แล้วค่อย ๆ หายไปเอง

สาเหตุของผื่นกุหลาบ

ผื่นกุหลายยังไม่พบสาเหตุของการเกิดที่แน่ชัด แต่หลักฐานบางอย่างบ่งชี้ว่า ผื่นกุหลาบอาจเกิดจากไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes Virus) แต่ไม่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริม ซึ่งผื่นกุหลาบไม่ใช่โรคติดต่อผ่านการสัมผัส

วิธีรักษาผื่นกุหลาบ

ก่อนทำการรักษา คุณหมอมักจะวินิจฉัยได้ด้วยการมองเห็น นอกจากนั้น ยังอาจให้ตรวจเลือด ขูด หรือตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งการทดสอบเหล่านี้อาจขจัดปัญหาผิวหนังอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น กลาก โรคสะเก็ดเงิน ซิฟิลิส ผื่นกุหลาบอาจหายไปเองใน 8-10 สัปดาห์ หรืออาจมากน้อยกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลของแต่ละบุคคล นอกจากนั้น คุณหมออาจบรรเทาอาการคันด้วยวิธีเหล่านี้

  • ยาต้านฮีสตามีน ซึ่งมักใช้รักษาอาการแพ้
  • ยาเฉพาะที่ที่จำหน่ายตามร้านขายยา เช่น คาลาไมน์ (Calamine) ซิงค์ออกไซด์ (Zinc Oxide) 
  • ผลิตภัณฑ์ช่วยให้ผิวนุ่มและชุ่มชื้น ซึ่งบางตัวสามารถใช้แทนสบู่ได้ เพราะสบู่ธรรมดาอาจทำให้ผื่นเกิดอาการระคายเคืองได้
  • ยาแก้แพ้ หากมีปัญหาในการนอนหลับ คุณหมออาจสั่งจ่ายยาแก้แพ้ เช่น ไฮดรอกซีไซน์ (Hydroxyzine)  คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
  • ครีมหรือขี้ผึ้งสเตียรอยด์ เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Hydrocortisone) เบตาเมทาโซน (Betamethasone) ซึ่งช่วยลดอาการคันและบวม
  • การบำบัดด้วยแสง UVB หากการรักษาอื่น ๆ ไม่ได้ผล คุณหมออาจแนะนำให้รักษาด้วยการบำบัดด้วยแสง UVB

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษา ควรผ่านการอนุญาตโดยแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนเสมอ ดังนั้น จำเป็นต้องบอกถึงลักษณะอาการที่กำลังเป็น รวมถึงส่วนประกอบของยาที่แพ้ให้ทางผู้เชี่ยวชาญได้ทราบ เพื่อการจัดยาที่เหมาะสมแก่ผิวหนัง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การดูแลตัวเองอาจช่วยบรรเทาอาการคันของผื่นกุหลาบได้

  • ทามอยส์เจอร์ไรเซอร์ คาลาไมน์ หรือคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งช่วยลดอาการคันและบวม
  • รับประทานยาแก้แพ้ เช่น เดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

pityriasis rosea. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pityriasis-rosea/symptoms-causes/syc-20376405. Accessed December 24, 2021

What Is Pityriasis Rosea?. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/whats-pityriasis-rosea#1. Accessed December 24, 2021

Pityriasis rosea. https://dermnetnz.org/topics/pityriasis-rosea/. Accessed December 24, 2021

Pityriasis rosea. https://www.nhs.uk/conditions/pityriasis-rosea/. Accessed December 24, 2021

PITYRIASIS ROSEA: DIAGNOSIS AND TREATMENT. https://www.aad.org/public/diseases/a-z/pityriasis-rosea-treatment. Accessed December 24, 2021

Pityriasis Rosea. https://rarediseases.org/rare-diseases/pityriasis-rosea/. Accessed December 24, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/03/2023

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และการป้องกัน

ลักษณะผื่นคันต่างๆ และการดูแล


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 06/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา