backup og meta

ตกขาวเป็นก้อน เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 29/04/2023

    ตกขาวเป็นก้อน เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

    ตกขาวเป็นก้อน คือ สัญญาณที่อาจบอกถึงการติดเชื้อในช่องคลอด เช่น เชื้อราในช่องคลอด อาจมีอาการตกขาวสีขาวข้น สีเหลือง สีเขียว มีกลิ่นเหม็น คัน ปวด บวม แดงบริเวณช่องคลอด ซึ่งอาจเกิดจากความระคายเคือง การใช้ยาปฏิชีวนะ การตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น เหล่านี้อาจมีส่วนทำให้เชื้อราและแบคทีเรียดีในช่องคลอดไม่สมดุลจนเกิดการติดเชื้อ โดยปกติตกขาวเป็นก้อนไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่อาจสร้างความรำคาญและความเจ็บปวด การใช้ยารักษาและการดูแลตัวเองอาจช่วยลดปัญหาอาการตกขาวเป็นก้อนได้

    ตกขาวเป็นก้อน เกิดจากอะไร

    ตกขาวเป็นก้อนหนา สีเหลือง มีกลิ่นเหม็น อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อราในช่องคลอด โดยปกติภายในช่องคลอดจะมีสมดุลของเชื้อราและแบคทีเรียดี เช่น แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพช่องคลอด ป้องกันการติดเชื้อจากภายนอก และป้องกันไม่ให้เชื้อราเติบโตมากเกินไป แต่การใช้ยาปฏิชีวนะ การตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การรับประทานยาคุมกำเนิด อาจทำให้แบคทีเรียและเชื้อราดีในช่องคลอดเสียสมดุล จนเกิดการอักเสบขึ้น

    โดยเชื้อราก่อโรคที่พบส่วนใหญ่ คือ เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งสามารถเจริญเติบโตและกระจายการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว และทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการ ดังนี้

    • ตกขาวเป็นก้อนหนา ลักษณะคล้ายนมบูด
    • ตกขาวสีขาวข้น สีเหลือง หรือสีเขียว
    • มีกลิ่นเหม็นออกจากช่องคลอด

    นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น

    การวินิจฉัยตกขาวเป็นก้อน

    เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาตกขาวเป็นก้อน คุณหมออาจวินิจฉัยอาการด้วยวิธีตรวจอวัยวะเพศภายนอก เพื่อตรวจหากสัญญาณการติดเชื้อ จากนั้นคุณหมออาจใช้เครื่องมือเฉพาะสอดเข้าไปในช่องคลอดให้ผนังช่องคลอดเปิดออก เพื่อตรวจสอบปากมดลูกและช่องคลอด นอกจากนี้ คุณหมออาจส่งตัวอย่างของเหลวในช่องคลอดเพื่อตรวจหาเชื้อราก่อโรคเพิ่มเติม

    การรักษาตกขาวเป็นก้อน

    การรักษาตกขาวเป็นก้อนอาจจำเป็นต้องรักษาที่สาเหตุหลัก เช่น การติดเชื้อราในช่องคลอด  เมื่อสาเหตุหลักหายดีอาการตกขาวก็จะดีขึ้นตามไปด้วย

    อาการเล็กน้อยถึงปานกลาง

    • การรักษาทางช่องคลอดระยะสั้น ใช้ยาต้านเชื้อราเฉพาะที่รูปแบบครีม ขี้ผึ้ง หรือยาเหน็บ เช่น ไมโคนาโซล (Miconazole) เทอโคนาโซล (Terconazole)
    • ยารับประทานครั้งเดียว เช่น ยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole) ซึ่งเป็นยาต้านเชื้อราแบบรับประทานครั้งเดียว แต่หากอาการรุนแรงขึ้น คุณหมออาจให้รับประทานครั้งละ 2 โดส ห่างกัน 3 วัน

    อาการรุนแรง

    • การรักษาทางช่องคลอดระยะยาว คุณหมออาจสั่งยาต้านเชื้อราไมโคนาโซล (Miconazole) เทอโคนาโซล (Terconazole) ให้ทาทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นใช้เพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้งเป็นระยะเวลา 6 เดือน
    • ยาต้านเชื้อราแบบรับประทานหลายขนาด  อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยวิธีนี้อาจไม่เหมาะกับหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากการรับประทานยาอาจส่งผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ได้
    • รักษาด้วยกรดบอริก (Boric Acid) ชนิดแคปซูล ใช้สอดในช่องคลอดเพื่อรักษาเชื้อราแคนดิดดา (Candida) ที่ดื้อต่อยาต้านเชื้อราปกติเท่านั้น ห้ามรับประทานเพราะอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

    ในระหว่างการรักษาอาจจำเป็นต้องงดกิจกรรมทางเพศจนกว่าอาการจะหายขาด เพื่อลดการแพร่เชื้อและการติดเชื้อราเพิ่มขึ้น

    การป้องกันตกขาวเป็นก้อน

    เพื่อลดปัญหาตกขาวเป็นก้อนจึงควรป้องกันตั้งแต่สาเหตุเริ่มต้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อราในช่องคลอด ดังนี้

    • เลือกผลิตภัณฑ์อาบน้ำ หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นสูตรอ่อนโยน ปราศจากน้ำหอม และหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด เพื่อลดความระคายเคืองและการอักเสบ
    • หลีกเลี่ยงการแช่น้ำในอ่างอาบน้ำ เพราะในอ่างน้ำอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคอื่น ๆ ที่อาจทำให้ช่องคลอดอักเสบและติดเชื้อได้
    • หลังจากอาบน้ำ ว่ายน้ำ หรือเปียกฝน ควรถอดเสื้อผ้าที่เปียกออก อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายและเช็ดตัวให้แห้งเสมอ เพื่อลดการสะสมของเชื้อรา หรือเชื้อโรคอื่น ๆ
    • หลีกเลี่ยงการใส่ถุงน่องหรือกางเกงที่รัดรูป คับแน่นมากเกินไป เพราะอาจทำให้บริเวณช่องคลอดอับชื้น และเกิดการเสียดสีของเสื้อผ้ากับผิวหนัง
    • หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด เพราะการสวนล้างอาจเพิ่มความระคายเคืองและกำจัดแบคทีเรียดีภายในช่องคลอด เพิ่มโอกาสทำให้ติดเชื้อราได้ง่าย
    • หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น เพราะยาปฏิชีวนะอาจฆ่าเชื้อแบคทีเรียดีในช่องคลอดออกไปส่งผลให้อาจติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น แต่หากจำเป็นต้องใช้ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 29/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา