backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก (Umbilical Hernia Repair For Children)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

ผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก (Umbilical Hernia Repair For Children)

ข้อมูลพื้นฐาน

การผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก คืออะไร

ไส้เลื่อนที่สะดือ (umbilical hernia) หรือที่มักเรียกกันว่าสะดือจุ่น เกิดจากการหย่อนตัวในกล้ามเนื้อผนังช่องท้องบริเวณด้านหลังสะดือ ตามปกติ ไส้เลื่อนมักจะปิดตัวก่อนคลอด แต่ทารกประมาณ 1 ใน 5 รายที่คลอดเมื่อครบอายุครรภ์ (หลังจาก 37 สัปดาห์) ยังคงเป็นไส้เลื่อนที่สะดือ และทารกทุกรายที่มีภาวะนี้ เป็นไส้เลื่อนที่สะดือเมื่อเติบโตอยู่ในมดลูก 

หากลูกของคุณเป็นไส้เลื่อน อาจสังเกตเห็นได้จากอาการบวมบริเวณสะดือ โดยเฉพาะเมื่อลูกของคุณร้องไห้หรือเกิดแรงตึง

ไส้เลื่อนที่สะดืออาจเป็นอันตราย เนื่องจากลำไส้หรืออวัยวะอื่นๆ ภายในช่องท้องถูกกักไว้ และไม่มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะดังกล่าว ส่วนใหญ่แล้ว ไส้เลื่อนที่สะดือมักไม่ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนในวัยเด็ก แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

ความจำเป็นในการ ผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก

ทารกที่เป็นไส้เลื่อนที่สะดือส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดรักษา เนื่องจากไส้เลื่อนที่สะดือจะหดและปิดได้เองเมื่ออายุ 3-4 ปี การผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดืออาจจำเป็น หากเด็กมีภาวะดังต่อไปนี้

  • ไส้เลื่อนที่สะดือสร้างความเจ็บปวดและปูดออกมา
  • ส่งผลกระทบต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงบริเวณลำไส้
  • อายุ 3-4 ปีแล้วแต่ไส้เลื่อนยังไม่ปิดเอง
  • ไส้เลื่อนมีขนาดใหญ่มากจนพ่อแม่ต้องการให้ผ่าตัด แต่ในกรณีนี้ แพทย์จะแนะนำให้รอจนกว่าเด็กจะอายุ 3-4 ปีก่อน เพื่อดูว่าไส้เลื่อนที่สะดือจะปิดเองหรือไม่

การผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือจะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงใดๆ ที่สามารถเกิดจากไส้เลื่อนได้เมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงของการ ผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก

ไส้เลื่อนที่สะดือมักปิดตัวเองก่อนทารกมีอายุครบ 1 ปี แต่หากเด็กอายุ 3-4 ปีแล้วไส้เลื่อนยังไม่ปิด อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อปิดไส้เลื่อน โดยไส้เลื่อนสามารถกลับมาเกิดซ้ำได้

การผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็กนั้นถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงบางประการ เช่น

  • ความเสี่ยงจากการให้ยาระงับประสาท และการผ่าตัดทั่วไป เช่น ปฏิกิริยาต่อตัวยา ปัญหาในการหายใจ เลือดออก เกิดลิ่มเลือด ติดเชื้อ
  • ความเสี่ยงเฉาพะของการผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก เช่น อาการบาดเจ็บที่ลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ (พบได้ยาก) กลับมาเป็นไส้เลื่อนที่สะดือซ้ำ (พบได้บ้าง)

คุณควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังกล่าว หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอนการผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก

ผู้ปกครองเด็กต้องแจ้งให้แพทย์ที่ทำการรักษาทราบ เกี่ยวกับยาที่เด็กใช้อยู่ รวมทั้งอาการแพ้ต่างๆ หรือภาวะสุขภาพต่างๆ นอกจากนี้ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ผู้ปกครองต้องเข้าพบวิสัญญีแพทย์ที่รักษา เพื่อวางแผนการใช้ยาสลบร่วมกัน และควรปฏิบัติตามคำแนะนำ เกี่ยวกับเวลาที่ควรหยุดรับประทานอาหาร และดื่มน้ำก่อนการผ่าตัดด้วย

ขั้นตอนการผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก

การผ่าตัดมีการดำเนินการโดยใช้ยาสลบ และมักใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง

แพทย์จะทำรอยผ่าขนาดเล็กโดยรอบบริเวณครึ่งหนึ่งของสะดือ และเย็บปิดช่องเปิดในผนังช่องท้องให้แน่น

รายละเอียดในการผ่าตัดอาจแตกต่างไปในแต่ละกรณี หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

การพักฟื้น

หลังการผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก

เด็กสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกับที่เข้ารับการผ่าตัด และสามารถกลับไปเรียนได้หลังจาก 1 สัปดาห์ แต่ควรงดออกกำลังกายที่ใช้แรงมากอย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังเข้ารับการผ่าตัด และเด็กส่วนใหญ่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่

หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความเสี่ยงหลังการผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก

การผ่าตัดทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยง ผู้ปกครองควรขอให้แพทย์อธิบายว่ามีความเสี่ยงอะไร และจะส่งผลอย่างไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นต่อยาชา เลือดออกมากเกินไป หรือการเกิดลิ่มเลือด

สำหรับการผ่าตัดนี้ ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ มีดังต่อไปนี้

  • มีก้อนใต้แผล
  • มีการบาดเจ็บที่อวัยวะต่างๆ ภายในไส้เลื่อน
  • มีลักษณะแผลภายนอกที่ไม่พึงประสงค์

คุณสามารถลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อเตรียมพร้อมในการผ่าตัด เช่น งดอาหาร หยุดยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา