backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (History And Physical Exam For COPD)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (History And Physical Exam For COPD)

ข้อมูลพื้นฐาน

ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คืออะไร

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD) เป็นโรคปอดชนิดหนึ่งที่ทำให้หายใจลำบาก มักเป็นการเกิดของโรคสองชนิดร่วมกันที่มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ คือ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) และ ภาวะมีอากาศในเนื้อเยื่อ (emphysema) เมื่อเวลาผ่านไป โรคนี้สามารถทำให้เกิดอาการหายใจลำบากและปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่รุนแรง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้องรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD) 

  • โรค COPD ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การใช้ยาและการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์อาจช่วยบรรเทาอาการได้
  • หนทางที่เชื่อถือได้หนทางเดียวในการชะลอการเกิดโรค COPD คือการเลิกสูบบุหรี่
  • ประวัติสุขภาพของคุณจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ที่สำคัญ ที่ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้

เหตุผลในการตรวจ

ประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกาย ช่วยให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคได้ เป็นส่วนของการเข้าพบแพทย์เป็นประจำและมีความสำคัญ

ข้อควรทราบก่อนตรวจ

ข้อควรทราบก่อนการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ควรมีการซักประวัติสุขภาพและการตรวจหัวใจอย่างระมัดระวัง เพื่อแบ่งแยกโรคหัวใจที่สัมพันธ์กับ หรือไม่ก็ทำให้เกิดอาการต่างๆ ที่คล้ายคลึงกับอาการของโรค COPD เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เนื่องจากการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจรวมทั้งโรค COPD การตรวจหัวใจอาจแสดงให้เห็นถึงอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็ว หรือแสดงสิ่งบ่งชี้ของภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure)

  • ตับอาจมีขนาดโตขึ้น ซึ่งในบางครั้งสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากอาการหัวใจล้มเหลวด้านขวา (cor pulmonale)
  • ผลการตรวจร่างกายจะแตกต่างกันออกไป ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ที่เป็นไปได้ของโรค COPD

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวเพื่อการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

คุณควรเตรียมข้อมูลของการวินิจฉัยและการรักษาที่ผ่านมาอย่างละเอียดและครบถ้วน ถึงแม้ว่าอาการของโรคจะหายขาดแล้วก็ตาม หรืออาการของโรคไม่ได้มีสำคัญสำหรับคุณ แต่การทราบเกี่ยวกับอาการดังกล่าวอาจช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ นอกจากนี้ การทราบเกี่ยวกับอาการทางสุขภาพในอดีตและปัจจุบันทั้งหมดของคุณจะช่วยให้แพทย์หาวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพของคุณ

นอกเหนือจากประวัติอาการของโรคที่ผ่านมา คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาชนิดต่างๆ ที่คุณใช้อยู่ สิ่งที่ดีที่สุดคือการนำรายการชื่อยาและขนาดยาล่าสุดของยาทั้งหมดที่ใช้อยู่มาด้วย

ขั้นตอนการซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ในการซักประวัติสุขภาพ แพทย์จะถามคำถามเกี่ยวกับ

  • อาการหายใจลำบาก
    • เริ่มหายใจลำบากเมื่อใด (ในการออกกำลังกายหรือการพักผ่อน)
    • มีอาการหายใจลำบากบ่อยแค่ไหน
    • มีอาการหายใจลำบากมานานเท่าไหร่ มีอาการแย่ลงหรือไม่
    • สามารถเดินได้ไกลแค่ไหน และสามารถปีนได้กี่ก้าวก่อนจำเป็นต้องหยุดปีน เนื่องจากหายใจลำบาก
  • อาการไอ
    • มีอาการไอบ่อยหรือไม่ และมีอาการไอเมื่อใด
    • มีอาการหายไอมานานเท่าไหร่ มีอาการแย่ลงหรือไม่
    • ไอมีเสมหะหรือไม่ มีเสมหะสีอะไร
    • เคยไอเป็นเลือดหรือไม่
  • การสูบบุหรี่ของคุณและสมาชิกในบ้าน: หากคุณหรือสมาชิกในบ้านสูบบุหรี่ สูบบุหรี่มานานแค่ไหน สูบบุหรี่วันละกี่มวน เลิกสูบบุหรี่มานานเท่าไหร่ คุณรู้สึกว่าสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้หรือไม่ และอื่นๆ
  • การสัมผัสสารระคายเคืองในอากาศ เช่น ฝุ่นหรือสารเคมีต่างๆ ในการทำงาน
  • โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจในเด็ก
  • ประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
  • อาการทางสุขภาพอื่นๆ ที่คุณอาจมีและการรักษา
  • อาการของคุณส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น การขาดงาน กิจวัตรประจำวันที่ได้รับผลกระทบ และอาการซึมเศร้า
  • ชื่อและขนาดยาทั้งหมดที่คุณใช้ รวมทั้งยาสำหรับสูดดมใดๆ ที่คุณใช้
  • ประเภทของครอบครัวและการช่วยเหลือทางสังคมที่คุณมี

ในระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์จะทำการตรวจร่างกายของคุณเพื่อหาสิ่งบ่งชี้อื่นๆ ที่อาจอธิบายสาเหตุของอาการต่างๆ ของคุณได้ การตรวจร่างกาย ได้แก่

  • การวัดอุณหภูมิร่างกาย น้ำหนัก และดัชนีมวลร่างกาย (body mass index: BMI) เพื่อวัดน้ำหนักที่สัมพันธ์กับส่วนสูง และเป็นวิธีที่ใช้ในการวัดผลกระทบของน้ำหนักต่อสุขภาพ
  • การตรวจหู ตา จมูก และคอ เพื่อหาสิ่งบ่งชี้ของการติดเชื้อ
  • การฟังเสียงหัวใจและปอดด้วยเครื่องมือฟังเสียงหัวใจ (stethoscope)
  • การตรวจหาสิ่งบ่งชี้ว่าเลือดไหลย้อนกลับในหลอดเลือดคอ ซึ่งอาจบ่งชี้ว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น อาการหัวใจล้มเหลวด้านขวา
  • การกดหรือการเคาะบนหน้าท้อง (การคลำตรวจท้อง)
  • การตรวจนิ้วมือและริมฝีปากเพื่อดูว่าผิวหนังมีสีน้ำเงินอ่อนหรือไม่ (cyanosis)
  • การตรวจนิ้วมือเพื่อดูว่า ปลายนิ้วบวม และเล็บมีรอยนูนออกมาหรือไม่ (clubbing)
  • การตรวจขาและเท้าเพื่อหาอาการบวม (edema)
  • หลังการตรวจ

    • การตรวจร่างกายไม่ทำให้เกิดอาการปวด แต่บางส่วนของการตรวจร่างกาย เช่น การคลำตรวจ (abdominal palpation) อาจทำให้รู้สึกไม่สบายเล็กน้อย
    • แพทย์จะพูดคุยกับคุณเกี่ยวกับอาการ และให้การรักษาที่เหมาะสม ในบางครั้ง แพทย์อาจให้มีการตรวจเพิ่มเติม โปรดปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างระมัดระวัง

    ผลการตรวจ

    ผลการซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

    ประวัติสุขภาพของคุณอาจแสดงให้เห็นถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่แสดงว่าคุณเป็นโรค COPD หรือมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเป็นโรค COPD

    การตรวจร่างกายยังอาจแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นโรค COPD ข้อค้นพบเกี่ยวกับโรค COPD ได้แก่

  • หน้าอกขยาย (barrel chest)
  • หายใจมีเสียงในระหว่างหายใจปกติ
  • ใช้เวลานานขึ้นเพื่อหายใจออกอย่างเต็มที่
  • เสียงลมหายใจลดลงหรือเสียงลมหายใจผิดปกติ เช่น มีเสียงแซมหายใจหรือเสียงหายใจหวีดหวิว
  • ผลการตรวจร่างกายบางประการจะช่วยให้แพทย์ประเมินความรุนแรงของอาการได้ ดังนี้

    • การใช้กล้ามเนื้อ “ช่วยการหายใจ’ เช่น กล้ามเนื้อคอ ในระหว่างการหายใจปกติ
    • การหายใจทางปาก
    • การไม่สามารถพูดได้เต็มประโยคโดยไม่หยุดหายใจ
    • ปลายนิ้วมือหรือเนื้อเยื่อรองเล็บเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน (cyanosis)
    • ขาหรือท้องบวม

    จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล ค่าปกติสำหรับการซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรค COPD อาจมีความหลากหลาย โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบ

    หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรค COPD โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำสำหรับคุณได้ดีขึ้น

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา