ข้อมูลพื้นฐาน
การทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน คืออะไร
การทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน (Clonidine Suppression Test) เป็นการทดสอบประเภทหนึ่ง เพื่อทดลองและคัดแยกการวินิจฉัยเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (phaeochromocytoma) ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง และมีความเปลี่ยนแปลงก้ำกึ่งในเมตาโบไลท์พลาสมาแคทีโคลามีน (plasma catecholamines metabolites) หรือยูรินารีแคททีโคลามีน (urinary catecholamine metabolites)
ยาโคลนิดีน (Clonidine) เป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ทำงานที่สมองโดยลดการทำงานของระบบประสาท (sympathetic tone) ซึ่งเป็นความรุนแรงของสัญญาณระบบประสาทไปยังต่อมหมวกไตส่วนใน (Adrenal medulla)
ความจำเป็นในการ ทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน
เหตุผลในการทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน มีดังนี้
- เพื่อหาดูว่า ค่าระดับเริ่มต้นของพลาสมาแคทีโคลามีนที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นผลมาจากอะดรีเนอร์จิกมีมากเกินไปโดยไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic hyperadrenergic state) หรือเพราะโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา
- ค่าของพลาสมาเมทาเนฟรีน (plasma metanephrines) และ/หรือพลาสมาแคทีโคลามีน ที่เพิ่มสูงขึ้นน้อยกว่า 4 เท่า ของขีดจำกัดสูงสุดของค่าปกติของการทดสอบที่กำหนด ในผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าอาจเป็นโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา หรือชนิดพาราแกงกลิโอมา (paraganglioma)
- การทดสอบนี้ไม่ได้บ่งชี้ในผู้ป่วยที่มีค่าผลการตรวจทางชีวเคมีของพลาสมา หรือปัสสาวะเป็นบวกอย่างชัดเจน สำหรับโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (แคททีโคลามีน หรือเมทาเนฟรีน หรือกรดวานิลลีแมนเดลิค [VMA])
- การทดสอบนี้ไม่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีค่าเริ่มต้นเมทาเนฟรีน และนอร์เมทาเนฟรีน (แยกจากโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา) ที่ปราศจากพลาสมาเป็นปกติ
ข้อควรรู้ก่อนตรวจ
ข้อควรรู้ก่อนทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน
ไม่ควรพิจารณาการทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีนเป็นมาตรฐานสูงสุดสำหรับการวินิจฉัยโรค การทดสอบนี้เป็นแค่วิธีหนึ่งที่ช่วยวินิจฉัยโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมาเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น ผลของการทดสอบนี้อาจสร้างความสับสนได้เช่นกัน ค่าของแคทีโคลามีนและเมทาเนฟรีนอาจมุ่งไปคนละทาง และผลบางอย่างอาจเพิ่มมากขึ้นหลังจากใช้โคลนิดีน การทดสอบนี้ไม่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ แม้แต่ผู้ป่วยที่ควรจะได้รับประโยชน์จากการทดสอบนี้มากที่สุด
ขั้นตอนการตรวจ
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน
สิ่งที่ควรเตรียมตัวก่อนการทดสอบมีดังนี้
- หยุดใช้ยาที่อาจแทรกแซงผลการตรวจเป็นเวลา 1-5 วันก่อนการทดสอบ ยาเหล่านั้นได้แก่ ยาขับปัสสาวะ ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (tricyclic antidepressants) ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (beta blockers)
- ผู้ป่วยควรอดอาหาร 10 ชั่วโมงข้ามคืนก่อนการทดสอบ
- ควรผ่อนคลายระหว่างทำการทดสอบ
- ควรสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ
ขั้นตอนการ ทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน
ผู้ทำการทดสอบต้องอยู่ในท่านอนหงายตลอดการทดสอบ และแพทย์จำเป็นต้องสุ่มตัวอย่างเลือดและให้น้ำเกลือผ่านทางหลอดเลือดดำ ขั้นตอนการทดสอบ มีดังนี้
- วัดค่าความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเริ่มต้น 3 ครั้ง และบันทึกข้อมูลไว้ในแผ่นเก็บข้อมูล
- ทำการสุ่มตัวอย่างเลือดเริ่มต้นหลังจากนอนหงาย 30 นาที และในทันทีหลังจากให้ยาโคลนิดีน
- เฝ้าระวังค่าความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจเริ่มต้นอย่างต่อเนื่อง โดยวัดผลหนึ่งครั้งและบันทึกไว้ในแผ่นเก็บข้อมูล 1 ชั่วโมง และ 2 ชั่วโมง หลังจากให้ยาโคลนิดีน
- ทำการสุ่มตัวอย่างเลือดเมื่อผ่านไป 3 ชั่วโมง (180 นาที) หลังจากให้ยาโคลนิดีน โดยบันทึกเวลาทำการสุ่มตัวอย่างเลือดไว้ในแผ่นเก็บข้อมูล
- วัดค่าความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ และบันทึกค่าทั้ง 3 ครั้งไว้ในแผ่นเก็บข้อมูล ทันทีหลังจากทำการสุ่มตัวอย่างเลือดเมื่อผ่านไป 3 ชั่วโมง
- ต้องมีการส่งตัวอย่างเลือดไปยังห้องทดลองทันที หลังจากเก็บตัวตรวจอย่างใน 3 ชั่วโมงสุดท้าย
หลังการทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน
อาจเกิดปัญหาเล็กน้อยจากการเก็บตัวอย่างเลือดไปจากหลอดเลือดดำ
อย่างแรก คือ อาจมีรอยช้ำตรงบริเวณที่ทำการเก็บตัวอย่างเลือด แต่คุณสามารถลดโอกาสเกิดรอยช้ำได้ ด้วยการกดบริเวณนั้นเป็นเวลานานหลายนาที
ในกรณีหายาก หลอดเลือดดำอาจบวมขึ้นหลังจากเก็บตัวอย่างเลือด เรียกว่าหลอดเลือดดำอักเสบ (Phlebitis) ซึ่งสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการประคบร้อนวันละหลายๆ ครั้ง
นอกจากนี้ อาการเลือดออกอาจเป็นปัญหาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลือดออกได้ ยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน ยาวาร์ฟาริน และยาเจือจางเลือดอื่นๆ อาจทำให้มีอาการเลือดออกมากขึ้น หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับเลือดออกหรือลิ่มเลือด หรือหากคุณกำลังใช้ยาเจือจางเลือด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนทำการเก็บตัวอย่างเลือด
หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับการทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจข้อควรปฏิบัติได้ดีขึ้น
ผลการตรวจ
ผลการทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน
ผลการตรวจสอบจะเป็นปกติถ้าหาก
- ค่าที่ลดลงของพลาสมานอร์อิพิเนฟริน (plasma norepinephrine) อยู่ในช่วงปกติ
- ค่าที่ลดลงของพลาสมานอร์อิพิเนฟรินน้อยกว่า 50% ของค่าเริ่มต้น
- ค่าที่ลดลงของคาทีโคลามินส์ทุกชนิดในพลาสมารวมกัน ทั้งเอพิเนฟรีน (Epi) นอร์อิพิเนฟริน (NE) และโดพามีน (DA) อยู่ในช่วงปกติ (500 เพตะกรัม/มล. หรือน้อยกว่า)
- ค่าที่ลดลงของพลาสมานอร์อิพิเนฟรินอยู่ในช่วงปกติ
- ค่าที่ลดลงของพลาสมานอร์อิพิเนฟรินที่ 40% ของค่าเริ่มต้น
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของพลาสมาเอพิเนฟรีนและเมทาเนฟรีนนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ จึงไม่ใช้การทดสอบนี้ในการวินิจฉัยโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา
ข้อโต้แย้งก่อนหน้า มีหลักอยู่ที่คำจำกัดความที่หลากหลายของผลตรวจที่เป็นบวก ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้เป็นโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา และมีค่านอร์อิพิเนฟรินเริ่มต้นในระดับปกติ หรือใกล้เคียงกับปกติ อาจสามารถกดไว้ที่ 50% (ผลบวกเป็นเท็จ)
ในทางกลับกัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา และมีค่านอร์อิพิเนฟรินเริ่มต้น ในระดับใกล้เคียงกับปกติ อาจสามารถกดไว้ที่ช่วงปกติ (ผลลบเป็นเท็จ) ประเด็นนี้ดูเหมือนจะสามารถแก้ไข้ได้ด้วยการใช้นอร์เมทาเนฟรีน และการคัดแยกการทดสอบในผู้ป่วยที่มีค่าเมทาเนฟรีนที่ปราศจากพลาสมาในระดับปกติ
หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้ดีขึ้น
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]