backup og meta

ประจำเดือนมาน้อย กับปัญหาสุขภาพที่ควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 09/04/2023

    ประจำเดือนมาน้อย กับปัญหาสุขภาพที่ควรรู้

    ประจำเดือน หรือรอบเดือน (Menstruation) สามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ โดยเฉพาะในผู้ที่ ประจำเดือนมาน้อย มีเลือดออกมาแบบกะปริดกะปรอย อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพบางประการ เช่น วัยทอง วัยหมดประจำเดือน น้ำหนัก การรับประทานอาหาร ซึ่งการแก้ปัญหาประจำเดือนมาน้อยอาจทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ แต่หากประจำเดือนยังมาน้อยจนเกิดความวิตกกังวล ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษา

    ประจำเดือนมาน้อย กับปัญหาสุขภาพที่ควรรู้

    โดยปกติทั่วไป รอบเดือนของผู้หญิงจะอยู่ในช่วง 21-35 วัน เป็นครั้งละประมาณ 2-7 วัน แต่ในผู้ที่ ประจำเดือน มาไม่ปกติ (Irregular Periods) ประจำเดือนมาน้อยมักมีรอบเดือนครั้งละประมาณ 1-2 วันเท่านั้น 

    อย่างไรก็ตาม การที่ประจำเดือนมาน้อยนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ โดยอาจเกิดจากหลายสาเหตุและหลายปัจจัยต่าง ๆ เช่น ช่วงอายุวัย วัยทอง วัยหมดประจำเดือน น้ำหนัก การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างหนัก ภาวะความเครียด รวมถึงอยู่ที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

    สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า ประจำเดือนมาน้อย

    หากประจำเดือนมาน้อยอาจส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้

    • เลือดประจำเดือนออกน้อย  มีเลือดออกกะปริดกะปรอยการมีประจำเดือน
    • ส่วนใหญ่ผู้ที่ประจำเดือนมาน้อย มักมีรอบเดือนครั้งละประมาณ 1-2 วัน เท่านั้น
    • ประจำเดือนมาน้อยและเกิดขึ้นหลายครั้งมากกว่าการมีรอบเดือนตามปกติ

    วิธีการรักษาอาการประจำเดือนมาน้อย

    อาการประจำเดือนมาน้อยนั้นไม่ใช่ปัญหาสุขภาพร้ายแรง อาจเกิดจากหลายสาเหตุหลายปัจจัยด้วยกัน ในเบื้องต้นคุณหมอจะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย หากประจำเดือนมาน้อยโดยไม่ทราบสาเหตุ และเป็นติดต่อกันต่อเนื่อง คุณหมออาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อปรับฮอร์โมน (Hormone) ให้ ประจำเดือน มาปกติ

    การดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงประจำเดือนมาน้อย

    การดูแลสุขภาพและการปรับพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ต้องให้ความใส่ใจ เพราะพฤติกรรมที่ไม่ถูกลักษณะพึงประสงค์อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้  ซึ่งวิธีดูแลสุขภาพตนเองเพื่อลดความเสี่ยงประจำเดือนไม่ปกติ หรือประจำเดือนมาน้อยอาจทำได้ ดังนี้

    • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
    • นอนหลับให้เพียงพอ
    • หากเป็นประจำเดือน ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง
    • ฝึกเทคนิคการลดความเครียด และผ่อนคลาย
    • ใช้ยาคุมกำเนิดหรือวิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ ตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการช็อกจากสารพิษ และป้องกันการติดเชื้อ
    • ปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 09/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา