backup og meta

ผ่าตัดเส้นเลือดขอด (Varicose Vein Surgery)

ข้อมูลพื้นฐาน

การผ่าตัดเส้นเลือดขอดคืออะไร

การผ่าตัดเส้นเลือดขอด (Varicose Vein Surgery) เป็นการรักษาเส้นเลือดขอด หรือหลอดเลือดขอด (Varicose veins) ซึ่งเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดผ่าตัดเส้นเลือดขอด (Varicose Vein Surgery)ดำใต้ผิวหนังที่บิดนูนและขยายตัว ส่วนใหญ่จะพบมากบริเวณขา เส้นเลือดขอดมีแนวโน้มถ่ายทอดในครอบครัวและมีอาการแย่ลงจากการตั้งครรภ์และการยืนเป็นเวลานาน

หลอดเลือดดำที่ขามีลิ้นเปิดปิดทางเดียวจำนวนมาก ที่ช่วยให้กระแสเลือดที่ไหลไปด้านบนให้ไหลกลับสู่หัวใจได้ หากลิ้นเปิดปิดเหล่านั้นไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม เลือดจะไหลเวียนผิดทิศทาง ทำให้หลอดเลือดโปร่งและเกิดเส้นเลือดขอดได้

ความจำเป็นในการ ผ่าตัดเส้นเลือดขอด

ส่วนใหญ่แล้ว เส้นเลือดขอดมักไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงแต่อย่างใด หากเส้นเลือดขอดของคุณส่งผลต่อสุขภาพ แพทย์อาจแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ แต่ในบางกรณี เส้นเลือดขอดอาจส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อน เช่น อาการปวด การเกิดลิ่มเลือด แผลที่ผิวหนัง และหากร้ายแรงแพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีรักษาหลายวิธีควบคู่กันไป

การผ่าตัดเส้นเลือดขอดจะช่วยลดความดันในหลอดเลือดดำใต้ผิวหนัง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดที่ขอดอยู่แล้วขยายตัวมาขึ้น ทั้งยังป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอดใหม่ๆได้ด้วย สำหรับผู้ที่มีแผลหรือผิวหนังเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเส้นเลือดขอด การผ่าตัดเส้นเลือดขอดยังช่วยไม่ให้ปัญหาที่มีแย่ลง และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลจากเส้นเลือดขอดในอนาคต บางครั้งการผ่าตัดเส้นเลือดขอดยังใช้ในการรักษาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ (Phlebitis) ด้วย

การผ่าตัดเส้นเลือดขอด มีทั้งการผ่าเอาหลอดเลือดดำที่ขอดออกไป และการผนึกหลอดเลือดดำด้วยความร้อนหรือการฉีดยาเฉพาะ การผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดออกจะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต และปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณขา เพราะเลือดจะถูกลำเลียงผ่านหลอดเลือดเส้นอื่นที่แข็งแรงกว่าแทน โดยเฉพาะหลอดเลือดดำชั้นลึก

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงของการ ผ่าตัดเส้นเลือดขอด

การผ่าตัดเส้นเลือดขอดจัดเป็นการผ่าตัดที่ปลอดภัย และมีความเสี่ยงน้อย แต่ก็อาจส่งผลให้เกิดรอยช้ำ รอยบวม ผิวหนังเปลี่ยนสี หรือมีอาการปวดเล็กน้อยได้

ส่วนการผ่าตัดลอกเอาเส้นเลือดขอดออก (High Ligation and Stripping) อาจทำให้มีอาการปวดรุนแรง เกิดปฏิกิริยาแพ้ยาระงับความรู้สึก ติดเชื้อ เลือดออกมากหรือมีลิ่มเลือด เป็นแผลเป็น หรือเส้นประสาทเสียหายได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะผ่าตัดเส้นเลือดขอดไปแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นเส้นเลือดขอดซ้ำได้

คุณควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังกล่าว หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอนการผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดเส้นเลือดขอด

ก่อนเข้ารับการผ่าตัดเส้นเลือดขอด แพทย์จะต้องประเมินก่อนว่าคุณจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ จากนั้นจึงจะมีการตรวจประเมินก่อนผ้าตัด เช่น การตรวจอัลตร้าซาวด์ การตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงการกรอกเอกสารต่างๆ ส่วนใหญ่แล้ว ขั้นตอนต่างๆ จะใช้เวลาแค่ช่วงสั้นๆ ก่อนผ่าตัดเท่านั้น

ขั้นตอนการผ่าตัดเส้นเลือดขอด

ก่อนผ่าตัดเส้นเลือดขอด วิสัญญีแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึก หรือที่เรียกว่ายาสลบกับคุณก่อน เมื่อยาออกฤทธิ์แล้ว ศัลยแพทย์อาจตัดหลอดเลือดดำชั้นตื้นใต้ผิวหนังที่ผิดปกติออกจากหลอดเลือดชั้นลึกในบริเวณขาผ่านทางรอยผ่าที่ขาหนีบหรือหัวเข่าด้านหลัง

แพทย์อาจทำรอยผ่าขนาดเล็กจำนวนมากไปตามแนวเส้นเลือดขอดและกำจัดออก หากเป็นเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ อาจต้องดึงออกโดยใช้เครื่องมือพิเศษ โดยทั่วไป การผ่าตัดเส้นเลือดขอด จะใช้เวลาประมาณ 20 นาทีถึง 3 ชั่วโมง

รายละเอียดในการผ่าตัดอาจแตกต่างไปในแต่ละกรณี หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

การพักฟื้น

หลังการผ่าตัดเส้นเลือดขอด

หลังจากผ่าตัดเส้นเลือดขอด แพทย์จะให้คุณพักประมาณ 20-30 นาที เพื่อรอให้ยาระงับความรู้สึกหมดฤทธิ์ บางคนอาจมีอาการแสบร้อนเกิดขึ้นได้บ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีอาการเจ็บปวดรุนแรงใดๆ เกิดขึ้นที่ขา หากคุณรู้สึกหมดแรงหรืออ่อนเพลีย แพทย์จะอนุญาตให้คุณกินอาหารหรือดื่มน้ำได้หลังจากผ่าตัดเสร็จแล้วประมาณ 2-3 ชั่วโมง

บางครั้งอาจมีเลือดออกบริเวณรอยเย็บเกิดขึ้นในช่วง 24-48 ชั่วแรกหลังผ่าตัด หากในกรณีนี้แพทย์จะให้คุณสวมถุงน่องชนิดพิเศษหรือพันด้วยผ้ายืดเป็นเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง

ส่วนใหญ่แล้ว ผู้เข้ารับการผ่าตัดเส้นเลือดขอดสามารถกลับบ้านได้ในวันที่ผ่าตัดหรือในวันถัดไป โดยแพทย์อาจให้คุณสวมถุงน่องหรือพันผ้าต่อไปอีกประมาณ 10 วันเพื่อช่วยบรรเทาอาการบวม และช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้สะดวกยิ่งขึ้น

คุณสามารถกลับไปทำงานได้ภายในสองสามวัน ขึ้นอยู่กับประเภทของงานของคุณ เมื่อรอยแผลหายดี คุณสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติทันทีที่คุณพร้อม

การออกกำลังกายตามปกติ ช่วยให้คุณกลับไปทำกิจกรรมได้ตามปกติได้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ก่อนเริ่มออกกำลังกาย ให้ขอคำแนะนำจากทีมงานดูแลสุขภาพหรือแพทย์ที่ทำการรักษาคุณ

ส่วนใหญ่แล้วอาการหลังผ่าตัดเส้นเลือดขอดจะหายภายใน 12-14 วันหลังผ่าตัด แต่หากเป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ อาจต้องใช้เวลาถึง 3 สัปดาห์กว่าอาการปวดจะหายไป ดังนั้น หากคุณพบว่าอาการที่มีแย่ลง หรือไม่หายไปภายในระยะเวลาดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์

ความเสี่ยงหลังผ่าตัดเส้นเลือดขอด

การผ่าตัดทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยง จึงควรศึกษาข้อมูลและขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนการผ่าตัด

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดหลังการทำหัตถการใดๆ ได้แก่ อาการแพ้ยาสลบที่คาดไม่ถึง อาการเลือดออกมากเกินไป หรือเกิดภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (deep vein thrombosis)

สำหรับการผ่าตัดเส้นเลือดขอด อาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อน  เช่น

  • มีอาการปวด รอยช้ำ
  • มีก้อนใต้บาดแผล
  • มีอาการชาหรือปวดเสียว
  • เส้นประสาทเสียหาย
  • เกิดเส้นเลือดขอดซ้ำ
  • เกิดเส้นเลือดฝอยชั้นตื้นใต้ผิวหนัง (thread veins)
  • ขาบวม
  • มีอาการบาดเจ็บรุนแรงที่หลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดดำ หรือเส้นประสาทที่ขา

คุณสามารถลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อเตรียมพร้อมในการผ่าตัด เช่น งดอาหาร หยุดยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Surgical removal of varicose veins. http://www.vascularinfo.co.uk/varicose-veins/varicose-vein-surgery/. Accessed July 6, 2016.

Varicose Veins. https://surgery.ucsf.edu/conditions–procedures/varicose-veins.aspx. Accessed July 6, 2016.

Varicose Veins – Operation Explained. https://www.circulationfoundation.org.uk/help-advice/veins/varicose-veins-operation-explained. Accessed July 6, 2016.

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/08/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

An interview with Dr Joseph Saba, Chief Executive Officer at Axios

5 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ การรักษาเส้นเลือดขอด ด้วยวิธีการฉีดยา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา